ต้นกระวานป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Amomum uliginosum J.Koenig ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Amomum ovoideum Pierre ex Gagnep., Amomum robustum K.Schum., Amomum uliginosum Koenig, Cardamomum uliginosum (J.Koenig) Kuntze, Wurfbainia uliginosa (J.Koenig) Giseke
จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)[1] ชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า เร่ว (ภาคใต้ฝั่งตะวันออก) ส่วนที่จังหวัดปัตตานีจะเรียกชื่อว่า “กระวานป่า“[1]
ลักษณะของต้นกระวานป่า
- ต้น[1]
– จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก
– มีเหง้าอยู่ใต้ดิน
– ลำต้นที่อยู่เหนือดินมีความสูงได้ 2.5-4 เมตร - ใบ[1]
– ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับ
– เจริญจากลำต้นที่อยู่ใต้ดิน
– มีใบประมาณ 16-24 ใบ
– ใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก
– ปลายใบแหลมมีติ่งแหลม ห้อยย้อยลง
– โคนใบเป็นรูปลิ่ม
– ขอบใบเรียบ
– ใบมีขนาดยาวกว้าง 7-10 เซนติเมตร และยาว 40-60 เซนติเมตร
– ผิวใบด้านบนเกลี้ยง
– ผิวใบด้านล่างมีขนสีน้ำตาล - ดอก[1]
– ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ
– ดอกจะเกิดจากตาเหง้าบริเวณโคนของลำต้นเหนือดิน
– มีดอกย่อย 15 ดอก
– กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีขาวปนสีชมพูอ่อน
– กลีบดอกเป็นสีขาว
– มีเกสรเพศผู้สีขาว มีสีชมพูอ่อนที่โคน
– เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์มี 1 อัน
– เกสรเพศเมียมีรังไข่อยู่ใต้วงกลีบ - ผล[1][2]
– ผลเป็นแบบแคปซูล
– เป็นผลแห้ง
– ผลสุกเป็นสีแดง
– ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล รวมกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม
– มีกลิ่นคล้ายการบูร
สรรพคุณของกระวานป่า
- เมล็ด ใช้เป็นยาขับลม แก้อาการปวดท้อง[1],[2]
ประโยชน์ของกระวานป่า
- เมล็ด ใช้เป็นเครื่องเทศ[1],[2]
สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “กระวานป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [03 ก.ย. 2015].
2. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “กระวานป่า”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/. [03 ก.ย. 2015].
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.researchgate.net/figure/Young-plant-of-Zingiber-zerumbet_fig10_275637389