ชาอู่หลง
ชาอู่หลง (Oolong Tea) ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Camellia sinensis โดยชาทุกยี่ห้อที่นำมารับประทานเป็นชาที่จากพืชชนิดเดียวกันทั้งหมด เพียงแต่วิธีการหมักและกระบวนการผลิตนั้นแตกต่างกัน
กระบวนการผลิต
- เป็นชาที่ผ่านกระบวนการหมักยอดใบชาสดเพียงบางส่วน 10-80%
- นำใบชามาผึ่งแดดไว้ 20-40 นาที
- ทำให้อุณหภูมิของใบชาสูงขึ้นจนเกิดกลิ่นหอม
- นำไปผึ่งในที่ร่มอีกครั้ง
- ช่วยกระตุ้นให้ยอดชาตื่นตัว เร่งการหมัก
- นำยอดชาที่หมักนั้นมาทำให้แห้ง
- นิยมดื่มกันมากในแถบประเทศจีนตอนกลาง แถบมณฑลฝูเจี๋ยน กวางตุ้ง
- เป็นชาที่มีรสชาติเข้มข้นและมีกลิ่นหอม
- น้ำชาที่ได้จะมีสีแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต
- ในประเทศไทยได้มีการผลิตในแถบยอดดอยแม่สลอง ดอยวาวี จังหวัดเชียงราย
สารสำคัญที่พบ
- Oolong Tea polymerized-polyphenols หรือ OTPPs เป็นกลุ่มของสารโพลีฟีนอล
- เป็นสารที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสารกลุ่มคาเทชินมาจากกระบวนการกึ่งหมักของใบชา
- มีเอนไซม์โพลีฟีนอลออกซิเดสและความร้อนจากกระบวนการผลิตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
- สารในกลุ่มนี้จะมีผลต่อสี กลิ่น และรสชาติของชาอู่หลง
- ปริมาณของสารนั้นจะแตกต่างกันออกไปตามระดับของการหมัก
คำแนะนำในการชงชา
- ปริมาณใบชา
– หากใบชาที่ใช้ประเภททรงกลมแน่น ให้ใช้ชาประมาณ 25% ของกาชา
– เมื่อใบชาคลายเต็มที่ควรจะมีปริมาณ 90% ของกาชา
– ขึ้นอยู่กับคุณภาพของใบชา
– ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน ว่าต้องการให้ใช้มากหรือน้อย - อุณหภูมิน้ำ
– น้ำที่ใช้ชงไม่จำต้องใช้น้ำร้อนเกิน 100 องศาเซลเซียส
– อุณหภูมิ 80-90 องศาเซลเซียส เหมาะกับชาประเภทใบอ่อน
– อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียสขึ้นไป เหมาะกับชาประเภททรงกลมแน่น - เวลาในการชง
– ชาประเภททรงกลมแน่น ใช้เวลาในการชงครั้งแรก 45-60 วินาที
– หากชงครั้งต่อไป ให้เพิ่มเป็น 10-15 วินาทีต่อครั้ง - กาชาที่ใช้ชง
– กาที่ใช้ควรทำมาจากดินเผา
– กาดินเผาจะเก็บความร้อนได้ดีกว่า
– ให้การตอบสนองที่ดีกว่ากาที่ทำมาจากวัสดุแบบอื่น
วิธีการชงชาอู่หลง
- ใส่ใบชาลงไปในกาชา 1/6 – 1/4 ของปริมาตรกาชา
- รินน้ำเดือดลงในกาครึ่งหนึ่ง แล้วเทน้ำทิ้งทันที เพื่อเป็นการล้างและอุ่นใบชา
- ให้รินน้ำเดือดลงในกาชาอีกครั้งจนเต็ม แล้วปิดฝากาทิ้งไว้ 45-60 วินาที
- ทำเสร็จแล้วให้รินน้ำชาลงในแก้วดื่ม
- ในการรินแต่ละครั้ง จะต้องรินน้ำออกให้หมดจากกา
- น้ำชาที่เหลือในกาชามีรสขมและฝาด อาจทำให้เสียรสชาติได้
- ใบชาสามารถชงซ้ำได้ 4-6 ครั้ง
- ในการชงครั้งต่อไปให้เพิ่มเวลาครั้งละ 10-15 วินาที
รสชาติของชาอู่หลง
- กลิ่นหอมละมุนและชุ่มติดคอ
- ให้รสชาติที่เข้มกว่าชาเขียว
- มีความฝาดน้อยกว่าชาดำ
สรรพคุณของชาอู่หลง
- ช่วยชะลอวัย
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
- ช่วยต้านอาการอักเสบและบวม
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
- ช่วยต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุของโรค
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ช่วยลดการสะสมและช่วยควบคุมปริมาณของไขมันในเลือด
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคอ้วน
- ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไลเปส
- ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้อย่างมีนัยสำคัญ
- ช่วยเพิ่มการขับไขมันออกทางอุจจาระ
- ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญพลังงาน
ประโยชน์ของชาอู่หลง
- ช่วยเพิ่มกระบวนเมทาบอลิซึม (Metabolism)
– เป็นกระบวนการเผาผลาญพลังงาน
– มีรายงานว่าช่วยเพิ่มการเผาผลาญขณะพักในเวลา 120 นาที
– เหมาะสำหรับผู้ที่นิยมกินเนื้อสัตว์ และผู้ที่ต้องการลดระดับคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือดสูง - จากการศึกษาของ Rong-rong H และคณะ
– การบริโภคชาอู่หลงวันละ 8 กรัม ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ ทำให้น้ำหนักตัวลดลงมากกว่า 1 กิโลกรัม
– ไขมันที่สะสมในร่างกายลดลง 12% ทำให้เส้นรอบวงเอวที่ลดลง - จากการศึกษาของ Junichi N และคณะ
– การดื่มติดต่อกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ช่วยทำให้ไขมันในช่องท้องลดลง ไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ - จากการศึกษาของ Maekawa T และคณะ
– มีผลทำให้น้ำหนักตัวลดลง
– ดัชนีมวลกายลดลง
– มวลไขมันรวมในร่างกายลดลง
– ไขมันในช่องท้องลดลง
– เส้นรอบวงเอวลดลง
– เส้นรอบวงสะโพกลดลง
– ความหนาของชั้นไขมันใต้ผิวหนังลดลง - จากการศึกษาของ Nakamura J และคณะ
– การดื่มชาอู่หลง ช่วยลดไขมันสะสมในช่องท้องและขนาดรอบวงเอว - จากการศึกษาของประเทศจีน
– มีกลุ่มตัวอย่างเป็นคนอ้วนจำนวน 102 ราย เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างดื่มทุกวัน ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ พบว่าร้อยละ 22 ของกลุ่มตัวอย่างมีน้ำหนักตัวลดลงเกินกว่า 3 กิโลกรัม ส่วนที่ลดจะเป็นไขมันบริเวณพุงมากกว่าส่วนอื่น ๆ - จากรายงานของกองการป้องกันโรคและกองงานโภชนาการ ในกรมการแพทย์ของประเทศจีน
– มีฤทธิ์ยับยั้งสาร DEAN ที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด
– ยับยั้งสาร MNNG ที่เป็นสารก่อมะเร็งในกระเพาะอาหารและลำไส้ - จากการศึกษาวิจัยของชาวสหรัฐอเมริกา และได้มีการตีพิมพ์ลงในวารสาร Journal of Nutrition
– ช่วยในการล้างพิษ
– สามารถกำจัดอนุมูลอิสระที่ทำลาย DNA ในกระแสเลือดได้
คำแนะนำ
- ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
– ไม่ควรดื่มชาอู่หลงเพียงอย่างเดียว
– ควรใช้วิธีการอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น การออกกำลังกายอย่างเสมอ ควบคุมอาหาร - ควรซื้อแบบที่เป็น “ใบชาอู่หลง”
– นำมาชงดื่มเองจะได้รับประโยชน์ดีที่สุด
– ไม่แนะนำให้ซื้อแบบสำเร็จรูป - บุคคลที่ไม่ควรดื่ม
– ผู้ป่วยโรคไทรอยด์
– ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอักเสบ
– ผู้ที่เป็นโลหิตจาง
– ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ
– ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
– สตรีมีครรภ์
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ. “มารู้จัก ชา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : edtech.ipst.ac.th. [07 ส.ค. 2014].
2. ผู้จัดการออนไลน์. (วีณา นุกูลการ, เพ็ญนภา เจริญกิจวิวัฒน์). “OTPPs คุณประโยชน์จากชาอู่หลง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.manager.co.th. [07 ส.ค. 2014].
3. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 16 ก.ย. 2556. (ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ ประธานฝ่ายวิชาการ ชมรมโภชนวิทยามหิดล). “คุณค่าน่ารู้ของชาอู่หลง”.
4. วารสารสุขสาระ ฉบับเดือนมีนาคม 2556
5. Chin J Integr Med. (He RR, Chen L, Lin BH, Matsui Y, Yao XS, Kurihara H.). “Beneficial effects of oolong tea consumption on diet-induced overweight and obese subjects.”
6. Jpn Pharmacol Ther. (Nakamura J, Abe K, Ohta H and Kiso Y.). “Lowering Effects of the OTPP (Oolong Tea Polymerized Polyphenols) Enriched Oolong Tea (FOSHU “KURO-Oolong Tea OTPP) on Visceral Fat in Over Weight Volunteers.”
7. Jpn Pharmacol Ther. (Maekawa M, Teramoto T, Nakamura J, et al). “Effect of long-term Intake of “KURO-Oolong tea OTPP” on body fat mass and metabolic syndrome risk in over weight volunteers.”
8. https://medthai.com
อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.indiamart.com