การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Creatinine
การตรวจเพื่อหาค่าของสารเคมีครีเอตินีนที่มีอยู่ในน้ำปัสสาวะเนื่องมาจากการที่ไตปล่อยทิ้งออกมา

การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Creatinine และ Creatinine

การตรวจปัสสาวะหาค่ายูรีนครีเอตินีน ( Urine Creatinine และ Creatinine ) คือการหาค่าบ่งชี้ความผิดปกติของไตหรือความผิดปกติอื่น ๆ ในร่างกายจนเป็นเหตุให้เกิดการสร้างสาร Creatinine ขึ้นมาในร่างกาย

ทำไมต้องการตรวจปัสสาวะหาค่ายูรีนครีเอตินีน ( Urine Creatinine และ Creatinine )

เพื่อเป็นการประเมินการทำงานของไต เป็นการตรวจเพื่อหาค่าของสารเคมีครีเอตินีนที่มีอยู่ในน้ำปัสสาวะเนื่องมาจากการที่ไตปล่อยทิ้งออกมา ทั้งนี้การตรวจเพื่อดูว่าค่าของสารครีเอตินีน Creatinine อยู่ในระดับที่ปกติหรือไม่ โดยหากพบว่าค่า Urine Creatinine มีความผิดปกติ นั่นอาจแสดงได้ถึงสภาวะของโรคไตหรือความผิดปกติอื่นๆในร่างกายที่ส่งผลให้เกิดการสร้างสารดัง กล่าวขึ้นมาที่ไตมากกว่าปกติ

Urine Volum ( ml ) คืออะไร

Urine Volum (ml) เป็นหน่วยใช้สำหรับวัดบอกว่าผู้ที่จะตรวจปัสสาวะ ว่าต้องถ่ายปัสสาวะลงในภาชนะหรือถ้วยที่ให้ในปริมาณกี่มิลลิลิตร โดยสังเกตได้ด้วยสายตา เนื่องจากที่ถ้วยหรือภาชนะดังกล่าวจะมีตัวเลขปริมาณกำหนดอยู่แล้ว ทั้งนี้สำหรับการถ่ายปัสสาวะลงในถ้วยหรือภาชนะนั้น แนะนำให้ถ่ายปัสสาวะส่วนแรกทิ้งไปจำนวนหนึ่งก่อน จากนั้นกลั้นปัสสาวะที่เหลือไว้ แล้วถ่ายลงในถ้วยให้ได้ปริมาณที่ต้องการ ที่เหลือจึงถ่ายทิ้งตามปกติ

ข้อควรระวังในการถ่ายปัสสาวะเพื่อตรวจ Urine Creatinine / Creatinine

เพื่อให้การถ่ายปัสสาวะสำหรับนำไปตรวจทางการแพทย์ ได้ผลลัพธ์ในการตรวจที่มีประสิทธิภาพและแน่นอนที่สุด จะต้องระมัดระวังดังนี้

1.กรณีที่ถ้วยหรือภาชนะสำหรับใส่ปัสสาวะเป็นแบบมีฝาปิด ให้รีบปิดฝาทันทีหลังถ่ายลงในถ้วยเสร็จ

2.กรณีที่ถ้วยหรือภาชนะสำหรับใส่ปัสสาวะเป็นแบบไม่มีฝาปิด ควรระมัดระวังอย่าให้มีสิ่งแปลกปลอมใดๆ ตกลงไปในถ้วยใส่ปัสสาวะเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็น เส้นขนจากอวัยวะเพศ หยดเลือดจากประจำเดือนหรือเศษกระดาษชำระก็ตาม

การแบ่งชนิดน้ำปัสสาวะเพื่อการตรวจครีเอตินีน

สำหรับการแบ่งชนิดของน้ำปัสสาวะนั้น ส่วนใหญ่จะแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ

1.น้ำปัสสาวะครั้งแรกในตอนเช้า ก็คือปัสสาวะที่ได้จากการถ่ายครั้งแรกหลังตื่นนอนนั่นเอง โดยมักจะใช้กับผู้ป่วยที่นอนอยู่ที่โรงพยาบาลอยู่แล้ว

2.น้ำปัสสาวะที่สุ่มตรวจ ( Random or Spot Urine Specimen ) ก็ถือปัสสาวะที่ได้จากการตรวจโดยไม่กำหนดเวลาแน่นอน ซึ่งผู้ตรวจอาจมีอาการป่วยหรือไม่ก็ได้ เพียงแต่ต้องการตรวจปัสสาวะเพื่อเช็คปัญหาสุขภาพเท่านั้น โดยการตรวจแบบนี้สามารถตรวจที่โรงพยาบาลเวลาใดก็ได้

3.น้ำปัสสาวะที่รวบรวมได้ในรอบ 24 ชั่วโมง คือปัสสาวะที่เก็บได้จากการถ่ายออกมาทั้งหมดภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะใช้กรณีคนไข้ที่นอนโรงพยาบาลอยู่แล้ว ซึ่งแพทย์จะนำปัสสาวะไปตรวจอย่างละเอียด

การตรวจหาค่า Urine Creatinine / Creatinine ในร่างกาย ทำให้ทราบค่าอะไรได้บ้าง

1. Creatinine Phosphate เป็นสารของเสียชนิดหนึ่งที่ร่างกายจะปลดปล่อยออกมาสู่กระแสเลือดทุกครั้งที่มี การยืดหรือหดตัวของกล้ามเนื้อเกิดขึ้น โดยสารชนิดนี้ก็เกิดจากการแตกตัวของสารประกอบ Creatinine นั่นเอง ซึ่งโดยปกติแล้วสารดังกล่าวจะมีการหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดในระดับที่เกือบคงที่อยู่ตลอดเวลา ยกเว้นในคนที่ต้องใช้ร่างกายเยอะกว่าปกติ เช่นนักกีฬา จึงทำให้กล้ามเนื้อยืด-หดตัวมากกว่าคนทั่วไป และมีการหลั่งสาร Creatinine มากกว่าปกติ

2. เมื่อ Creatinine ได้แตกสลายตัวเองออกมาเป็น Creatinine Phosphate ในเลือดแล้ว ไตก็จะต้องทำหน้าที่ในการกรองสารตัวนี้ออกจากเลือดและทิ้งไปกับปัสสาวะ เพื่อไม่ให้ระดับของสารดังกล่าวในเลือดมีมากเกินไปจนเป็นอันตรายได้ อย่างไรก็ตาม ก็อาจมีการพบสาร Creatinine หลงเหลืออยู่ในกระแสเลือดบ้างเล็กน้อยเช่นกัน

3. หากไตทำงานปกติ และร่างกายก็มีสุขภาพดีเช่นคนปกติทั่วไป รวมถึงมีการทำกิจวัตรประจำวันเป็นปกติ ค่าของ Creatinine ที่พบในน้ำปัสสาวะก็ควรอยู่ในระดับที่เป็นปกติด้วย โดยหากพบว่ามีค่าของสารตัวนี้ในน้ำปัสสาวะมากหรือน้อยเกินไปก็แสดงว่าอาจเกิดความผิดปกติขึ้นกับร่างกายก็ได้

4. หากตรวจพบว่าค่า Creatinine ในปัสสาวะมีค่าน้อยกว่าปกติ ในขณะที่ร่างกายอยู่ในสภาวะปกติ และในขณะเดียวกับค่าดังกล่าวที่พบในเลือดก็สูงขึ้นมาก นั่นอาจแสดงได้ว่าไตกำลังมีปัญหา ทำให้ประสิทธิภาพในการกรองของเสียลดน้อยลง หรืออาจเป็นโรคบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อการกรองของเสียของไตได้เหมือนกัน

5. ในกรณีที่ไตมีสภาวะเป็นปกติ แต่กลับมีค่า Creatinine ที่พบในปัสสาวะสูงกว่าระดับปกติเป็นอย่างมาก นั่นก็แสดงได้ว่ากล้ามเนื้อในร่างกายกำลังมีปัญหา หรืออาจมีโรคที่เป็นสาเหตุให้ค่าของสารดังกล่าวสูงขึ้น

ค่าปกติของยูรีนครีเอตินีน

1. ค่าปกติ Creatinine ในปัสสาวะ ให้ยึดเอาตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานผลการตรวจปัสสาวะ (ถ้ามี) เพราะในแต่ละบุคคลอาจไม่เหมือนกัน

2. ค่าปกติทั่วไป ( ค่า bun cr ปกติ ) ที่มักจะตรวจพบได้แก่

Spot Urine Creatinine : 25 – 400 mg/dL
24 hr ผู้ชาย Urine Creatinine : 1 – 1.9 mg/24 hr
24 hr ผู้หญิง Urine Creatinine : 0.8 – 1.7 mg/24 hr

การทํางานของไตจะวิเคราะห์จากการตรวจปัสสาวะได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ?

เพราะค่าของความผิดปกติของ Urine Creatinine สามารถตรวจสอบได้ ดังนี้

หากตรวจพบค่าผิดปกติ สามารถพิจารณาได้ 2 กรณี คือ

ผลการตรวจค่า Urine Creatinine / Creatinine ได้ค่าน้อยกว่าปกติเพราะอะไร?

ค่า creatinine ต่ำ อาจมาจากหลายสาเหตุเช่น

  1. เกิดสภาวะกลุ่มหลอดเลือดแดงฝอยภายในกรวยไตอักเสบ ( Glomerulonephritis ) ส่งผลให้ไตไม่สามารถกรองของเสียและปล่อยทิ้งออกทางปัสสาวะได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนที่ควรเป็น จึงทำให้ตรวจพบค่า BUN และ Creatinine ในเลือดมีระดับที่สูงมากกว่าปกติ ในขณะที่ในน้ำปัสสาวะ กลับมีค่าที่ต่ำจนดูผิดปกติ
  2. เกิดจากสภาวะไตวาย ( Kidney failure ) ในภาวะเช่นนี้ ไตจะไม่สามารถกรองของเสียและสารต่างๆ ออกมาทางปัสสาวะได้อย่างหมดจดเหมือนที่ควรเป็นในภาวะปกติ ทำให้ค่า Creatinine ที่พบในเลือดมีระดับสูง ในขณะที่ค่า Urine Creatinine มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ปกติมาก
  3. เกิดจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย ที่ทำให้ร่างกายไม่ค่อยได้ขยับเขยื้อนมากนัก และเป็นผลให้กล้ามเนื้อมีการยืดหดตัวน้อยลง จึงทำให้ตรวจพบว่า Urine Creatinine มีน้อยกว่าปกติ ซึ่งจากกรณีนี้สามารถพบได้แม้ว่าไตจะมีการทำงานที่ปกติดีก็ตาม นั่นก็เพราะปริมาณของ Urine Creatinine ที่ถูกผลิตขึ้นมาจากการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ มีน้อยกว่าปกติอยู่แล้วนันเอง
  4. เกิดจากสภาวะความคับคั่งของสารของเสียก่อนส่งถึงไต เป็นผลให้ประสิทธิภาพในการกรองของเสียของไตต่ำลงและไม่สามารถกรองและขับของเสียได้หมด ซึ่งภาวะดังกล่าวนี้ก็อาจเกิดจากการที่ไตขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงและความดันเลือดลดต่ำลงด้วย โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวก็คือ

ของเสียตกค้างในไตมีสาเหตุจากอะไร

1. สภาวะหัวใจวาย ทำให้เลือดที่ถูกปั๊มเข้าออกจากหัวใจแต่ละครั้งมีปริมาตรที่น้อยลง และมีความดันต่ำลง ( Low Cardiac Output และ Low Blood Pressure )

2. เกิดอาการช็อก จึงทำให้หัวใจอ่อนแรงลงและเกิดปัญหาตามมา

3. เป็นผลข้างเคียงที่เกิดจากการผ่าตัดบางชนิดทำให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ และเกิดอาการดังกล่าวได้

4. เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงไต ( Renal Artery Embolism ) ทำให้ไตได้รับเลือดไม่เพียงพอ

5. หลอดเลือดแดงที่ส่งผ่านเลือดไปเลี้ยงไต ถูกปิดกั้นด้วยบางอย่าง ทำให้ไตได้รับเลือดไม่เพียงพอ

6. เกิดการกระทบกระเทือนบางอย่างที่ทำให้ไตบอบช้ำ ( Trauma to the Kidney ) เช่น อุบัติเหตุ การเล่นกีฬา เป็นต้น ทำให้ประสิทธิภาพในการกรองของเสียของไตลดน้อยลง

  • ท่อไตที่ส่งผ่านไปยังกระเพาะปัสสาวะเกิดการอักเสบ ซึ่งอาจเนื่องมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด โดยนอกจากจะทำให้เกิดค่าผิดปกติของ Creatinine แล้ว ก็ยังก่อให้เกิดอาการปวดในท่อทางผ่านของน้ำปัสสาวะจากไตไปยังกระเพาะปัสสาวะอีกด้วย โดยส่วนใหญ่จะพบว่าค่า Creatinine ในเลือดจะสูงมาก ในขณะที่ค่า Creatinine ในน้ำปัสสาวะก็จะต่ำมากเช่นกัน

ผลการตรวจค่า Urine Creatinine / Creatinine ได้ค่าสูงกว่าปกติเพราะอะไร?

  • กินอาหารพวกสัตว์บกมากเกินไป เพราะเนื้อสัตว์เหล่านี้จะมี Creatinine แฝงอยู่ในปริมาณมาก จึงทำให้ร่างกายได้รับสารตัวนี้มากกว่าปกติ โดยเฉพาะหากปรุงเนื้อสัตว์ด้วยความร้อนนานๆ ด้วยแล้ว ความร้อนจะยิ่งเพิ่มค่า Creatinine ให้สูงขึ้นไปอีก 
  • เป็นโรคกล้ามเนื้อลีบในระยะสุดท้าย ( Muscular Dystrophy in Late Stage ) เนื่องจากมวลกล้ามเนื้อที่แตกสลายออกไป จะไปเพิ่มปริมาณของ Creatinine ในปัสสาวะให้สูงขึ้น จึงมักจะพบว่าผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อลีบมักจะมีค่าดังกล่าวสูงเสมอ
  • เกิดสภาวะโรคกล้ามเนื้อสลาย ( Rhabdomyolysis ) ซึ่งกล้ามเนื้อที่หลุดสลายออกไปเป็นองค์ประกอบต่างๆ นั้น จะเข้าสู่กระแสเลือดทำให้พบค่าดังกล่าวสูงมาก และในขณะเดียวกันก็อาจตรวจพบค่า Myoglobin ซึ่งเป็นตัวช่วยในการรักษาเก็บกักออกซิเจนไว้ให้กล้ามเนื้อได้ใช้ในขณะออกแรงหนักได้นานๆ สูงเช่นกัน โดยปกติแล้วคนเราจะมีค่าปกติของ Myoglobin อยู่ที่
ค่าปกติของ Urine Myoglobin น้อยกว่าหรือเท่ากับ < 5 ng/mL

ค่า Myoglobin คืออะไร

ค่า Myoglobin มีภาวะปกติคือน้อยกว่า 5 ng/mL ดังนั้นเมื่อเกิดสภาวะโรค Rhabdomyolysis จะตรวจพบว่าค่า Urine Myoglobin มีมากกว่า 250 µg / mL ซึ่งทางการแพทย์ได้อนุมานว่า ณ เวลานั้น มวลกล้ามเนื้อได้สูญสลายหมดไปแล้วกว่า 100 กรัม นอกจากนี้ยังสังเกตได้อีกว่าสีของปัสสาวะจะเป็นสีชาแก่หรือคล้ำคล้ายกับเครื่องดื่มจำพวกน้ำอัดลม หรือน้ำอัดคาร์บอนไดออกไซด์ โดยถือเป็นอีกจุดหนึ่งที่แพทย์จะนำมาวินิจฉัยและยืนยันว่าผู้ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อสลายแน่นอน

นอกจากนี้หากได้นำน้ำปัสสาวะของผู้ป่วยในเวลานั้นไปตรวจ ก็จะต้องพบค่าของ Urine Creatinine / Creatinine ในระดับที่สูงมากกว่าปกติด้วย นั่นก็เพราะค่าทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์กันนั่นเอง

สาเหตุของกล้ามเนื้อสลายมาจากอะไร

โรคกล้ามเนื้อสลายอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยได้ยกเฉพาะสาเหตุที่สำคัญมาบอกกล่าวดังนี้

1. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากและดื่มต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน โดยเริ่มแรกจะพบว่ามีอาการแขนขาลีบ ก่อนจะเข้าสู่โรคกล้ามเนื้อสลายได้ในที่สุด

2. การสัมผัสกับแสงแดดและความร้อนมากเกินไปจนทำให้เป็นลมแดด โดยไม่เป็นลมแดดบ่อยๆ ก็จะนำไปสู่สภาวะกล้ามเนื้อสลายได้เช่นกัน

3. การออกแรงมากเกินไป คือเกินจากที่ร่างกายจะรับไหวเป็นประจำ อาจทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อสลายได้ โดยเฉพานักกีฬา

4. การใช้ยาบางชนิดมากเกินขนาด เนื่องจากยาบางตัวอาจมีผลต่อกล้ามเนื้อได้ ทั้งนี้สามารถแบ่งประเภทยาออกได้เป็น 2 ประเภทกว้างๆ คือ

  • ยาเสพติด ได้แก่ ยาบ้า โคเคนและเฮโรอีน เป็นต้น
  • ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยากลุ่ม Stain ซึ่งเป็นยาที่ใช้ลดคอเลสเตอรอล อาจก่อให้เกิดการเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อได้ และเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อสลายในที่สุด โดยทั้งนี้สามารถพบได้มากถึง 0.1 ถึง 1 คน ในทุกๆ 1,000 คนเลยทีเดียว

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

McDonald, Thomas; Drescher, Kristen M.; Weber, Annika; Tracy, Steven (1 March 2012). “Creatinine inhibits bacterial replication”. The Journal of Antibiotics. 63.

Shemesh O, Golbetz H, Kriss JP, Myers BD (November 1985). “Limitations of creatinine as a filtration marker in glomerulopathic patients”. Kidney Int. 25.