ต้นลำโพงกาสลัก สรรพคุณใช้ฝนทาแก้ปวดบวม แก้พิษร้อน แก้อักเสบ

0
1360
ต้นลำโพงกาสลัก สรรพคุณใช้ฝนทาแก้ปวดบวม แก้พิษร้อน แก้อักเสบ เป็นไม้ล้มลุก ดอกเดี่ยวสีม่วง ผลเป็นสีเขียวอมสีม่วง ค่อนข้างกลม เมล็ดแบนคล้ายกับเมล็ดมะเขือ
ต้นลำโพงกาสลัก
ไม้ล้มลุก ดอกเดี่ยวสีม่วง ผลเป็นสีเขียวอมสีม่วง ค่อนข้างกลม เมล็ดแบนคล้ายกับเมล็ดมะเขือ

ลำโพงกาสลัก

ลำโพงกาสลัก มีลักษณะสีแดงเกือบดำ มีดอกเป็นสีม่วงและเป็นชั้น ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Datura metel L. (Datura metel var. fastuosa (L.) Saff.) (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Datura fastuosa L.) อยู่วงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)[1],[2],[3] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ลำโพงดำ, กาสลัก, มะเขือบ้าดอกดำ (จังหวัดลำปาง), ลำโพงแดง, ลำโพงกาลัก (จังหวัดชุมพร, จังหวัดสุราษฎร์ธานี)[1],[2],[3] ในไทยนิยมใช้ทำยามีอยู่ 2 ชนิด คือ ลำโพงกาสลัก และ ลำโพงขาว (ต้นมีลักษณะเขียว และดอกเป็นสีขาว) ด้านการทำยานิยมใช้ดอกสีม่วงดำ ยิ่งมีชั้นเยอะก็จะยิ่งมีฤทธิ์แรง[3]

ลักษณะของต้นลำโพงกาสลัก

  • ต้น เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุหลายปี ต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร กิ่งก้านมีลักษณะเป็นพุ่ม ที่ตามลำต้นกับกิ่งก้านจะเป็นสีม่วง[1]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับกัน ใบเป็นรูปไข่ ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะมนและขนาดไม่เท่ากัน ขอบใบจะจักเป็นซี่ฟันห่าง ใบกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร[1],[3]
  • ดอก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว จะออกดอกที่ตามซอกใบ กลีบดอกมีลักษณะเป็นสีม่วง ที่ปลายกลีบจะบานเป็นรูปแตร ส่วนที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมกัน มีกลีบซ้อนกันอยู่ 2-3 ชั้น ดอกมีความยาวประมาณ 3.5-5.5 นิ้ว กลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นสีเขียวติดเป็นหลอด มีความยาวประมาณครึ่งหนึ่งของดอก[1],[3]
  • ผล เป็นสีเขียวอมสีม่วง ผลเป็นรูปทรงค่อนข้างกลม ขนาดประมาณ 1-1.5 นิ้ว ผิวผลจะเป็นขนคล้ายกับหนามเป็นตุ่ม เนื้ออ่อนจะเป็นตุ่มรอบ มีลักษณะขั้วเป็นแผ่นกลมหนาริมคม ผลแห้งสามารถแตกได้ มีเมล็ดอยู่ในผลเยอะ
  • เมล็ด ลักษณะกลมแบนคล้ายกับเมล็ดมะเขือ[1],[3]

สรรพคุณลำโพงกาสลัก

1. น้ำมันที่ได้จากเมล็ดจะมีรสเมาเบื่อ สามารถนำมาใช้ปรุงเป็นยาใส่แผล แก้เหา กลากเกลื้อน ผื่นคัน และหิดได้ (น้ำมันจากเมล็ด)[3]
2. สามารถนำใบมาใช้เป็นยาทาแก้อักเสบเต้านมได้ (ใบ)[3]
3. น้ำที่คั้นได้จากต้น ถ้านำมาใช้หยอดตาจะช่วยทำให้ม่านตาขยายได้ (ต้น)[3]
4. เมล็ดจะมีรสเมาเบื่อ สามารถเอามาคั่วให้หมดน้ำมัน ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้กระสับกระส่าย และแก้ไข้ได้ (เมล็ด)[3]
5. นำดอกมาหั่นแล้วเอาไปตากแดดผสมยาสูบ สามารถใช้สูบแก้การบีบตัวของหลอดลม แก้อาการหอบหืด(ดอก)[1],[2],[3]
6. ใบจะมีสรรพคุณที่ช่วยขยายหลอดลม แก้หอบหืดได้ (ใบ)[3]
7. สามารถนำเมล็ดมาหุงทำน้ำมันเอาใส่แผล ใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อนผื่นคันได้ (เมล็ด)[1],[2]
8. ใบกับยอด มีสารอัลคาลอยด์ที่มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ สามารถช่วยแก้อาการปวดเกร็งท้อง (ใบกับยอด)[3]
9. ใบ มีฤทธิ์กดสมอง มีสรรพคุณที่ช่วยแก้อาการอาเจียนเนื่องจากเมาเรือเมารถได้ (มีอาการข้างเคียงก็คือ จะทำให้คอแห้ง ปากแห้ง) (ใบ)[3]
10. ใบ มีรสขมเมาเบื่อ จะมีสรรพคุณที่ช่วยแก้สะอึกในไข้พิษกาฬได้ (ใบ)[3]
11. สามารถนำรากมาสุมให้เป็นถ่านใช้ปรุงเป็นยาไข้กาฬ ไข้เซื่องซึมแก้ไข้พิษได้ (ราก)[1],[3]
12. ราก มีรสหวานเมาเบื่อ สามารถนำมาฝนทาใช้แก้ปวดบวม แก้พิษร้อน แก้อักเสบ ดับพิษฝีได้ (ราก)[1],[3] นำเมล็ด 30 กรัม มาทุบให้พอแหลก แล้วเอาไปแช่น้ำมันพืชเป็นเวลาประมาณ 7 วัน แล้วนำมาใช้ที่ที่มีอาการขัดยอก ปวดเมื่อย สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ และก็สามารถนำมาใช้ใส่ฟันที่เป็นรูได้จะบรรเทาอาการปวด (เมล็ด)[3]
13. นำดอกไปตากแห้งแล้วเอามาผสมกับยาเส้นสูบ สามารถช่วยแก้ริดสีดวงจมูก แก้โพรงจมูกอักเสบได้ (ดอก)[3]
14. นำใบสดมาตำพอกฝี สามารถช่วยทำให้ฝียุบ และแก้อาการปวดบวมอักเสบได้ (ใบ)[1],[2],[3]
15. ทั้งต้น มีฤทธิ์ที่เป็นยาเสพติด สามารถแก้อาการเกร็ง ช่วยระงับอาการปวดได้ (ทั้งต้น)[1],[3]
16. ราก มีรสหวานเมาเบื่อ สามารถใช้ฝนทาแก้ปวดบวม แก้พิษร้อน แก้อักเสบ และดับพิษฝีได้ (ราก)[1],[3]
17. สามารถนำใบมาใช้เป็นยาพอกแก้พิษจากสัตว์กัดต่อย ปวดแสบบวมที่แผล แก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน แก้แผลเรื้อรัง แก้พิษฝี (ใบ)[3]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • มีสารอัลคาลอยด์ Hyoscine และสาร Hyocyamine ซึ่งอาการข้างเคียงก็คือ จะทำให้คอแห้ง ปากแห้ง[2]
  • ใบกับยอด มีสารอัลคาลอยด์ Hyoscine กับสาร Hyocyamine ที่มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ สามารถใช้แก้หอบหืด ช่วยขยายหลอดลม แก้อาการปวดท้องเกร็งได้[2]
  • มีสารอัลคาลอยด์ Hyoscine ซึ่งมีฤทธิ์กดสมอง ใช้ควบคุมอาการอาเจียนที่เกิดจากเมารถได้[2]

พิษของต้นลำโพงกาสลัก

  • ผลกับเมล็ดเป็นพิษ จะมีสารอัลคาลอยด์ hyoscine กับสาร hyoscyamine ถ้าทานเข้าไป อาการข้างต้น ก็คือ รู้สึกสับสน มีอาการไข้ขึ้นสูง ผิวหนังร้อนแดง สายตาพร่ามัว ปากแห้ง การทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติ ปวดศีรษะ มีผื่นแดงที่ตามใบหน้า คอ หน้าออก ม่านตาขยายและปรับสายตาไม่ได้ ทำให้ตาไม่สู้แสง กระหายน้ำมาก ถ้าได้รับในปริมาณเยอะ ๆ จะทำให้มีอาการวิกลจริต เพ้อคลั่ง เคลิ้มฝัน และมีอาการทางจิตและประสาท ตัวเขียว หายใจได้ช้าลง ตาแข็ง ตื่นเต้น หายใจได้ไม่สะดวก พูดไม่ออก เมื่อแก้พิษแล้ว จะยังมีอาการวิกลจริตตลอดไป เนื่องจากรักษาไม่ค่อยหาย[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ลำโพง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [30 พ.ค. 2014].
2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ลำโพง กาสลัก (Lam Phong Ka Salak)”. หน้า 270.
3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ลำโพง กาสลัก”. หน้า 99.
4.  https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.invasive.org/
2. https://www.etsy.com/