- โรคแทรกซ้อนทางตาในผู้ป่วยเบาหวาน
- อาหารเสริมผู้ป่วยเบาหวาน ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์
- การดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตอย่างใกล้ชิด
- การดูแลผู้ป่วยเบาหวานรายบุคคลในชุมชน
- การดูแลและพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานตามลักษณะอาการรายบุคคล
- การจัดการผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายกรณี
- การจัดการรายบุคคล ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง แนวคิดสู่การปฏิบัติตัว
- วิธีสังเกตอาการเบื้องต้นของเบาหวาน
- แผนรักษาเบาหวานที่กำหนดได้ด้วยตัวเอง
- เบาหวานชนิดที่ 2 คือเบาหวานที่เราสร้างเอง
- เบาหวานแฝงตัวมากับเครื่องดื่ม
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- วิธีวิ่งหนีโรคแทรกซ้อนเบาหวาน
- เป็นโรคเบาหวานต้องเลือกกินอาหารนอกบ้านอย่างไร
- น้ำตาลแท้ น้ำตาลเทียมหวานเทียบกับเบาหวาน
- เบาหวานกับเทศกาลปีใหม่กินอย่างไรไม่ทำลายสุขภาพ
- การปฏิบัติตนในการกินอาหารในโอกาสต่างๆของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- อาหารมังสวิรัติสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
- แสงแดดรักษาแผลแม้แต่แผลเบาหวานขั้นรุนแรง
- มารู้จักอาหาร Low GI กันเถอะ
- ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด มีข้อบ่งชี้วิธีการใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมอย่างไร
- เบาหวานลงไตคืออะไร ( Diabetic Kidney Disease, DKD )
- เป็นเบาหวานควรออกกำลังกายอย่างไรดี
- เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการอย่างไร
- กินน้ำตาลมากๆ จะเป็นโรคเบาหวานหรือไม่?
- การติดตามประเมินผลการควบคุมเบาหวาน
- การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
- การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเบาหวาน
- ถาม – ตอบ ปัญหาเกี่ยวกับอาหารผู้ป่วยเบาหวาน
- คำถามทั่วไปเกี่ยวกับเบาหวานที่พบบ่อย
- ชนิดของโรคเบาหวานและการป้องกันเบาหวาน
โรคแทรกซ้อนทางตาในผู้ป่วยเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มักทราบระยะเวลาการเกิดเบาหวานที่ค่อนข้างแน่นอน แต่ไม่พบเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในระยะ 5 ปีแรก แต่เมื่อเป็นเบาหวานไปแล้ว 15 ปี ซึ่งพบเบาหวานขึ้นจอตาระยะรุนแรง หรือมีหลอดเลือดฝอยงอกขึ้นมาใหม่
ระยะของโรคแทรกซ้อนทางตา
1. เบาหวานขึ้นตาระยะต้น หรือระยะที่ยังไม่มีหลอดเลือดฝอยงอกใหม่ ( Non-proliferative diabetic retinopathy : NPDR )
2. เบาหวานขึ้นจอตาระยะรุนแรง หรือระยะที่มีหลอดเลือดฝอยงอกใหม่ ( Proliferative diavetic retinopathy : PDR )
สาเหตุโรคแทรกซ้อนทางตา
เกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้หลอดเลือดแดงของจอตาเกิดความผิดปกติ พบความอ่อนแอของผนังหลอดเลือดของจอตาจนเกิดหลอดเลือดฝอยโป่งพอง เรียกว่า ไมโครอะนูริซึม มีจุดเลือดออกเล็กๆกระจายทั่วไป มักมีรูรั่วทำให้มีน้ำและไขมันรั่วออกมา ทำให้จอตาบวมน้ำและมีจุดไขมันสีเหลืองบริเวณจุดภาพชัดทำให้มีอาการตามัว
อาการโรคแทรกซ้อนทางตา
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เป็นในระยะแรกๆ จะไม่มีอาการ แต่ถ้าเป็นมากขึ้นมักพบอาการตามัวเป็นเงาดำคล้ายหยากไย่ลอยไปมา บางรายเห็นภาพบิดเบี้ยว หรือมีม่านมาบัง ผู้ป่วยบางรายก็อาจไม่มีอาการเลย แม้จะมีเบาหวานขึ้นจอตาอย่างรุนแรง
การวินิจฉัย
แพทย์จะเริ่มเก็บข้อมูลจากการซักประวัติของผู้ป่วย ประวัติเบาหวานของคนในครอบครัว ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน อาการที่พบ ประวัติการควบคุมเบาหวาน โรคประจำตัวอื่นๆ ทดสอบการมองเห็น
การรักษาโรคแทรกซ้อนทางตา
แพทย์จะประเมินการรักษาขึ้นอยู่กับระยะของเบาหวานขึ้นจอตา
-
- การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
- การควบคุมระดับความดันเลือด
- การควบคุมระดับไขมัน ในเลือด
- การยิงแสงเลเซอร์
- การฉีดยาเข้าวุ้นตา
- การผ่าตัดจอตาและวุ้นตา
โรคแทรกซ้อนทางตาในผู้ป่วยเบาหวานสามารถรักษาได้ ถ้าตรวจพบและเข้ารักการรักษาแต่เนิ่นๆ
ร่วมตอบคำถามกับเรา
[poll id=”20538″]
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่ง ประเทศไทย, กรมการแพทย์, สำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับเบาหวาน 2554. 1st ed. กรุงเทพ: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์จำกัด;2554.