พิมเสนต้น
พิมเสนต้น มีถิ่นกำเนิดที่ฟิลิปปินส์ อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย[4] ชื่อสามัญ Patchouly, Patchouli, Patchoulli [3],[4] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Pogostemon cablin (Blanco) Benth. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Pogostemon patchouli var. suavis (Ten.) Hook. f.) อยู่วงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)[1],[3] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ก่วงฮั่วเซียง (จีนกลาง), ใบอีหรม (ภาคใต้), ผักชีช้าง, ใบพิมเสน, ฮั่วเซียง (จีนกลาง), ใบหลม (ภาคใต้) [1],[6]
ลักษณะของต้นพิมเสนต้น
- ต้น เป็นไม้ล้มลุก ต้นสูงประมาณ 30-100 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง กิ่งก้านจะเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งก้านสาขาที่ยอดต้น ถ้าขยี้จะมีกลิ่นหอมฉุน ทั้งต้นจะมีขนสีเหลืองขึ้น ขยายพันธุ์โดยการตัดลำต้นปักชำ[1]
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ ที่ขอบใบจะเรียบ ใบกว้างประมาณ 1.5-4 เซนติเมตร มีขนาดยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ใบที่บริเวณโคนต้นจะเล็กกว่าตรงยอดต้น แผ่นใบทั้งสองด้านจะมีขนสีเทาอ่อนขึ้น โดยเฉพาะส่วนเส้นใบจะมีขนขึ้นเยอะ ก้านใบมีความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร[1]
- ดอก ออกเป็นช่อ ออกดอกที่ตามปลายกิ่งกับซอกใบ ช่อดอกมีความยาวประมาณ 2-8 เซนติเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร ดอกเป็นสีขาวอมม่วง เป็นรูปทรงกระบอก สามารถยาวได้ถึงประมาณ 6-8 มิลลิเมตร มีกลีบเลี้ยงหุ้ม 4 ใบ มีขนาดยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร กลีบดอกมีอยู่ 5 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 4 ก้าน[1]
- ผล ขนาดเล็กเป็นรูปไข่ยาวเป็นผลแห้ง ผลจะไม่แตก [1],[6]
ประโยชน์พิมเสนต้น
- น้ำพิมเสนที่กลั่นจากกิ่งกับใบที่กันเรียกว่า น้ำมันแพทชูลี (Patchouli oil) นิยมใช้ผสมน้ำอาบเพื่อระงับกลิ่นตัว ปรุงเป็นน้ำหอม แต่งกลิ่นสบู่ ในสมัยโบราณจะใช้แต่งกลิ่นขี้ผึ้งสีปาก[6]
- สามารถนำใบแห้ง กิ่งแห้งใส่ตู้เสื้อผ้าช่วยทำให้มีกลิ่นหอม ช่วยป้องกันแมลงกัดเสื้อผ้า[6]
- ใบจะมีกลิ่นหอมสามารถกลั่นมาทำน้ำหอมได้ และสามารถใช้เป็นสารช่วยให้น้ำหอมมีกลิ่นติดทนนานได้[4]
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
- สารสกัด มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อ Spirochaete หลายชนิด โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียที่อยู่บนผิวหนัง[1]
- พบสาร น้ำมันระเหย 15% และพบสารในน้ำมันระเหยนั่นก็คือ Anethole, Pogostol, Pinene, Patchoulipyridine, p-Methoxycinnamaldehyde, Methychavicol, Patchouli alcohol, Cinnamic aldehyde, Eugenol เป็นต้น[1]
- น้ำมันระเหย มีฤทธิ์ที่เพิ่มน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร สามารถช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารดียิ่งขึ้น และมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะกับลำไส้ ทำให้สามารถช่วยคลายอาการปวดได้ และช่วยทำให้อาหารที่ตกค้างในกระเพาะอาหารไม่บูด[1]
สรรพคุณพิมเสนต้น
1. สามารถช่วยรักษาโรคผิวหนัง และกลากเกลื้อนได้ โดยนำต้นแห้งมาผสมโกฐน้ำเต้า 15 กรัม, สารส้มสะตุ 15 กรัม เอามาต้มรวมกันกับน้ำ ใช้ชำระผิวหนังตรงบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น)[1]
2. น้ำมันพิมเสนต้นในทางยาสามารถใช้ทาแก้ปวดได้ [6]
3. ยาชงจากยอดแห้งกับรากแห้งสามารถใช้ดื่มเป็นยาแก้ปัสสาวะติดขัด และขับปัสสาวะได้ (ยอด, ราก)[5],[6]
4. ผงที่ได้จากใบสามารถใช้เป็นยานัตถุ์ ทำให้จามได้ (ใบ)[6]
5. ทั้งต้นของ มีรสเผ็ดขม เป็นยาร้อนนิดหน่อย จะออกฤทธิ์กับกระเพาะอาหาร ปอด ม้าม สามารถใช้เป็นยาลดไข้ แก้หวัดแดด แก้ตัวร้อน มีน้ำมูกไหล และแก้จมูกอักเสบได้ (ทั้งต้น)[1]
6. ในตำรับยาแก้อาการปวดศีรษะ ตัวร้อน มีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว ให้นำยาแห้ง 10 กรัม, เปลือกลูกหมาก 10 กรัม, แปะตุ๊ก 10 กรัม, หกเหล็ง 10 กรัม และเกาโพ๊ก 7 กรัม, ชะเอม 7 กรัม, กิ๊กแก้ 7 กรัม, โกฐสอ 7 กรัม, ปั่วแฮ 7 กรัม, จี่โซว 7 กรัม มาต้มกับน้ำทาน หรือเอามาบดรวมเป็นผงใช้ทำยาเม็ดลูกกลอนทานได้ (ทั้งต้น)[1]
7. สามารถใช้ต้นภายนอกเป็นยาแก้น้ำกัดเท้าได้ (ทั้งต้น)[1]
8. สามารถนำใบแพงพวยสดมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาแก้ปวดประจำเดือน ยาขับประจำเดือน หรือประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ (ใบ)[5]
9. สามารถใช้ทั้งต้นของแพงพวยเป็นยาแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเสีย อาเจียน ช่วยย่อยอาหาร ในตำรับยาแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย โดยใช้ยาแห้ง 10 กรัม, เปลือกลูกหมาก 10 กรัม, แปะตุ๊ก 10 กรัม, หกเหล็ง 10 กรัม และเกาโพ๊ก 7 กรัม, ชะเอม 7 กรัม, กิ๊กแก้ 7 กรัม, โกฐสอ 7 กรัม, จี่โซว 7 กรัม, ปั่วแฮ 7 กรัม มาต้มกับน้ำทาน หรือบดรวมเป็นผงทำยาเม็ดลูกกลอนทาน (ทั้งต้น)[1]
10. ยาชงจากยอดแห้งกับรากแห้งมีสรรพคุณที่เป็นยาขับลมในทางเดินอาหารได้ (ยอด, ราก)[5],[6]
11. สามารถใช้เป็นยาขับลม และขับลมชื้นได้ (ทั้งต้น)[1]
12. ในตำรายาไทยใช้ใบเป็นยาลดไข้ ใช้ปรุงเป็นยาเย็น แก้ไข้ได้ทุกชนิด ช่วยทำให้ความร้อนในร่างกายน้อยลง ช่วยถอนพิษร้อน ปรุงเป็นยาเขียว ถอนพิษไข้ ยาจันทลีลา ในตำรับยาทางล้านนา กับยาหอมก็เข้าใบพิมเสนต้น (ใบ)[2],[3],[5]
สั่งซื้อ เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริม สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “พิม เสน ต้น”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 388.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “พิมเสนต้น”. หน้า 170.
3. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “พิม เสน ต้น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [06 พ.ค. 2014].
4. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.). “พิมเสนต้น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.tistr.or.th. [06 พ.ค. 2014].
5. ศูนย์วิจัยสมุนไพรภาคเหนือ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (รศ.ดร.ภญ.พาณี ศิริสะอาด). “พิมเสนหนาด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.cmu.ac.th. [06 พ.ค. 2014].
6. ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (ผศ.สุปรียา ยืนยงสวัสดิ์). “พิมเสน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: pcog2.pharmacy.psu.ac.th/thi/Article/2548/07-48/borneol.pdf. [06 พ.ค. 2014].
7. https://medthai.com