โรคภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดจากสาเหตุอะไร และดูแลรักษาอย่างไร
โรคภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัยมีผื่นบวมแดงและคัน มีตุ่มแดง ตุ่มน้ำ บางรายอาจมีน้ำเหลืองไหลซึมออกมา

ภูมิแพ้ผิวหนัง

ภูมิแพ้ผิวหนัง ( Skin-Allergies ) คือ จะมีผื่นบวมแดงและคัน มีตุ่มแดง ตุ่มน้ำ บางรายอาจมีน้ำเหลืองไหลซึมออกมา สามารถเกิดขึ้นกับผิวหนังได้ทุกเพศทุกวัย จากสถิติส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 10 เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ผื่นแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้เหงื่อตัวเอง ภูมิแพ้ โรคภูมิแพ้ตัวเอง ภูมิแพ้อากาศ แพ้ฝุ่น การแพ้อาหาร

อาการของภูมิแพ้ผิวหนัง

  • มีตุ่มน้ำใสๆ
  • ผิวหนังแห้ง
  • คันบริเวณที่ผื่น
  • ผิวหนังเกิดผื่นแดง
  • ผิวหนังหนาและมีรอยคล้ำ
  • มีเหงื่อออกอาการคันจะเพิ่มมากขึ้น
  • อาจมีน้ำเหลืองไหลซึมออกมา

จุดสังเกตและตำแหน่งที่พบได้บ่อย

มักจะพบผื่นผิวหนังอักเสบบ่อยบริเวณใบหน้า ซอกคอ ข้อพับแขน ข้อพับขา ข้อศอก ข้อเข่าและด้านนอกของแขนขา
ภูมิแพ้ผิวหนังในแต่ละช่วงวัย
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. ทารกระหว่างอายุ 2 เดือน
2. เด็กเล็กอายุระหว่าง 2-12 ปี
3. วัยรุ่นและผู้ใหญ่

การตรวจภูมิแพ้ผิวหนัง

  • แพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยผื่นเริ่มเมื่อใด ระยะเวลาที่นานเท่าไหร่ ตำแหน่งของภูมิแพ้ผิวหนัง สิ่งแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดผื่น ซักประวัติครอบครัว ประวัติการแพ้อาหาร และตรวจร่างกายอย่าง
    ละเอียด เช่น อาการคันจมูก จาม น้ำมูกไหล หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงวี้ด เป็นต้น

การดูแลรักษาภูมิแพ้ผิวหนัง

โดยแพทย์จะเลือกใช้วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก และในรายที่
ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยใช้วิธีต่อไปนี้

  • การใช้ยาทาลดการอักเสบของผิวหนัง ลดผื่นแดง
  • การให้ยารับประทาน
  • การฉีดยา

การป้องกันการเกิดภูมิแพ้ผิวหนัง

  • หลีกเลี่ยงการเกา หรือสัมผัสกับบริเวณที่มีผื่นคัน
  • หลีกเลี่ยงสารเคมีที่ทำให้อาการกำเริบ เช่น ผงซักซอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำหอม
  • ควรดูแลความสะอาดร่างกายและมืออย่างสม่ำเสมอ
  • ควรระวังอาหารบางชนิดที่ก่อให้เกิดอาการแพ้
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือการออกกำลังกายที่ทำให้เหงื่อเยอะ

วิธีรักษาภูมิแพ้ผิวหนัง และการดูแล

โดยแพทย์จะเลือกใช้วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก และในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยใช้วิธีต่อไปนี้

  • การใช้ยาทาแก้แพ้ผิวหนัง ลดการอักเสบ
  • การให้รับประทานยาแก้ภูมิแพ้ผิวหนัง เพื่อลดภูมิแพ้ผิวหนังที่มีอาการคัน ปวด บวมแดง
  • การฉีดยา

เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เช่น แพ้อากาศ ไอ จาม หอบหืด หรือมีผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ร่วมด้วย แต่ผู้ที่ไม่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวก็อาจเป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน ผู้ป่วยที่คิดจะซื้อยาแก้ภูมิแพ้ หรืออาหารเสริมสำหรับโรคภูมิแพ้ผิวหนังมารับประทานเอง ควรขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม