โคลงเคลงขน สรรพคุณช่วยดับพิษไข้

0
1351
โคลงเคลงขน
โคลงเคลงขน สรรพคุณช่วยดับพิษไข้ เป็นไม้ดอกที่นิยมปลูกเพื่อความสวยงาม ดอกสีม่วง ขนสีขาว ผลเป็นรูปไข่ เนื้อผลเป็นสีแดงม่วง
โคลงเคลงขน
เป็นไม้ดอกที่นิยมปลูกเพื่อความสวยงาม ดอกสีม่วง ขนสีขาว ผลเป็นรูปไข่ เนื้อผลเป็นสีแดงม่วง

โคลงเคลงขน

โคลงเคลงขน เป็นสกุลในตระกูลโคลงเคลง Melastomataceae มีประมาณ 50 ชนิดกระจายอยู่ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อินเดียและออสเตรเลีย เป็นพรรณไม้ดอกที่ได้รับความนิยมปลูกเพื่อชมความสวยงามของดอกสีม่วง ตามลำต้นมีขนสีขาวปกคลุมทั่วทั้งลำต้นและกิ่ง นอกจากนั้นสามารถนำรากมาใช้เป็นยาดับพิษไข้ สามารถแก้ไข้ได้ทุกชนิด มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Desmoscelis villosa (Aubl.) Naudin (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Melastoma villosum Aubl.) (MELASTOMATACEAE)[1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น เบร้ (ภาคใต้), มะเร (ภาคใต้), พญารากขาว (ภาคกลาง), ม่ายะ (จังหวัดตราด), โคลงเคลง, เหมร (ภาคใต้), สาเหร่ (ภาคใต้), กะเร (ภาคใต้), เอ็นอ้า (จังหวัดอุบลราชธานี) [1],[2],[3]

ลักษณะต้นโคลงเคลงขน

  • ต้น เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สามารถสูงได้ถึงประมาณ 2-4 เมตร จะแตกกิ่งเยอะ เป็นพุ่มทรงพุ่มแน่นทึบ มีเปลือกลำต้นที่บางและเรียบ ยอดอ่อนกับกิ่งก้านจะเป็นสีน้ำตาลแดง จะมีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนยาวขึ้นอยู่ สามารถพบเจอขึ้นทั่วไปได้ที่บริเวณป่าชายเลนที่เป็นที่ดอนหรือในป่าชายเลนที่ถูกทำลาย[1],[2],[3]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปวงรีแกมรูปใบหอก รูปไข่แกมรูปใบหอก ที่ปลายใบจะแหลม ส่วนที่โคนใบจะสอบ ที่ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 1.2-2.3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร มีแผ่นใบที่มีขนนุ่มละเอียดขึ้นอยู่ทั้งสองด้าน แผ่นใบมีผิวสัมผัสที่สาก ผิวใบด้านบนนั้นมีลักษณะเป็นสีเขียวเข้มและมีขนขึ้นบาง ๆ ที่ท้องใบสีจะซีด มีเส้นใบอยู่ 3 หรือ 5 เส้น จะแตกจากที่โคนใบจรดที่ปลายใบ ก้านใบมีความยาวประมาณ 0.4-0.8 เซนติเมตร มีขนขึ้น[1],[2],[3]
  • ดอก ออกเป็นช่อกระจุกสั้น มีความยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ออกที่ปลายกิ่ง มีช่อดอกขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-6 เซนติเมตร ช่อนึงมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 3-6 ดอก ก้านดอกย่อยมีความยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร วงกลีบเลี้ยงมีความยาวประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร เป็นสีม่วงแดง จะมีขนปุยขึ้นอยู่ กลีบมีลักษณะเป็นสีม่วงอมสีชมพูหรือเป็นสีชมพู มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ กลีบจะไม่ติดกัน กลีบมีขนาดประมาณ 1.5-2.3 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้อยู่ 10 อัน มีขนาดใหญ่ 5 อัน จะมีก้านเป็นสีเหลืองกับสีม่วง ที่ส่วนบนจะโค้ง และมีขนาดเล็ก 5 อัน จะเป็นสีเหลือง มีลักษณะตรง[3]
  • ผล เป็นผลสด ผลเป็นรูปไข่ ผิวผลจะมีขนอยู่ เนื้อผลเป็นสีแดงม่วง ผลแก่จะแตกตามขวางไม่เป็นระเบียบ มีเมล็ดอยู่ในผลเป็นเมล็ดจำนวนมาก ออกดอกประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม และออกผลประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม[1],[2],[3]

สรรพคุณของโคลงเคลงขน

1. นำรากมาต้มน้ำผสมกับรากตับเต่าต้น หญ้าชันกาดทั้งต้น ใช้ดื่มเป็นยาแก้อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือดได้ (ราก)[1]
2. สามารถนำรากมาใช้เป็นยาบำรุงดีและตับ ไตได้ (ราก)[2]
3. สามารถนำรากมาใช้เป็นยาดับพิษไข้ สามารถแก้ไข้ได้ทุกชนิด (ราก)[1],[2]
4. สามารถนำรากมาใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำได้ (ราก)[1]
5. รากมีรสขม มีสรรพคุณที่เป็นยาบำรุงธาตุ แก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร เพิ่มภูมิต้านทานโรค บำรุงกำลัง (ราก)[2]
6. ในตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะนำต้นกับราก มาต้มกับข้าวสารเจ้า ใช้ทานครั้งเดียวในคืนวันเดือนดับ สามารถช่วยแก้คอพอกได้ (ต้นและราก)[1]
7. สามารถนำดอกมาใช้เป็นยาห้ามเลือดในคนที่เป็นริดสีดวงทวารได้ (ดอก)[2]
8. สามารถนำดอกมาใช้เป็นยาระงับประสาทได้ (ดอก)[2]
9.  ในตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะนำต้นกับราก มาต้มกับข้าวสารเจ้า ใช้ทานครั้งเดียวในคืนวันเดือนดับ สามารถช่วยแก้คอพอกได้ (ต้นและราก)[1]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 4 (สุราษฎร์ธานี). “ต้นโคลงเคลงขน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dmcr.go.th. [10 ม.ค. 2015].
2. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “โ ค ล ง เ ค ล ง ข น”. หน้า 151.
3. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “โคลงเคลง (Klong Khleng)”. หน้า 87.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.earth.com/plant-encyclopedia/angiosperms/melastomataceae/desmoscelis-villosa/th/
2.https://colombia.inaturalist.org/taxa/1432222-Rhynchanthera-serrulata