ผักกาดหอม
ผักกาดหอม หรือเรียกกันอีกอย่างว่า “ผักสลัด” เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและทวีปยุโรป สำหรับในประเทศไทยมีการปลูกผักกาดหอมกันมานานแล้ว ผักกาดหอมมีอยู่ด้วยกันถึง 3 ชนิด มีดอกสีเหลืองชวนให้ดูสวยงามและน่ารัก เป็นผักที่มีแคลอรีต่ำเหมาะสำหรับคนลดน้ำหนักเป็นอย่างมาก ยางจากต้นสามารถนำมาใช้ในรูปแบบยาทั้งชนิดน้ำและแบบชนิดเม็ดได้ ในใบหรือก้านของผักกาดหอมจะมีสารรสขมที่ชื่อว่า “แลกทูคาเรียม” ซึ่งเป็นสารที่ทำให้จิตใจสงบ ผ่อนคลายและช่วยในการนอนหลับได้
[/vc_column_text]
รู้จักกับชื่อต่าง ๆ ของผักกาดหอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lactuca sativa L.
ชื่อสามัญ : มีชื่อสามัญว่า “Lettuce”
ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลางเรียกว่า “สลัด สลัดผัก ผักสลัด” ภาคเหนือเรียกว่า “ผักกาดยี” คนจีนเรียกว่า “ผักกาดปี พังฉาย พังฉ่าย พังฉ้าย”
ชื่อวงศ์ : วงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)
ลักษณะของผักกาดหอม
ผักกาดหอม เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและทวีปยุโรป ประกอบไปด้วย 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ผักกาดหอมใบ ผักกาดหอมห่อ ผักกาดหอมต้น
ลำต้น : ลำต้นในระยะแรกมักจะมองไม่เห็น เพราะใบมักปกคลุมไว้ แต่จะเห็นได้ชัดเมื่อถึงระยะแทงช่อดอก มีลักษณะเป็นข้อสั้น โดยแต่ละข้อจะเป็นที่เกิดของใบ ลักษณะของลำต้นค่อนข้างอวบอ้วนและตั้งตรงสูงชะลูดขึ้นจนสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ราก : เป็นระบบรากแก้วที่แข็งแรงและอวบอ้วน รากที่เหลือจะเป็นรากแขนงแผ่กระจายอยู่ใต้ผิวดิน โดยรากจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มอย่างหนาแน่น ไม่ค่อยแพร่กระจายมากนัก เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วเมื่อปลูกในดินร่วนปนทรายที่มีความชื้นเพียงพอ
ใบ : ใบมีสีตั้งแต่เขียวอ่อน สีเขียวปนเปลืองไปจนถึงสีเขียวแก่ บางสายพันธุ์จะมีสีแดงหรือมีสีน้ำตาลปนอยู่ ทำให้มีสีแดง สีบรอนซ์ หรือสีน้ำตาลปนเขียว ใบจะแตกออกมาจากลำต้นโดยรอบ พันธุ์ที่ห่อเป็นหัวจะมีใบหนา และมีเนื้อใบอ่อนนุ่ม ใบห่อหัวอัดกันแน่น ส่วนใบที่ห่ออยู่ข้างในจะเป็นมัน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อดอกรวม ในแต่ละกระจุกมีดอกย่อยประมาณ 15 – 25 ดอก ช่อดอกอันแรกจะเกิดบริเวณยอดอ่อน หลังจากนั้นจะเกิดบริเวณมุมใบ โดยช่อดอกที่เกิดบริเวณยอดจะมีอายุมากที่สุด เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกมีสีเหลือง ตรงโคนเชื่อมติดกัน มีรังไข่ 1 ห้อง เกสรตัวเมีย 1 ก้าน เป็น 2 แฉก ส่วนเกสรตัวผู้จะมี 5 ก้าน
เมล็ด : เมล็ดเป็นชนิดเมล็ดเดียวที่เจริญมาจากรังไข่อันเดียว มีลักษณะแบนยาว หัวท้ายแหลมคล้ายรูปหอก มีเส้นขนาดเล็กลาดยาวไปตามด้านยาวของเมล็ดบนเปลือกหุ้ม เมล็ดมีเปลือกหุ้มบาง เปลือกจะไม่แตกเมื่อเมล็ดแห้ง มีสีเทาปนสีครีม
สรรพคุณของผักกาดหอม
- สรรพคุณจากใบ ต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ป้องกันและต่อต้านมะเร็ง ช่วยในการนอนหลับ ทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย แก้อารมณ์เสียง่าย ดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ช่วยเสริมการสร้างเม็ดเลือด แก้โรคโลหิตจาง ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย แก้สมาธิสั้น แก้การเรียนรู้ลดลง ช่วยแก้ไข้ แก้ไอ
- สรรพคุณจากทั้งต้น เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยขับถ่าย ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูก
- สรรพคุณจากเมล็ด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร รักษาโรคตับ ช่วยระงับอาการปวด ช่วยแก้อาการปวดเอว ช่วยขับน้ำนมของสตรีหลังคลอดบุตร
– ช่วยขับเสมหะและแก้อาการไอ ด้วยการนำเมล็ดตากแห้งประมาณ 5 กรัม มาชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น - สรรพคุณจากต้น ช่วยขับเสมหะและแก้อาการไอ
- สรรพคุณจากน้ำคั้นจากใบ เป็นยาขับเหงื่อ ช่วยขับปัสสาวะ
- สรรพคุณจากน้ำคั้นจากทั้งต้น ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ เป็นยาระบาย ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยขับพยาธิ แก้ฝีมะม่วง
ประโยชน์ของผักกาดหอม
1. เป็นส่วนประกอบของอาหาร นิยมใช้รับประทานกับอาหารจำพวกยำ เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ สาคูไส้หมู เป็นต้น นิยมนำมาใช้ตกแต่งอาหารเพื่อให้มีสีสันสวยงาม
2. เป็นอาหารของคนลดน้ำหนัก ผักกาดหอมเป็นผักที่มีแคลอรีต่ำ เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ลดน้ำหนัก
3. ใช้ในด้านความงาม ทานผักกาดหอมร่วมกับแคร์รอตและผักโขมจะช่วยบำรุงสีของเส้นผมให้สวยงามได้
4. เป็นส่วนประกอบของยา ปัจจุบันมีการใช้ยาง (Latex) ที่สกัดจากผักกาดหอมออกมาจำหน่ายในรูปแบบยา ซึ่งมีทั้งชนิดน้ำและแบบชนิดเม็ด
คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดหอม (ชนิดใบสีเขียว)
คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดหอม (ชนิดใบสีเขียว) ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 15 กิโลแคลอรี
สารอาหาร | ปริมาณสารที่ได้รับ |
คาร์โบไฮเดรต | 2.87 กรัม |
น้ำ | 94.98 กรัม |
น้ำตาล | 0.78 กรัม |
เส้นใย | 1.3 กรัม |
ไขมัน | 0.15 กรัม |
โปรตีน | 1.36 กรัม |
วิตามินเอ | 7,405 หน่วยสากล |
วิตามินบี1 | 0.07 มิลลิกรัม |
วิตามินบี2 | 0.08 มิลลิกรัม |
วิตามินบี3 | 0.375 มิลลิกรัม |
วิตามินบี6 | 0.09 มิลลิกรัม |
วิตามินบี9 | 38 ไมโครกรัม |
วิตามินซี | 9.2 มิลลิกรัม |
วิตามินอี | 0.22 มิลลิกรัม |
วิตามินเค | 126.3 ไมโครกรัม |
ธาตุแคลเซียม | 36 มิลลิกรัม |
ธาตุเหล็ก | 0.86 มิลลิกรัม |
ธาตุแมกนีเซียม | 13 มิลลิกรัม |
ธาตุฟอสฟอรัส | 29 มิลลิกรัม |
โพแทสเซียม | 194 มิลลิกรัม |
ธาตุโซเดียม | 28 มิลลิกรัม |
ธาตุสังกะสี | 0.18 มิลลิกรัม |
คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดหอม (ชนิดใบสีแดง)
คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดหอม (ชนิดใบสีแดง) ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 16 กิโลแคลอรี
สารอาหาร | ปริมาณสารที่ได้รับ |
คาร์โบไฮเดรต | 2.26 กรัม |
น้ำ | 95.64 กรัม |
น้ำตาล | 0.48 กรัม |
เส้นใย | 0.9 กรัม |
ไขมัน | 0.22 กรัม |
โปรตีน | 1.33 กรัม |
วิตามินเอ | 7,492 หน่วยสากล |
วิตามินบี1 | 0.064 มิลลิกรัม |
วิตามินบี2 | 0.077 มิลลิกรัม |
วิตามินบี5 | 0.321 มิลลิกรัม |
วิตามินบี6 | 0.1 มิลลิกรัม |
วิตามินซี | 3.7 มิลลิกรัม |
วิตามินอี | 0.15 มิลลิกรัม |
วิตามินเค | 140.3 ไมโครกรัม |
ธาตุแคลเซียม | 33 มิลลิกรัม |
ธาตุเหล็ก | 1.2 มิลลิกรัม |
ธาตุแมกนีเซียม | 12 มิลลิกรัม |
ธาตุฟอสฟอรัส | 28 มิลลิกรัม |
ธาตุโพแทสเซียม | 187 มิลลิกรัม |
ธาตุโซเดียม | 25 มิลลิกรัม |
ธาตุสังกะสี | 0.2 มิลลิกรัม |
คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดหอม (ชนิดห่อหัวไม่แน่น)
คุณค่าทางโภชนาการ ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 13 กิโลแคลอรี
สารอาหาร | ปริมาณสารที่ได้รับ |
คาร์โบไฮเดรต | 2.23 กรัม |
น้ำ | 95.63 กรัม |
น้ำตาล | 0.94 กรัม |
เส้นใย | 1.1 กรัม |
ไขมัน | 0.22 กรัม |
โปรตีน | 1.35 กรัม |
วิตามินเอ | 3,312 หน่วยสากล (21%) |
เบตาแคโรทีน | 1,987 ไมโครกรัม (18%) |
ลูทีนและซีแซนทีน | 1,223 ไมโครกรัม |
วิตามินบี1 | 0.057 มิลลิกรัม (5%) |
วิตามินบี2 | 0.062 มิลลิกรัม (5%) |
วิตามินบี5 | 0.15 มิลลิกรัม (3%) |
วิตามินบี6 | 0.082 มิลลิกรัม (6%) |
วิตามินบี9 | 73 ไมโครกรัม (18%) |
วิตามินซี | 3.7 มิลลิกรัม (4%) |
วิตามินอี | 0.18 มิลลิกรัม (1%) |
วิตามินเค | 102.3 ไมโครกรัม (97%) |
ธาตุแคลเซียม | 35 มิลลิกรัม (4%) |
ธาตุเหล็ก | 1.24 มิลลิกรัม (10%) |
ธาตุแมกนีเซียม | 13 มิลลิกรัม (4%) |
ธาตุแมงกานีส | 0.179 มิลลิกรัม (9%) |
ธาตุฟอสฟอรัส | 33 มิลลิกรัม (5%) |
โพแทสเซียม | 238 มิลลิกรัม (5%) |
ธาตุโซเดียม | 5 มิลลิกรัม (0%) |
ธาตุสังกะสี | 0.2 มิลลิกรัม (2%) |
ผักกาดหอม ถือเป็นผักที่คู่ควรอย่างมากสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก เพราะมีแคลอรีต่ำ แต่คุณค่าทางอาหารสูงมาก และยังอุดมไปด้วยสรรพคุณทางยาอีกด้วย นิยมในการนำมาใช้ประกอบอาหารอย่างพวกสลัด ผักกาดหอมมีสรรพคุณทางยาได้หลายส่วนจากต้นโดยเฉพาะส่วนของใบ มีสรรพคุณที่โดดเด่นเลยก็คือ ต้านมะเร็ง ช่วยในการนอนหลับ รักษาตับ บำรุงร่างกาย และช่วยเสริมการสร้างเม็ดเลือดได้
สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doae.go.th. [30 ต.ค. 2013].
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaihealth.or.th. [30 ต.ค. 2013].
มูลนิธิโครงการหลวง. “ผักกาดหอมใบแดง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.royalprojectthailand.com. [30 ต.ค. 2013].
พจนานุกรมโรคและสมุนไพรไทย. (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).
บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร (วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน 2546). ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. “พืชผักผลไม้ไทยมีคุณค่าเป็นทั้งอาหารและยา ตอนผักกาดหอม“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.psu.ac.th. [30 ต.ค. 2013].
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. “ผัดกาดหอมอุดมไปด้วยวิตามินบีรักษาฝีมะม่วงได้“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.hiso.or.th. [27 ต.ค. 2013].
ข้อมูลอ้างอิง (Source) : https://medthai.com/