ซาก
ซาก หรือพันซาด ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythrophleum succirubrum Gagnep. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Erythrophleum teysmannii var. puberulum Craib)[1] จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)[4],[5]
ชื่อเรียกอื่น ๆ ผักฮาก (ภาคเหนือ), ชาด พันชาด ไม้ชาด ซาด พันซาด (ภาคอีสาน), ตะแบง (อุดรธานี), ซาก คราก (ชุมพร), ตร้ะ (ส่วย-สุรินทร์), เตรีย (เขมร-สุรินทร์)[1],[2],[3],[4]
ลักษณะของต้นซาก
- ต้น [1],[2],[4],[5]
– เป็นไม้ผลัดใบยืนต้นขนาดใหญ่
– เรือนยอดเป็นพุ่มกลม
– ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณได้ถึง 20-35 เมตร
– ลำต้นมีขนาดใหญ่
– ออกใบเยอะจนหนาทึบ
– เปลือกลำต้นเป็นสีดำ แตกเป็นร่องค่อนข้างลึกตามยาวและตามขวางของลำต้น
– เนื้อไม้ด้านในเป็นสีขาว
– แก่นกลางไม้มีเนื้อแข็งเป็นสีน้ำตาล
– กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุมเล็กน้อย
– สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง
– เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดด
– สามารถพบขึ้นได้ตามป่าราบและป่าผลัดใบ
– สามารถพบได้มากในจังหวัดนครราชสีมา หรือทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และทางภาคใต้ตอนบน - ใบ [1],[3],[5]
– ใบมีรูปร่างคล้ายกับใบมะค่าหรือใบประดู่
– เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น
– ออกเรียงสลับกัน
– มีช่อใบด้านข้าง 2-3 คู่
– ในช่อใบมีใบย่อยประมาณ 8-16 คู่ ออกเรียงสลับกัน
– ใบเป็นรูปไข่ รูปใบหอก รูปหัวใจ หรือรูปข้าวหลามตัด
– ปลายใบมน
– โคนใบสอบหรือเบี้ยว
– ขอบใบเรียบ
– ใบมีความกว้าง 2-5 เซนติเมตร และมีความยาว 3-10 เซนติเมตร
– แผ่นใบเป็นสีเขียวสด
– ผิวท้องใบมีขนสั้น ๆ ปกคลุม
– มีเส้นแขนงใบข้างละประมาณ 5-7 เส้น
– ก้านใบย่อย มีความยาว 2-3 มิลลิเมตร - ดอก [1],[3],[5]
– ออกดอกเป็นพุ่มหรือจะออกเป็นช่อยาวใหญ่
– จะออกดอกตามซอกใบใกล้กับปลายกิ่ง
– จะมีช่อดอก 1-3 ช่อต่อหนึ่งซอกใบ
– มีดอกย่อยจำนวนมากอยู่ตามแกนดอก
– ดอกเป็นสีเหลือง สีเหลืองนวล หรือสีขาวปนเหลืองอ่อน
– ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันเป็นรูปถ้วยสีเขียว
– ขอบถ้วยแยกเป็นแฉก 5 แฉก
– กลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นรูปใบพายแคบ ๆ สีเขียวแกมขาวติดกันเล็กน้อยที่ฐาน
– กลีบดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีความกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร
– ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน
– เกสรเพศเมียมี 1 อัน
– สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
– จะออกดอกพร้อมกับการผลิใบอ่อน
– ดอกจะมีกลิ่นเหม็นคล้ายกับกลิ่นซากเน่าตายของสัตว์ จึงถูกเรียกชื่อว่า “ต้นซาก“ - ผล [1],[2],[3],[5]
– ผลจะออกเป็นฝัก
– ฝักจะรูปร่างกลมคล้ายกับฝักประดู่
– มีความกว้าง 2-3.5 เซนติเมตร และยาว 10-20 เซนติเมตร
– มีเมล็ดประมาณ 5-8 เมล็ดต่อฝัก
– เมล็ดมีรูปร่างกลมและแบน
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของซาก
- สารสกัดจากลำต้นของซากด้วย 50% แอลกอฮอล์[5]
– มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
– ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
– มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ทั้งในภาวะที่มีและไม่มีการทำงานของเอนไซม์ร่วมด้วย
– ไม่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยตรง
– สามารถกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดที่เซลล์
– มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย S. aureus (เชื้อที่ทำให้เกิดโรคแผลฝีหนอง)
– มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Shigella (เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคบิด)
– มีฤทธิ์ต้านเชื้อ V. cholerae (เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคอหิวาตกโรค) ที่ความเข้มข้น ≤ 0.78 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร
– มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Salmonella ที่ความเข้มข้น 1.56 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร
– มีฤทธิ์ต้านเชื้อ E. coli และ Ps. aeruginosa ที่ความเข้มข้น 6.25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร
– มีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคกลาก ที่ความเข้มข้น 4 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร
– มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสเริม Herpes simplex virus type 1
– มีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งตับปานกลาง
– สามารถชักนำการตายของเซลล์มะเร็งตับแบบอะพอพโทซิต่ำเมื่อเซลล์ได้รับสารสกัดนาน 1 วัน - มีสารในกลุ่มแนนนินส์ ฟลาโวนอยด์ อัลคาลอยด์ และคาร์ดิแอคไกลโคไซด์เป็นองค์ประกอบ[5]
- จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์[4]
– มีฤทธิ์ในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ กระตุ้นหัวใจ
– กระตุ้นการหดตัวและคลายของกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อลาย
– เพิ่มความดันโลหิต และเป็นพิษต่อหัวใจ อาจทำให้ตายได้
พิษของต้นซาก
- ส่วนที่เป็นพิษของต้นซาก[2]
– เปลือกไม้
– เนื้อไม้
– ราก
– ใบ
– สารที่เป็นพิษของต้นซาก[2]
– เป็นสารในกลุ่ม alkaloids คือ
– acetylcassaidine
– cassainecassaidine
– coumingine
– coumidine
– erythrophleine, ivorine - สาเหตุในการเกิดพิษ
– ส่วนมากจะเป็นความเข้าใจผิดว่าเมล็ดของซากเป็นเมล็ดของไม้แดง - อาการของพิษ[2]
– ในอาการแรกจะเริ่มเมื่อกินเมล็ดเข้าไป มีอาการอาเจียน อาการจะเกิดขึ้นหลังการกินเข้าไปประมาณ 30-60 นาที จากนั้นจะมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ต่อมาจะมีผลต่อระบบประสาท อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ - การรักษาพิษ[2]
– ควรรีบให้สารน้ำ, NaHCO3, atropine และ dopamine เข้าหลอดเลือดดำ
– ทำการให้ออกซิเจน
ข้อควรระวัง[3]
- หากนำมารับประทานเดี่ยวหรือต้มกับน้ำดื่มอาจจะทำให้เสียชีวิตได้
- ก่อนนำมาปรุงเป็นยาจึงต้องนำเนื้อไม้มาเผาให้เป็นถ่านก่อน เพื่อทำลายพิษให้หมดไป
- ด้วยความเป็นพิษของต้น ในบรรดามิจฉาชีพจึงนำเอาไปใช้ในทางที่ไม่ดี
- ทำให้ต้นไม่เป็นที่นิยมในการปลูกและหาได้ยากในปัจจุบัน
ตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้รับพิษ
- เด็กหญิงอายุ 12 ปี[2]
ได้รับประทานเมล็ด 3 เมล็ด 1 ชั่วโมงก่อนมาถึงโรงพยาบาล หลังรับประทานเด็กมีอาการอาเจียนหลายครั้ง ปวดท้อง วิงเวียนศีรษะ ผลการตรวจร่างกายพบว่า มีอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ความดันโลหิต 130/90 มิลลิเมตรปรอท หายใจ 24 ครั้งต่อนาที ชีพจรเต้น 94 ครั้งต่อนาที ต่อมาผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ผู้ป่วยกลับบ้านได้ในวันที่ 3 ของการรักษา - เด็ก 4 คน อายุประมาณ 10 ขวบ[2]
ได้กินเมล็ดเข้าไปตั้งแต่ตอนเที่ยงจนถึงเวลา 9 โมงเช้าของวันรุ่งขึ้น ได้พาเด็กมาโรงพยาบาล เนื่องจากเด็กมีอาการอ่อนเพลียมากเกือบไม่รู้ตัว มีอาการหอบ และเสียชีวิต 1 คน ในขณะที่มาถึงโรงพยาบาลได้ประมาณ 5-10 นาที ก่อนจะได้รับการรักษา ผลการตรวจร่างกายพบว่า เด็กไม่ค่อยรู้สึกตัว มีอาการหอบ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอม่านตาหดเล็กมาก เด็กอีก 3 คนที่เหลือได้ทำการรักษาแบบประคับประคองไปตามอาการ ผลการรักษาหายเป็นปกติ
– จากการสอบถามเด็กที่รอดชีวิตพบว่าได้กินเมล็ดเข้าไปคนละประมาณ 2-3 เมล็ดเท่านั้น - เด็กหญิงอายุ 6 ปี[2]
ได้รับประทานเมล็ด 2 เมล็ด ในภายหลังการรับประทานเด็กมีอาการอาเจียนหลายครั้งและซึมลง
จึงมารับการรักษาที่โรงพยาบาล ผลการตรวจร่างกายพบว่า อุณหภูมิของร่างกายเป็นปกติ ความดันโลหิต 100/60 มิลลิเมตรปรอท หายใจ 40 ครั้งต่อนาที ชีพจรเต้น 100 ครั้งต่อนาที ผู้ป่วยมีอาการซึมลงเล็กน้อย
หายใจไม่สม่ำเสมอ หัวใจเต้นเร็วเป็นจังหวะอย่างสม่ำเสมอ วันต่อมาผู้ป่วยรู้สึกตัวดี สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ - เด็กอายุ 5 ปี[2]
ได้รับประทานเมล็ดประมาณ 10-15 เมล็ด ผ่านไป 7 ชั่วโมงก่อนจะมาถึงโรงพยาบาล หลังรับประทานไปได้ 30 นาที เด็กมีอาการอาเจียนหลายครั้งและซึมลง เมื่อตรวจร่างกายพบว่าอุณหภูมิเท่ากับ 36.8 องศาเซลเซียส
ความดันโลหิต 80/50 มิลลิเมตรปรอท หายใจ 40 ครั้งต่อนาที ชีพจรเต้น 50 ครั้งต่อนาที หายใจไม่สม่ำเสมอหัวใจเต้นช้าและจังหวะไม่สม่ำเสมอแพทย์ทำการรักษาผู้ป่วยโดยให้สารน้ำ NaHCO3 atropine และ dopamine เข้าทางหลอดเลือดดำ และทำการให้ออกซิเจน ผลการรักษาพบว่าหัวใจของผู้ป่วยเต้นช้าอยู่ตลอดเวลา ผู้ป่วยมีอาการซึมลงเรื่อย ๆ 3 ชั่วโมงต่อมาเริ่มหายใจช้าลง ความดันโลหิตลด และได้เสียชีวิตในที่สุด - เด็กชายอายุ 3 ปี[2]
ได้รับประทานเมล็ด ประมาณ 15 เมล็ด ผ่านไป 12 ชั่วโมงก่อนจะมาถึงโรงพยาบาล หลังการรับประทานไปได้ 30 นาที เด็กมีอาการอาเจียนหลายครั้ง ปวดท้อง ผลการตรวจของแพทย์พบว่าเด็กมีอาการซึมเล็กน้อย ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ มีอุณหภูมิของร่างกายปกติ ความดันโลหิต 100/100 มิลลิเมตรปรอท หายใจ 32 ครั้งต่อนาที
ชีพจรเต้นเบาเร็วไม่สม่ำเสมอ หัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์ทำการรักษาผู้ป่วยโดยให้สารน้ำและ NaHCO3 เข้าทางหลอดเลือดดำ ให้ออกซิเจน 30 นาที ต่อมาผู้ป่วยมีอาการหมดสติและหัวใจหยุดเต้น คลื่นหัวใจมีลักษณะ cardiac standstill ไม่ตอบสนองต่อการรักษา ผู้ป่วยได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา - เด็กชายอายุ 2 ปี[2]
– มีประวัติรับประทานเมล็ดพร้อมผู้ป่วยรายที่ 1 รับประทานเพียงแค่ 3-4 เมล็ด หลังการรับประทานไปได้ 30 นาที เด็กมีอาการอาเจียนประมาณ 3-4 ครั้ง มีอาการปวดท้อง ผลการตรวจของแพทย์พบว่าเด็กมีอาการซึมลงเล็กน้อย ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ อุณหภูมิของร่างกายเป็นปกติ ความดันโลหิต 90/50 มิลลิเมตรปรอท หายใจ 32 ครั้งต่อนาที ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นประมาณ 100 ครั้งต่อนาที แพทย์ทำการรักษาโดยให้สารน้ำเข้าทางหลอดเลือดดำ วันต่อมาผู้ป่วยรู้สึกตัวดีขึ้น สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ และผู้ป่วยกลับบ้านได้ในวันที่ 3 ของการรักษา
สรรพคุณของซาก
– ช่วยแก้ไข้สันนิบาต[4]
– ช่วยดับพิษโลหิต[4]
– ถ่าน ช่วยแก้โรคผิวหนัง[4]
– ถ่าน ช่วยแก้พิษไข้ แก้อาการเซื่องซึม[1]
– ถ่าน ช่วยดับพิษตานซาง[4]
– ถ่าน ช่วยแก้โรคเกี่ยวกับเด็กได้[1]
– ลำต้น ช่วยแก้ไข้ที่มีพิษร้อน กระสับกระส่าย[4]
– ลำต้น ช่วยแก้ไข้เซื่องซึม[4]
ประโยชน์ของซาก
- ต้น สามารถนำมาใช้ปลูกเพื่อเป็นไม้อนุรักษ์หรือปลูกเพื่อฟื้นฟูสภาพป่า[3]
- ต้น สามารถช่วยรักษาหน้าดินได้ดี เพราะเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่[3]
- เนื้อไม้ สามารถนำไปใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ ทำเสาอาคารบ้านเรือน เสาเข็มได้[3]
- แก่น สามารถนำมาใช้ทำด้ามขวานหรือเครื่องมือทางการเกษตร[4]
- เนื้อไม้ สามารถนำมาเผาให้เป็นถ่านได้ จะทำให้ไฟแรงได้ดี เรียกว่า “ถ่านทำทอง“[1]
- ชาวบ้านชนบทในสมัยก่อน จะตัดเอาต้นไปเผาทำถ่านบรรจุกระสอบขาย เนื่องจากเป็นถ่านที่ให้แรงและไม่มอดง่าย ทำให้ได้รับความนิยมมาก[3]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ซ า ก”. หน้า 280-281.
2. ระบบวินิจฉัยและการรักษาอาการอันเนื่องจากพืชพิษในประเทศไทย, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “หูปลาช่อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/. [14 ก.ย. 2014].
3. ไทยรัฐออนไลน์. (นายเกษตร). “ซ า ก กับที่มาชื่อประโยชน์และโทษ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaicrudedrug.com. [14 ก.ย. 2014].
4. ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ซ า ก, ชาด, พันชาด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.goldenjubilee-king50.com. [14 ก.ย. 2014].
5. โครงการจัดทำฐานข้อมูลพืชสมุนไพรที่สำรวจและวิจัยภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.), มหาวิทยาลัยขอนแก่น. “พันซาด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : home.kku.ac.th/orip2/thaiherbs/. [14 ก.ย. 2014].
6. https://medthai.com/
อ้างอิงรูปจาก
1. https://commons.wikimedia.org
2. https://www.malawiflora.com