ดาดตะกั่วเถา สมุนไพรตำรายาพื้นบ้านล้านนา

0
1375
ดาดตะกั่วเถา
ดาดตะกั่วเถา สมุนไพรตำรายาพื้นบ้านล้านนา เป็นพรรณไม้พุ่มเลื้อยหรือไม้เถาเลื้อยพาดพัน ต้นเกลี้ยงหรือมีขนนุ่ม มีมือเกาะเป็นสองง่าม บริเวณปลายกิ่งเป็นสีแดง ดอกสีขาว ผลกลมสีแดงมีเนื้อหนึ่งเมล็ด
ดาดตะกั่วเถา
ไม้พุ่มเลื้อยหรือไม้เถาเลื้อยพาดพัน ต้นเกลี้ยงหรือมีขนนุ่ม มีมือเกาะเป็นสองง่าม บริเวณปลายกิ่งเป็นสีแดง ดอกสีขาว ผลกลมสีแดงมีเนื้อหนึ่งเมล็ด

ดาดตะกั่วเถา

ดาดตะกั่วเถา มี ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cissus javana DC. และชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Cissus discolor Blume โดยจัดอยู่ในวงศ์องุ่น (VITACEAE)[1]
นอกจากนี้ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เอ็นเขา, คำแดง, หลังแดง, สะออบลาย, สะมึกริ๊ด (ลั้วะ) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะดาดตะกั่วเถา

  • ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มเลื้อยหรือไม้เถาเลื้อยพาดพัน
    – มีความยาวอยู่ประมาณ 2-10 เมตร
    – ลำต้นและกิ่งนั้นจะมีลักษณะเป็นสันตามยาว 5-6 สัน ไม่มีขนหรือมีขนนุ่ม
    – มีมือเกาะเป็นสองง่ามอยู่บริเวณปลายกิ่งและเป็นสีแดง[1],[3]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ
    – ใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนานแกมใบหอก
    – ปลายใบมน โคนใบตัด ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย
    – มีขนาดกว้างประมาณ 3-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร
    – ผิวใบด้านบนนั้นจะเป็นสีเขียวเข้ม มักมีแถบสีเขียวแกมเทาเป็นแถวคู่ตามยาว
    – ด้านล่างท้องใบจะเป็นสีแดงเข้ม มักมีขนสีขาวบริเวณเส้นใบ มีก้านใบเป็นสีแดง[1],[3]
  • ดอก เป็นช่อแบบช่อซี่ร่ม จะออกตรงซอกใบหรือปลายยอด
    – ก้านช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 0.6-4 เซนติเมตร และมีขน
    – ดอกย่อยก็มีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงเป็นพูตื้น ๆ ส่วนกลีบดอกเป็นสีเขียว
    – ปลายกลีบนั้นเป็นสีแดง รูปรี มีความยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร
    – เกสรเพศผู้มีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ[1],[3]
  • ผล เป็นผลสดแบบมีเนื้อหนึ่งเมล็ด
    – ขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร
    – ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมสีแดงเข้ม[1],[3]

สรรพคุณ

  • ใบ สามารถนำไปอังกับไฟแล้วนำมาขยี้ทาผิวหนังรักษาแผลตุ่มคัน (ใบ)[2]
  • ทั้งต้น สามารถนำมาทุบแล้วใช้ประคบบริเวณที่ปวดกระดูกร่วมกับยากริ๊ด (ลั้วะ) (ทั้งต้น)[2]
  • ตำรายาพื้นบ้านล้านนานั้นมีการใช้ใบสดขยี้ทาแก้กลากเกลื้อน (ใบ)[1]

ประโยชน์

  • สามารถใช้ปลูกเป็นไม้ดอก ไม้ประดับได้[3]
  • ชาวลั้วะนั้นจะใช้เครือมามัดคล้องคอวัวควายที่ถูกตัวทักแถ้เข้าไปในจมูก โดยเชื่อว่าจะทำให้ตัวทักแถ้หลุดออกมา ซึ่งจะใช้คาถาร่วมด้วย[2]

สั่งซื้อเนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ดาด ตะกั่ว เถา”. หน้า 68.
2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ดาด ตะกั่ว เถา, คำแดง”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [24 ธ.ค. 2014].
3. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ดาด ตะกั่ว เถา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [24 ธ.ค. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.nparks.gov.sg/
2.https://efloraofindia.com/