อังกาบหนู สรรพคุณของใบใช้รักษาเลือดออกตามไรฟัน

0
1211
อังกาบหนู สรรพคุณของใบใช้รักษาเลือดออกตามไรฟัน เป็นไม้พุ่มเตี้ย ดอกช่อกระจุกดอกมีสีเหลืองหรือส้ม เป็นใบเดี่ยวรูปไข่ขอบขนานมีขนนุ่ม ผลเป็นแคปซูล
อังกาบหนู
เป็นไม้พุ่มเตี้ย ดอกช่อกระจุกดอกมีสีเหลืองหรือส้ม เป็นใบเดี่ยวรูปไข่ขอบขนานมีขนนุ่ม ผลเป็นแคปซูล

อังกาบหนู

อังกาบหนู เป็นพืชท้องถิ่นในประเทศอินเดีย เป็นพืชสมุนไพรในตำรับยาอายุรเวท พบเป็นวัชพืชขึ้นตามที่แห้งแล้งทางภาคตะวันตกเฉียงใต้และภาคใต้ของไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Barleria prionitis L. จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เขี้ยวเนื้อ เขี้ยวแก้ง มันไก่ อังกาบ เป็นต้น

ลักษณะของอังกาบหนู

  • ต้น จัดเป็นไม้พุ่มเตี้ย สูงราวๆ 1-1.5 เมตร มีกิ่งก้านสาขาแตกออกมาจำนวนมากลำต้นเกลี้ยง รอบข้อมีหนามยาวอยู่ หนามยาวราวๆ 1-2 เซนติเมตร
  • ดอก ออกเป็นช่อค่อนข้างแน่นกระจุกอยู่บริเวณซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ใบประดับดอกเป็นรูปแถบยาวราวๆ 1 เซนติเมตร มีใบประดับย่อยเป็นหนามยาวราวๆ 1-1.5 เซนติเมตรติดทน มีกลีบเลี้ยงขนาดไม่เท่ากันเรียงซ้อนเหลี่ยมกันอยู่ 4 กลีบ กลีบคู่ในเป็นรูปไข่ บริเวณปลายเป็นติ่งหนาม กลีบดอกเป็นรูปปากเป็ดหลอดกลีบจะยาวราวๆ 2-2.5 เซนติเมตร ดอกมีสีเหลืองหรือส้ม มีกลีบดอก 5 กลีบ ด้านบนจะมี 4 กลีบยาวเท่าๆกัน หลอดกลีบจะซ้อนอยู่เหลื่อมกัน รังไข่เป็นรูปไข่ยาวราวๆ 3-4 มิลลิเมตรมีช่องอยู่ 2 ช่องและมีออวุล 2 เม็ดในแต่ละช่อง ก้านเกสรตัวเมียจะมียอดเป็น 2 พูไม่ชัดเจนมีลักษณะเรียวยาว และยาวกว่าเกสรตัวผู้ ที่โคนกลีบดอกมีเกสรตัวผู้ 2 ก้านติดอยู่ ยื่นเลยปากหลอดกลีบไปเล็กน้อย มีความยาวอับเรณูราวๆ 3 มิลลิเมตร เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัด 2 ก้านจะมีขนาดเล็ก
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว เป็นรูปรีรูปไข่หรือขอบขนาน ใบออกเรียงตรงข้ามกัน ปลายใบแหลมความยาวราวๆ 4-12 เซนติเมตร โคนใบเรียวสอบ มีขนนุ่มสั้นกระจายอยู่ด้านล่างของแผ่นใบมีขนแข็งขึ้นบริเวณขอบใบ ก้านใบยาวราวๆ 2.5 เซนติเมตร
  • ผล เป็นแคปซูลรูปไข่แกมขอบขนาน ยาวราวๆ 1.5-2 เซนติเมตร มีจะงอยอยู่ที่ปลาย มีเมล็ดแบนอยู่ภายในผล เมล็ดยาวราวๆ 5-7 มิลลิเมตรเป็นรูปไข่ มีขนคล้ายไหมแบนราบ

สรรพคุณและประโยชน์ของอังกาบหนู

1. ใช้เป็นยาแก้ไข้ข้ออักเสบได้(ทั้ง 5 ส่วน)
2. ใช้ในการทาแก้กลากเกลื้อนได้โดยการใช้รากหรือใบมาผสมกับน้ำมะนาว(ใบ, ราก)
3. ใบ ใช้ในการแก้พิษงูได้
4. ใบ ใช้แก้และป้องกันอาการท้องผูกได้
5. ใช้ในการรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้โดยใช้ใบผสมกับน้ำผึ้ง (ใบ)
6. นำรากของดอกอังกาบสีเหลืองตากแห้งมาต้มเป็นยาดื่มจะช่วยในการขับเสมหะได้(ราก)
7. ช่วยในการบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยเจริญธาตุไฟได้ดีด้วยการใช้ดอกอังกาบนำมาตากแห้งใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพร(ราก, ดอก)
8. สารสกัดจากรากใช้ในการคุมกำเนิด เนื่องจากสามารถรบกวนการสร้างสเปิร์ม ลดจำนวนสเปิร์ม และทำให้การเคลื่อนไหวของสเปิร์มลดลงได้ โดยจะส่งผลต่อการสร้างสเปิร์มทำให้โครงสร้างและหน้าที่ของสเปิร์มผิดปกติไป ข้อมูลจากการทดลองในหนูเพศผู้นานติดต่อกัน 60 วัน พบว่าสามารถคุมกำเนิดได้ 100%(ราก)
9. ใช้ใบในการรักษาโรคปวดตามข้อ ช่วยแก้อัมพาต โรครูมาติซั่ม ใช้ทาแก้ปวดบวมหรือแก้อาการปวดหลังก็ได้(ใบ)
10. ราก สามารถใช้ทำเป็นยาแก้ฝีได้
11. ใบ ใช้รักษาโรคคันได้
12. ใช้รากแก้อาการอาหารไม่ย่อยได้(ราก)
13. ใช้ใบคั้น มาหยอดหูแก้อาการหูอักเสบได้(ใบ)
14. สามารถช่วยแก้อาการปวดฟันได้ โดยนำใบมาเคี้ยวแก้(ใบ)
15. ใช้ทำเป็นยาลดไข้ได้(ราก, ใบ) ใบคั้นสามารถนำมาทานแก้หวัดได้
16. ปลูกไว้ประดับตามสวน ปัจจุบันอังกาบดอกเหลืองนั้นหายากมาก
17. ใบ คั้นสามารถนำมาทาแก้ส้นเท้าแตกได้

สั่งซื้อ อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
1. สารานุกรมพืช สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช, ไทยรัฐออนไลน์ (นายเกษตร), หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, www.sirisombon.com (ครูบาไตรภพ), www.biogang.net (ใช้ข้อมูลจาก sisaket.go.th)
2. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.myupchar.com/
2. https://powo.science.kew.org/