ลักษณะและสรรพคุณของมะค่าแต้

0
1552
ลักษณะและสรรพคุณของมะค่าแต้ ดอกออกเป็นช่อสีเหลืองแกมสีเขียว ฝักแบนค่อนกลมรูปโล่ มีหนามแหลม โคนผลเบี้ยวมีติ่งแหลม เมล็ดมีรสชาติเบื่อขม
มะค่าแต้
ดอกออกเป็นช่อสีเหลืองแกมสีเขียว ฝักแบนค่อนกลมรูปโล่ มีหนามแหลม โคนผลเบี้ยวมีติ่งแหลม เมล็ดมีรสชาติเบื่อขม

มะค่าแต้

ไม้มะค่าแต้ Ma kha num เป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดใหญ่ให้ร่มเงาดี ผลทรงแบนสีเขียวมีหนามแหลมคมเมื่อผลเริ่มแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมีเมล็ดสีดำใหญ่อยู่ด้านใน มีเขตการกระจายพันธุ์จากที่ภูมิภาคอินโดจีนถึงมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบเจอได้ที่ตามป่าโคกข่าว ป่าเต็งรัง ป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณแล้ง และก็ป่าชายหาดที่มีระดับใกล้น้ำทะเลถึงที่มีความสูง 400 เมตร ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Sindora siamensis Miq. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ คือ Galedupa cochinchinensis (Baill.) Prain, Galedupa siamensis (Teijsm.) Prain, Sindora cochinchinensis Baill., Sindora siamensis var. siamensis, Sindora wallichii var. siamensis (Teijsm.) Baker อยู่วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่วงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)[1] มีชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น กรอก๊อส (เขมร-พระตะบอง), กอกก้อ (ชาวบน, จังหวัดนครราชสีมา), มะค่าแต้ (ภาคกลาง), มะค่าหนาม (ภาคเหนือ), แต้หนาม, ก้าเกาะ (เขมร, จังหวัดสุรินทร์), มะค่าหนาม (ภาคกลาง), มะค่าหยุม, แต้ (ภาคอีสาน), กอเก๊าะ (เขมร, จังหวัดสุรินทร์), มะค่าลิง (ภาคกลาง) [1],[3],[7]

ลักษณะมะค่าแต้

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 10-15 เมตร จะแตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เรือนยอดมีลักษณะเป็นรูปร่มหรือทรงเจดีย์ต่ำ กิ่งอ่อนกับยอดอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลอยู่ เปลือกต้นจะเรียบเป็นสีเทาคล้ำ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง[1],[4]
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับ ใบย่อยมีอยู่ประมาณ 3-4 ใบ แกนช่อใบมีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใบเป็นรูปรี รูปไข่ ที่ปลายใบจะเว้าตื้น ส่วนที่โคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเป็นคลื่น ใบกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร ใบหนา แผ่นใบด้านบนจะมีขนหยาบ ท้องใบจะมีขนนุ่ม[1],[2]
  • ดอก ออกเป็นช่อที่ตามซอกใบและที่ตามปลายกิ่ง ช่อดอกมีความยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ดอกมีลักษณะเป็นสีเหลืองแกมสีเขียว มีกลีบเลี้ยงหนารูปไข่กว้างอยู่ 4 กลีบ ที่ปลายกลีบจะมีหนามขนาดเล็กอยู่ กลีบดอกมีความยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้อยู่ 10 ก้าน และจะมี 2 ก้านที่ใหญ่กว่าก้านอื่น ที่ด้านนอกของดอกจะมีขนสีน้ำตาลอยู่ ก้านดอกมีความยาวประมาณ 0.2-0.4 เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม[1],[2]
  • ผล เป็นฝักเดี่ยว มีลักษณะแบนค่อนข้างที่จะกลม ผิวเปลือกมีหนามแหลมอยู่ ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่กว้าง เป็นรูปโล่ ที่โคนเบี้ยว โคนมักจะมีติ่งแหลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.5-10 เซนติเมตร เมื่อแห้งก็จะจะแตกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดสีดำอยู่ในฝักประมาณ 1-3 เมล็ด ผลจะแก่ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน[1],[2]

สรรพคุณมะค่าแต้

1. สามารถนำปุ่มที่เปลือกมาต้มรมให้หัวริดสีดวงที่ทวารหนักฝ่อได้ (ปุ่มเปลือก[4], ผล[6])
2. เมล็ดจะมีรสชาติเบื่อขม สามารถทำให้ริดสีดวงทวารแห้งได้ (เมล็ด)[6]
3. เมล็ด ผล ปุ่มเปลือก สามารถใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนังได้ (เมล็ด, ผล, ปุ่มเปลือก)[4],[6]
4. สามารถนำเปลือกมาต้ม ใช้แก้ซาง แก้ลิ้นเป็นฝ้าได้ (เปลือก)[5]
5. นำเปลือกต้นมาผสมเปลือกต้นยางยา เปลือกต้นมะกอกเหลี่ยม รากถั่วแปบช้าง เปลือกต้นหนามทันมาต้มกับน้ำดื่ม สามารถใช้เป็นยาแก้อีสุกอีใสได้ (เปลือกต้น)[1]
6. ปุ่มเปลือกจะมีรสเมาเบื่อ สามารถนำมาต้มกับน้ำดื่มใช้เป็นยาแก้พยาธิได้ เมล็ดจะมีรสเมาเบื่อสุขุม สามารถใช้เป็นยาขับพยาธิได้ (ปุ่มเปลือก, เมล็ด)[4]

ประโยชน์มะค่าแต้

  • ใช้ทำเป็นถ่านได้ สามารถให้ความร้อนได้ถึง 7,347 แคลอรีต่อกรัม[4]
  • สามารถนำเมล็ดแก่มาเผาไฟและกะเทาะเปลือกออก นำแต่เนื้อด้านในมาทานเป็นอาหารว่างได้ เนื้อจะแข็งมีรสมัน[4]
  • เนื้อไม้มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลแก่ ถ้าทิ้งเอาไว้นานจะมีสีเข้มขึ้น มีเส้นสีเข้มกว่าสลับกับเนื้อไม้ เสี้ยนสนแต่สม่ำเสมอ แข็งแรง ทนทาน ทนปลวกได้ เลื่อย ผ่า ไสกบตบแต่งยาก ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้ แต่มีขนาดที่ไม่ใหญ่มาก สามารถใช้ทำกระดูกเรือ หมอนรองรางรถไฟ เครื่องเกวียน เครื่องบน พื้นรอง ตง เสา โครงเรือใบเดินทะเล ลูกกลิ้งนาเกลือ เครื่องไถนา เครื่องมือทางการเกษตร เครื่องเรือน พื้น และรอดได้[2],[3],[4]
  • เปลือก ฝัก จะให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol กับ Catechol ที่ใช้ฟอกหนัง [4]
  • นิยมนำเปลือกต้นมาใช้ย้อมสีเส้นไหม และย้อมแหสีแดง[4]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลพรรณไม้โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก), งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา. “มะค่า แต้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.hinsorn.ac.th/botanyhinsorn. [12 พ.ค. 2014].
2. ระบบฐานข้อมูลพรรณไม้ที่เหมาะสมกับระบบนิเวศและวิถีชีวิตชุมชน เพื่อลดมลพิษในพื้นที่จังหวัดระยองและพื้นที่ใกล้เคียง ภายใต้โครงการชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรม. “มะค่าแต้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: onep-intranet.onep.go.th/plant/. [12 พ.ค. 2014].
3. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “มะค่าแต้”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 150.
4. โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์, โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “มะค่า แต้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.shc.ac.th/learning/botanical-garden/. [12 พ.ค. 2014].
5. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. “มะค่า แต้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: rspg.dusit.ac.th. [12 พ.ค. 2014].
6. ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “มะค่า แต้”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [12 พ.ค. 2014].
7. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4.

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.flickr.com/photos/eddingrid/38295273631
2.https://flora.pao-sisaket.go.th/flora-info/6