ประทัดใหญ่ กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้

ประทัดใหญ่
ประทัดใหญ่ มีถิ่นกำเนิดจาก อเมริกาเขตร้อน และ ประเทศซูรินัม ดอกดกสีสันสวยงาม เป็นไม้ที่ชอบดินร่วนมีความสมบูรณ์สูง ปลูกได้ทั้งที่แจ้งและที่รำไร ผลกลมเมื่อแก่เป็นสีแดงคล้ำ
ประทัดใหญ่
ดอกดกสีสันสวยงาม เป็นไม้ที่ชอบดินร่วนมีความสมบูรณ์สูง ปลูกได้ทั้งที่แจ้งและที่รำไร ผลกลมเมื่อแก่เป็นสีแดงคล้ำ

ประทัดใหญ่

ประทัดใหญ่ Quassia เป็นไม้พุ่มมีลำต้นสั้นดอกทรงยาวแดงสีสด มีถิ่นกำเนิดจาก อเมริกาเขตร้อน และ ประเทศซูรินัม ดอกดกสีสันสวยงาม เป็นไม้ที่ชอบดินร่วนมีความสมบูรณ์สูง ปลูกได้ทั้งที่แจ้งและที่รำไร ผลกลมเมื่อแก่เป็นสีแดงคล้ำ ชื่อสามัญ Stave-wood, Sironum wood[2], Surinam quassia, Bitter wood[4], Bitter-ash, Amargo ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Quassia amara L. จัดอยู่ในวงศ์ปลาไหลเผือก (SIMAROUBACEAE)[1] ชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า ปิง ประทัด (ภาคกลาง), ประทัดจีน เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะประทัดใหญ่

  • ลักษณะของต้น[1],[2],[4]
    – ต้นเป็นไม้พุ่มเตี้ย ๆ
    – มีความสูงของต้นประมาณ 1.5-3 เมตร
    – แตกกิ่งก้านมาก
    – เปลือกลำต้นเรียบและเป็นสีน้ำตาล
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและการตอนกิ่ง
    – มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อนและประเทศซูรินัม
    – นิยมนำมาปลูกตามสวนสมุนไพรหรือสวนพฤกษชาติ[4]
  • ลักษณะของใบ[1],[2],[4]
    – เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับกัน
    – มีใบย่อยประมาณ 5-7 ใบ
    – ใบเป็นรูปไข่กลับ รูปวงรี หรือรูปใบหอก
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบเป็นรูปสอบหรือเกือบมน
    – ขอบใบเรียบ
    – ใบมีขนาดกว้าง 2-3 เซนติเมตร และยาว 3-5 เซนติเมตร
    – แผ่นใบเรียบเป็นสีเขียวสด
    – เส้นใบเป็นสีแดง
    – ก้านใบและแกนใบเป็นสีแดง แผ่ออกเป็นครีบทั้งสองด้าน
    – ใบอ่อนมีสีแดง[1],[2],[4]
  • ลักษณะของดอก[1],[2],[4]
    – ดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง
    – ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร
    – ก้านช่อดอกเป็นสีแดง
    – กลีบเลี้ยงดอกมีขนาดเล็ก มี 5 แฉก และเป็นสีแดง
    – กลีบดอกเป็นสีแดงสด มี 5 กลีบ ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร
    – โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด
    – กลีบดอกจะไม่บานและจะหุ้มเกสรอยู่เป็นรูปกรวย โดยเกสรเพศผู้มี 10 อัน
    – ดอกออกในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป

ลักษณะของผลประทัดใหญ่[1],[2]

  • ออกผลเป็นกลุ่ม
  • ผลย่อยเป็นรูปไข่กลับ สีแดงคล้ำ

สรรพคุณของประทัดใหญ่

  • ใบ ใช้เป็นยาทาผิวหนังแก้อาการคัน[2]
  • เนื้อไม้ สามารถนำมาสกัดเป็นยาขับพยาธิเส้นด้ายสำหรับเด็กได้ โดยการใช้เนื้อไม้ประมาณ 0.5 กรัม ประมาณ 4-5 ชิ้น และนำมาชงกับน้ำเดือดครึ่งถ้วยแก้ว[2]
  • เนื้อไม้ สามารถนำมาปรุงเป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย ด้วยการใช้เนื้อไม้ 4 กรัม นำมาต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 2 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานก่อนอาหารเช้าและเย็นครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว วันละ 2 ครั้ง[2]
  • ราก มีสรรพคุณในการช่วยย่อย[1]
  • ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ดี[1],[2]
  • รากและเนื้อไม้ เป็นยาขมช่วยเจริญอาหารเช่นกัน[1],[2]
  • เปลือกต้นและเนื้อไม้ เป็นยาบำรุงน้ำย่อย ทำให้เกิดอยากรับประทานอาหาร[2]

ประโยชน์ของประทัดใหญ่

  • นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป[4]
  • เนื้อไม้ สามารถนำมาสกัดให้เป็นน้ำ และสามารถนำมาใช้เป็นสารฆ่าแมลงได้ ซึ่งสารสำคัญที่พบได้แก่สารที่มีรสขมจัด ชื่อว่า Amaroid และ Quassia[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา จากการศึกษาฤทธิ์การต้านเบาหวานของต้นในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงด้วย nicotinamide-streptozotocin ด้วยการป้อนสารสกัดเมทานอลจากประทัดใหญ่ในขนาดวันละ 100 และ 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยทำการเปรียบเทียบกับการป้อนด้วยยา glibenclamide 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ และเก็บตัวอย่างเลือดจากหนูทั้งสองกลุ่มเพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาล, ไขมันเลว (LDL-C), ไขมันดี (HDL-C) และไตรกลีเซอไรด์ ผลการทดลองพบว่าหนูทั้งสองกลุ่มมีระดับน้ำตาลในเลือด ระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันเลวลดลง อย่างไรก็ตามการป้อนด้วยสารสกัดเมทานอลประทัดใหญ่จะไม่ส่งผลต่อการเพิ่มของ HDL-C และระดับฮอร์โมนอินซูลินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ยา glibenclamide มีผลเพิ่มปริมาณของ HDL-C และระดับฮอร์โมนอินซูลินอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษานี้จึงแสดงให้เห็นว่า สารสกัดจากต้นมีฤทธิ์ต้านเบาหวานและช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ประทัดใหญ่ Quassia”. หน้า 174.
2. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ประทัดใหญ่ ประทัดจีน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [01 ก.ย. 2014].
3. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ฤทธิ์ต้านเบาหวานของต้นประทัดใหญ่ (Quassia amara)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th. [01 ก.ย. 2014].
4. ไทยรัฐออนไลน์. (นายเกษตร). “ประทัดใหญ่ สวยมีสรรพคุณ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thairath.co.th. [01 ก.ย. 2014].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/photos/