อาหารเสริมผู้ป่วยเบาหวาน
อาหารเสริมผู้ป่วยเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากในปัจจุบันและยังมีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี โรคเบาหวานส่วนมากที่ตรวจพบจะมีสาเหตุมากพฤติกรรมการกินที่ทำให้ร่างกายได้รับโภชนาการที่ผิดปกติ ส่งผลให้ระบบการทำงานของตับเกิดการทำงานที่ผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถทำการดูดซึมน้ำตาลในกระแสเลือดเข้าสู่ร่างกายเพื่อนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานได้ ซึ่งความผิดปกติที่เกิดขึ้นนี้เมื่อเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิตได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคไต โรคเกี่ยวกับระบบประสาท และอาการตาบอด
อาหารเสริมผู้ป่วยเบาหวาน จำเป็นกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ( Diabetes Mellitus: DM, Diabetes ) คือ โรคที่เกิดจากภาวะของตับอ่อนมีการทำงานที่ผิดปกติในการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ( Insulin ) ในปริมาณที่ไม่เพียงพอหรือการที่ร่างกายมีภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้อินซูลินไม่สามารถทำการดูดซึมน้ำตาลในกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย ดังนั้นเมื่อปริมาณฮอร์โมนอินซูลินน้อยหรือฮอร์โมนอินซูลินสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปใช้เป็นแหล่งพลังงานของร่างกายได้ ส่งผลให้น้ำตาลที่คงเหลืออยู่ในกระแสเลือดมีปริมาณสูงขึ้น
โรคเบาหวานที่พบได้แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. เบาหวานชนิดที่ 1 ( Type 1 Diabetes ) คือ โรคเบาหวานที่เกิดจากการขาดอินซูลิน เพราะเบต้าเซลล์ (Beta cells) ที่อยู่ในตับอ่อนไม่สามารถทำการผลิตออร์โมนอินซูลินออกมาได้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดความผิดปกติจึงเข้าไปยับยั้งหรือไปทำลายเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ตับอ่อนไม่สามารถทำการสร้างฮอร์โมนอินซูลินออกมาได้ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้จะมีอายุประมาณ 5-24 ปี
2. เบาหวานชนิดที่ 2 ( Type 2 Diabetes ) คือ เบาหวานที่เกิดขึ้นเนื่องจากความเสื่อมของเซลล์ในตับอ่อนที่มีหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินหรือเกิดเนื่องจากการที่ร่างกายมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยหรือที่เรียกว่า “ภาวะดื้ออินซูลิน ( Insulin Resistance )” ภาวะดื้ออินซูลินนี้อาจเป็นสาเหตุของความเสื่อมที่เกิดขึ้นกับตับซึ่งเป็นที่มาของโรคเบาหวาน นอกจากความเสื่อมที่เกิดจากอายุที่มากขึ้น ซึ่งเบาหวานชนิดที่ 2 จะมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมหรือพฤติกรรมการดำรงชีวิต เช่น การไม่ออกกำลังกาย ความอ้วนหรือโรคอ้วน การรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูงตลอดเวลา ซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคเบาที่พบส่วนใหญ่ประมาณ 90 % ของผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดนี้
3. เบาหวานชนิดที่ 3 ( Type 3 Diabetes ) หรือเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ( Gestational Diabetes Mellitus ) คือ เบาหวานชนิดนี้จะเกิดขึ้นในช่วงที่ผู้หญิงมีการตั้งครรภ์ แม้ว่าจะไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากช่วงที่ตั้งครรภ์บางคนร่างกายจะมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินน้อยลง ดังนั้นถ้าร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่สามารถทำการผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดภาวะโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ขึ้น แต่เมื่อคลอดลูกแล้วอาการของโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นก็จะหายไปเอง แต่ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานในขณะที่ตั้งครรภ์นั้นจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานในอนาคตได้
นอกจากเบาหวานทั้ง 3 ชนิดแล้ว ยังมีเบาหวานชนิดพิเศษอื่น ๆ ที่มีสาเหตุแบบเฉพาะเจาะจง เช่น การเกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม ผลจากการผ่าตัด การเสพยาเสพติด การเกิดภาวะขาดสารอาหาร โรคตับอ่อน การได้รับยากลุ่มสเตีบรอยด์ เป็นต้น ซึ่งเบาหวานชนิดพิเศษพบได้น้อยมากประมาณ 1 % ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด โรคเบาหวานสามารถตรวจเช็คได้ด้วยการตรวจวัดปริมาณน้ำตาลในเลือด
โรคเบาหวาน ( Diabetes Mellitus: DM, Diabetes ) คือ โรคที่เกิดจากภาวะของตับอ่อนมีการทำงานที่ผิดปกติในการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ( Insulin )
อาการผู้ป่วยโรคเบาหวาน
1. บาดแผลหายช้า แผลเบาหวาน ( Diabetic Ulcer ) เป็นอาการที่พบได้มากในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยมากผู้ป่วยโรคเบาหวานเมื่อเป็นแผลจะหายช้ากว่าคนทั่วไป เนื่องจากหลอดเลือดที่นำพาเลือดไปเลี้ยงส่วนที่เป็นแผลมีการตีบ ทำให้เลือดไม่สามารถไหลหมุนเวียนไปหล่อเลี้ยงที่บริเวณบาดแผลได้ ส่งผลให้แผลหายช้าและมักเนื้อที่บริเวณบาดแผลจะมีโอกาสตายมากขึ้นจนกลายเป็นแผลลุกลาม
2. กินบ่อยแต่น้ำหนักลด ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีอาการหิวบ่อยเนื่องจากไม่สามารถดึงน้ำตาลที่มีอยู่ในกระแสเลือดเข้าไปใช้เป็นแหล่งพลังงานได้ทำให้ร่างกายรู้สึกหิวตลอดเวลา แต่ถึงแม้จะกินบ่อยขึ้นแต่พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานกลับมีน้ำหนักตัวลดลงอย่างชัดเจน เนื่องร่างกายไม่สามารถดึงน้ำตาลในเลือดมาใช้ได้ จึงทำการดึงไขมันและโปรตีนที่อยู่ในร่างกายมาใช้แทน ทำให้น้ำหนักตัวของผู้ป่วยลดลงอย่างรวดเร็ว
3. ปัสสาวะบ่อย ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายต้องทำการขับน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงมีอาการปัสสาวะบ่อย
4. อ่อนเพลีย ( Fatigue ) ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีอาการอ่อนเพลีย แขนขาเหมือนอ่อนแรง อารมณ์เปลี่ยนแปลง หงุดหงิน ฉุนเฉียวง่าย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่มีอยู่ในกระแสเลือดมาเปลี่ยนเป็นพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานรู้สึกไม่มีแรงและรู้สึกอ่อนเพลียอยู่ตลอดเวลาส่งผลต่ออารมณ์ทำให้หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย
5. อาการชาที่ปลายประสาท ( Diabetic polyneuropathy ) ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีอาการชาที่บริเวณปลายประสาท เช่น ชาที่บรเวณปลายนิ้วมือและนิ้วเท้า เนื่องจากปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดที่มีปริมาณสูง จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับประจุทางเคมีในกระแสเลือดส่งผลให้เส้นประสาทที่ทำหน้าที่ในการนำไฟฟ้าไม่สามารถทำการส่งสัญญาณไปยังปลายเส้นประสาทได้ และปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดที่สูงจะทำให้เกิดอาการอักเสบที่เส้นประสาทตามอวัยวะส่วนต่างๆ ทำให้เกิดอาการชา โดยจะเริ่มที่บริเวณเส้นประสาทส่วนปลาย ที่ปลายนิ้วมือและนิ้วเท้าก่อน
โรคเบาหวานเป็นโรคที่สามารถตรวจพบได้ในระยะเริ่มแรก ไม่ต้องรอให้อาการของโรคอยู่ในขั้นรุนแรงถึงจะตรวจพบได้เหมือนโรคบางชนิด โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีความร้ายแรงเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นของกโรคเบาหวานที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ เลยทีเดียว ซึ่งโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นและพบได้มากในผู้ป่วยโรคเบาหวาน คือ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคเกี่ยวกับปลายเส้นประสาทชาและการตาบอดเนื่องจากเบาหวานขึ้นตา พบว่าโรคเบาหวานเป็นโรคที่สร้างความผลกระทบกับการดำรงชีวิตของผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องทำการรักษาด้วยการควบคุมปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดอยู่ในสภาวะปกติอยู่เสมอ
การควบคุมปริมาณน้ำตาลเพื่อรักษาโรคเบาหวาน
- การรักษาด้วยการฉีดหรือกินฮอร์โมนอินซูลิน
การรักษาด้วยการฉีดหรือกินฮอร์โมนอินซูลินเพื่อควบคุมอาการของโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่สามารถควบคุมให้ไม่เกิดเป็นอันตรายกับตัวผู้ป่วยได้ ซึ่งรักษาด้วยการผู้ป่วยรับประทานหรือทำการฉีดฮอร์โมนอินซูลินเข้าสู่กระแสเลือดทดแทนฮอร์โมนอินซูลินตามธรรมชาติ เพื่อที่ร่างกายจะได้ทำการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระบวนการเผาผลาญเพื่อเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงานให้กับร่างกายได้ ซึ่งการรับประทานหรือการฉีดฮอร์โมนอินซูลินนี้ต้องได้รับการควบคุมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้เอง นอกจากนั้นแล้วผู้ป่วยยังต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ทำการรักษาอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัย การรักษาด้วยวิธีนี้มักจะใช้ทำการรักษากับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอิซูลินตามธรรมชาติได้เอง หรือจะใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหนักมากและต้องการควบคุมปริมาณน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่ร่างกายสามารถปรับสมดุลได้ด้วยตัวเอง พร้อมทั้งทำการรักษาด้วยวิธีอื่นควบคู่กันไป เมื่อร่างกายมีการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินในระดับที่ปกติแล้ว แพทย์จะทำการหยุดการให้ฮอร์โมนอินซูลินและใช้การรักษาวิธีอื่นแทน
2. การรักษาด้วยยา
การรักษาด้วยยาเป็นการรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือเบาหวานขณะตั้งครรภ์ แพทย์จะทำการรักษาด้วยการให้ยาที่ช่วยรักษาระดับปริมาณน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่สมดุล เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว ถ้ามีปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดสูงอยู่ตลอดเวลา เช่น โรคไต โรคหัวใจ เป็นต้น โดยตัวยาจะมีหน้าที่ในการออกฤทธิ์อยู่ 2 ลักษณะ คือ
2.1 ตัวยาจะทำหน้าที่เข้าไปกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินให้สามารถทำหน้าที่ในการดูดซึมน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น จึงสามารถช่วยลดปริมาณน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้
2.2 ตัวยาจะทำหน้าที่เข้าไปกระตุ้นการทำงานของตับอ่อนให้มีการสร้างฮอร์โมนอินซูลินในปริมาณที่มากขึ้น เมื่อร่างกายมีปริมาณฮอร์โมนอินซูลินที่มากขึ้น ก็จะสามารถทำการดูดซึมน้ำตาลในกระแสเลือดได้มากขึ้นตามปริมาณของฮอร์โมนอินซูลินนั่นเอง
ซึ่งปริมาณยาหรือชนิดของยาที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้นั้น จะขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยคำนึงถึงตัวผู้ป่วยเป็นหลัก
3. การรักษาด้วยออกกำลังกาย
โรคเบาหวานเป็นโรคที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษาเสมอไปเพราะโรคเบาหวานสามารถที่จะรักษาได้ด้วยตัวผู้ป่วยเอง ซึ่งการออกกำลังกาย นับเป็นวิธีที่ช่วยรักษาอาการของโรคเบาหวานได้ เพราะการออกกำลังกายจะเป็นลดปริมาณน้ำตาลที่มีอยู่ในเลือดให้น้อยลงจนอยู่ในระดับที่ปกติ โดยร่างกายจะทำการดึงน้ำตาลเข้าไปเป็นพลังงานเพื่อใช้ในการออกกำลัง นอกจากนั้นการออกกำลังกายยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ ได้ดี โดยเฉพาะบริเวณเส้นประสาทส่วนปลายจึงช่วยลดอาการปลายเส้นประสาทชา แต่ว่าการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องเป็นการออกกำลังกายที่ไม่หนักมาก เช่น การวิ่งเหยาะ เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือการทำกิจกรรมภายในบ้าน เป็นต้น
4. อาหารเสริมผู้ป่วยเบาหวานกับการควบคุมอาหาร
การควบคุมอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่สามารถรับประทานอาหารทุกอย่างได้เหมือนคนทั่วไป ซึ่งอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวานคือ
- อาหารเสริมผู้ป่วยเบาหวาน เป็นอาหารที่มีเส้นใยสูง
ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยในปริมาณที่สูงแต่มีปริมาณน้ำตาลน้อย เช่น ผัก ผลไม้พืชตระกูลถั่ว ธัญพืช ผักใบเขียวเป็นต้น เพราะอาหารประเภทนี้จะเป็นแหล่งของวิตามิน เกลือแร่ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายในการสร้างสมดุลของระบบการทำงาน แต่มีปริมาณไขมันและคาร์โบไฮเดรตที่ต่ำ และเส้นใยยังช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดได้เป็นอย่างดี จึงช่วยลดปริมาณน้ำตาลให้เลือดให้น้อยลง - กินให้ครบทุกมื้อ ในแต่ละวันควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ ห้ามอดอาหารมื้อใดเป็นอันขาดเพราะจะทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำตาลซึ่งจะส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยเกิดออาการช็อคได้เช่นเดียวกับการได้รับปริมาณน้ำตาลสูงเกินไป ซึ่งปริมาณอาหารควรเลือกอาหารที่มีไขมันไม่เกิน 30% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการทั้งหมดต่อวัน ควรเลือกรับประทานไขมันดี เช่น ไขมันจากปลา หรือไขมันจากพืช และงดทานไขมันจากหมู ไก่ กะทิที่มีไขมันอิ่มตัวมาก เพราะเมื่อทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงร่างกายจะย่อยและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง
- งดของหวาน ของหวานเป็นอาหารต้องห้ามของผู้ป่วยโรคเบาหวานเลยทีเดียว เพราะของหวานเป็นอาหารที่มีน้ำตาลในปริมาณที่สูงมากเมื่อรับประทานเข้าไป จะทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งจะเป็นอันตรายกับผู้ป่วย
การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในสภาวะปกติเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและความสำคัญกับผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นอย่างมาก เพราะถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะทานยาแต่ถ้าไม่ควบคุมอาหารหรือออกกำลังกายเลย ปริมาณน้ำตาลก็ยังสามารถขึ้นได้เรื่อย ๆ ทำให้แพทย์ต้องทำการเพิ่มปริมาณยาให้กับผู้ป่วยเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่สูงเกินค่ามาตรฐาน
นอกจากยาที่ช่วยในการรักษาและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาอาหารเสริมที่สามารถช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งมีการค้นคว้าและวิจัยจนพบว่ามีอาหารเสริมสามารถช่วยควบคุมปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในสภาวะปกติเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและความสำคัญกับผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นอย่างมาก
อาหารเสริมผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมน้ำตาลได้
1. สมุนไพร
สมุนไพรหลายชนิดที่มีส่วนช่วยในการควบคุมปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือด เช่น โสม เห็ดหลินจือ ซึ่งสมุนไพรจะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินให้สามารถทำการดูดซึมน้ำตาลในกระแสเลือดได้มากขึ้น
2. โครเมียม ( Chromium )
โครเมียม เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีหน้าที่ในการกระตุ้นการเผาผลาญน้ำตาล ไขมันและคาร์โบไฮเดรตให้เปลี่ยนเป็นพลังงาน โครเมียมที่อยู่ใน อาหารเสริมผู้ป่วยเบาหวาน จะเข้าไปเป็นสารตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนมีประสิทธิภาพในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้มากขึ้น และยังทำหน้าที่กระตุ้นให้ฮอร์โมนอินซูลินสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการดูดซึมน้ำตาล
3. เวย์โปรตีน
เวย์โปรตีนเป็น อาหารเสริมผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดใหม่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยมีการแนะนำให้รับประทานเวย์โปรตีนก่อนการรับประทานอาหารทุกมื้อ เวย์โปรตีนจะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของตับอ่อนในการสร้างฮอร์โมนอินซูลินให้มีการสร้างอินซูลินออกมาเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถทำการดูดซึมน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วเวย์โปรตีนเป็นโปรตีนที่สามารถดูดซึมได้ง่าย เมื่อรับประทานเข้าไปร่างกายจะดูดซึมเวย์โปรตีนก่อนการดูดซึมน้ำตาล จึงช่วยลดปริมาณน้ำตาลที่เข้าสู่กระแสเลือดได้เป็นอย่างดี ซึ่งเวย์ โปรตีนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีลักษณะแตกต่างจากเวย์โปรตีนทั่วไป นั่นคือ เวย์โปรตีนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีปริมาณน้ำตาล ไขมันต่ำ แต่เวย์โปรตีนทั่วไปจะมีปริมาณน้ำตาล ไขมันที่ให้พลังงานสูงไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การเลือกรับประทาน อาหารเสริมผู้ป่วยเบาหวาน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะว่าอาหารเสริมสามารถช่วยควบคุมปริมาณน้ำตาลได้ดี ซึ่งการเลือกรับประทานอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยนั้น ควรเลือกรับประทานอาหารเสริมเกรดการแพทย์เท่านั้น เพราะว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนได้ง่าย ดังนั้นถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารเสริมที่มีการปนเปื้อนของสารที่เป็นอันตราย อาจจะทำให้เกิดอาหารแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ และควรเลือกผู้ผลิตอาหารเสริมที่ได้การรับรองจากสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ บรรจุภัณฑ์ต้องมีการระบุส่วนผสมทุกชนิดอย่างชัดเจนทั้งปริมาณและสัดส่วนที่มีอยู่ในอาหารเสริม เพื่อที่ผู้บริโภคจะได้ทราบปริมาณที่เหมาะสมในการบริโภคต่อวัน
การรับประทาน อาหารเสริมผู้ป่วยเบาหวาน จะช่วยควบคุมปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยา ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และไปพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง เพื่อทำการตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียด เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังไม่ให้อาการของโรคเบาหวานให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ป่วย
ร่วมตอบคำถามกับเรา
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กินเท่าไหร่ กินแค่ไหน ไม่เสี่ยงอ้วน. ใน: ธิดารัตน์ มูลลา.ชีวิตใหม่ไร้พุง. กรุงเทพฯซ บริษัทศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัดม 2557.
แก้ว กังสดาลอำไพ. ความสัมพันธ์ระหว่างแอลกอฮอล์กับอาหาร [เว็บไซต์]. กรุงเทพฯ. หมอชาวบ้าน 2531.
งานวิจัยเกาหลี [เว็บไซต์]. เข้าถึงจาก www.diabassocthai.org.