กุ่มบก
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบรูปไข่ออกเรียงสลับ ดอกเป็นช่อกระจุกสีขาวเหลืองจนเป็นสีชมพู ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีน้ำตาลแดง

กุ่มบก

กุ่มบก เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และตามเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด การปักชำ และการตอนกิ่ง ในไทยพบได้ที่จังหวัด กระบี่ ชุมพร ระนอง และพังงา ชื่อสามัญ Sacred garlic pear, Temple plant ,Sacred barnar,Caper tree ชื่อวิทยาศาสตร์ Crateva adansonii DC. อยู่ในวงศ์ (CAPPARACEAE หรือ CAPPARIDACEAE) ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ เดิมถะงัน ทะงัน (เขมร),ผักกุ่ม,กุ่ม,กะงัน,ผักก่าม,สะเบาถะงัน,ก่าม (ภาคอีสาน)เป็นต้น

ลักษณะของกุ่มบก

  • ต้นกุ่ม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5-10 เมตรกิ่งก้านมักคดงอ เปลือกต้นหนา เปลือกต้นมีสีน้ำตาลอมเทา ผิวค่อนข้างเรียบ เนื้อไม้ละเอียดมีสีขาวปนเหลือง อาจมีรอยแตกตามขวาง
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ใบเป็นรูปไข่รูปร่างค่อนข้างกลม ออกเรียงสลับ มีความกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7.5-11 เซนติเมตร โคนใบสอบ ส่วนที่อยู่ด้านข้างโคนใบจะเบี้ยว ขอบใบเรียบ ผิวใบมันเป็นสีเขียว แผ่นใบค่อนข้างหนา ก้านใบร่วมยาว 7-9 เซนติเมตร
    มีเส้นแขนงของใบข้างละ 4-5 เส้น ที่ก้านใบย่อยยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร
  • ดอก เป็นแบบช่อกระจุกออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกมี 4 กลีบ เป็นสีขาวแล้วจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือ สีชมพูอ่อน กลีบเป็นรูปรีปลายมน กว้างประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.2-1.8 เซนติเมตร ก้านดอกมีความยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร โดยมีเกสรตัวผู้สีม่วงอยู่ประมาณ 15-22 อัน ส่วนก้านชูเกสรตัวเมียมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร รังไข่มีลักษณะค่อนข้างกลมหรือรี มี 1 ช่อง ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ดอกจะออกประมาณ เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม
  • ผล มีลักษณะกลมหรือเป็นรูปไข่ เปลือกแข็ง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกมีสีน้ำตาลแดง ก้านผลกว้างประมาณ 2-4 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 5-13 เซนติเมตร ใน 1 ผลจะมีหลายเมล็ด
  • เมล็ด รูปไต ผิวเรียบ กว้าง 2 มิลลิเมตร ยาว 6 มิลลิเมตร

สรรพคุณของกุ่มบก

1. สามารถใช้เปลือกต้น มาลดพิษของงูได้ในขณะที่ถูกงูกัด (เปลือกต้น)
2. ราก มีสรรพคุณในการช่วยขับหนองได้
3. สามารถช่วยแก้โรคผิวหนังได้ โดยการนำเปลือกมาใช้เป็นยาทาภายนอก(เปลือกต้น, ใบ)
4. แก่น สามารถช่วยแก้ริดสีดวงทวารผอมเหลืองได้
5. เปลือกต้น สามารถช่วยในการขับน้ำดีได้
6. มีสรรพคุณในการ รักษาโรคนิ่วและช่วยในเรื่องของการขับปัสสาวะ(เปลือกต้น)
7. ใบสามารถช่วยในการขับพยาธิ หรือฆ่าแม่พยาธิได้(ใบ)
8. เปลือกต้นมีคุณสมบัติเป็นยาระบาย (เปลือกต้น)
9. สามารถรักษาอาการท้องผูกได้ โดยการใช้ผลกุ่มมาทำเป็นยา(ผล)
10. สามารถใช้ดอกในการรักษาอาการเจ็บคอได้(ดอก)
11. มีสรรพคุณในการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน (เปลือกต้น)
12. สามารถนำใบมาดองกับน้ำ กินช่วยแก้ลมได้ (ใบ)
13. มีสรรพคุณในการแก้ไข้ตัวร้อนได้ (ใบ, ดอก, เปลือกต้น)
14. แก่น สามารถช่วยบำรุงเลือดในร่างกาย
15. สามารถนำเปลือกต้น มาทำเป็นยาบำรุงประสาท หรือยาระงับประสาทได้ (เปลือกต้น)
16. เปลือกต้น สามารถช่วยคุมธาตุในร่างกายได้ เนื่องจากมีรสร้อน
17. ใช้ทำเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย ด้วยการนำรากมาแช่น้ำ(ราก)
18. ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ อาการปวด และโรคบิดได้ ด้วยการนำใบกุ่มมาลนไฟ จากนั้นเอาไปใช้ปิดหู(ใบ)
19. สามารถนำเปลือกและใบกุ่ม มาถูนวดเพื่อให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นๆได้(ใบ, เปลือกราก)
20. สามารถใช้ใบกุ่มในการแก้กลากเกลื้อนได้ โดยใช้ใบนำมาตำทาบริเวณที่เป็น(ใบ)
21. เปลือกต้น มีสรรพคุณในการแก้อาการบวมได้
22. เปลือกต้น สามารถช่วยในการขับน้ำเหลืองได้
23.เปลือกต้นและเปลือกต้น ช่วยในการแก้โรคนิ่วหรือขับนิ่วได้
24. แก่น สามารถช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวารได้
25. สามารถรักษาอาการปวดมวนท้อง การปวดท้อง แก้ลงท้องได้ โดยการใช้เปลือกกุ่มมาทำ(เปลือกต้น)
26. มีสรรพคุณในการช่วยย่อยอาหารได้ โดยเปลือกต้นจะมากระตุ้นลำไส้(เปลือกต้น)
27. สามารถช่วยขับลมในลำไส้ได้ (ใบ,เปลือกต้น)
28. มีสรรพคุณในการแก้อาการสะอึกได้(เปลือกต้น)
29. กระพี้สามารถช่วยขับอุจจาระแห้งได้ (กระพี้)
30. สามารถช่วยในการขับเหงื่อได้ดี(ใบ)
31. ช่วยทำให้เจริญอาหารได้ โดยการนำดอกและยอดอ่อนมาดอง ทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ดอก, ใบ, เปลือกต้น)
32. สามารถช่วยบำรุงหัวใจได้ โดยการใช้ใบมาต้มกับน้ำดื่ม(ใบ, เปลือกต้น)
33. มีความสามารถในการช่วยบำรุงธาตุไฟในร่างกายได้ (เปลือกต้น)
34. รากสามารถช่วยแก้มานกษัยอันเกิดแต่กองลมได้

ประโยชน์ของกุ่มบก

  • มีความเชื่อว่า เป็นไม้มงคลสามารถปลูกเพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับผู้อยู่อาศัยในบ้านเรือนได้
    โดยมักจะปลูกไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวบ้าน
  • สามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้ เนื่องจาก ต้นกุ่มเป็นไม้เนื้ออ่อนโตเร็ว มีทรงพุ่มสวยงาม ดอกและใบมีความงดงาม
  • ชาวฮินดูจะเรียกว่า “มารินา” ตามพุทธประวัติกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จไปซักผ้าบังสุกุลที่ห่อศพนางบุณณทาสี ในอามกสุสาน (ป่าช้าผีดิบ) แล้วนำไปซัก จากนั้นก็หาที่ที่จะตากผ้าบังสุกุลนี้ พฤกษเทวดาซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ต้นกุ่มบก ได้โน้มกิ่งให้ต่ำลงมา เพื่อให้เป็นที่ตากจีวร
  • คนไทยสมัยก่อนมักปลูกไว้เป็นอาหารและเป็นยาสมุนไพรรักษาโรค โดยใช้ ดอก,ใบ,ผล,เปลือกต้น,กระพี้,แก่น,ราก และเปลือกราก มาใช้เป็นยาสมุนไพร

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

แหล่งอ้างอิง
1. เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 187 (เดชา ศิริภัทร), เว็บไซต์กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, เว็บไซต์เขื่อนภูมิพล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
2. https://medthai.com

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.flickr.com
2. https://efloraofindia.com