พุดจีบ
พุดจีบ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ในประเทศอินเดีย สำหรับประเทศไทยสามารถพบเจอได้ที่ตามป่าดิบทางภาคเหนือ[5] ชื่อสามัญ East Indian rosebay, Crepe jasmine,Pinwheel flower, Clavel De La India[2] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Tabernaemontana divaricata (L.) R.Br. ex Roem. & Schult. อยู่วงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่วงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE)[1] ชื่อในท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น พุดสา (ภาคกลาง), พุดซ้อน (ภาคกลาง), พุดสวน (ภาคกลาง), พุดป่า (ลำปาง), พุดลา (ภาคกลาง)[1]
ลักษณะของพุดจีบ
- ต้น เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่มที่มีขนาดกลาง ต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร[1] บ้างก็ว่าสามารถสูงได้ถึงประมาณ 3-5 เมตร[2] ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มเตี้ย มีการทิ้งใบส่วนต้นด้านล่าง ทำให้พุ่มดูโปร่ง เปลือกต้นมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลอ่อน จะแตกเป็นร่องเล็ก มียางสีขาวทุกส่วน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การตอน การปักชำ โตดีในดินร่วนปนทราย ชอบความชื้นปานกลาง ชอบแสงแดดเต็มวันถึงปานกลาง[1],[2],[3]
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน รูปใบหอก ที่ปลายใบจะเรียวและแหลม ส่วนที่โคนใบจะสอบ ขอบใบเรียบเป็นคลื่น ใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร ที่ท้องใบมีลักษณะเรียบ มีสีอ่อนกว่าหลังใบ ที่หลังใบมีลักษณะเรียบลื่นและเป็นมัน เป็นสีเขียวเข้ม [1],[2]
- ดอก ดอกออกเป็นช่อแบบกระจุก ออกดอกที่ตามซอกใบที่ใกล้ปลายยอดหรือที่ปลายกิ่ง ช่อนึงมีดอกละประมาณ 2-3 ดอก ดอกย่อยมีลักษณะเป็นสีขาว ดอกที่บานเต็มที่กว้างประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร ที่โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดเป็นหลอด มีความยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ที่ปลายจะแยกเป็น 5-10 แฉก จะเป็นคลื่นหมุนเวียนซ้อนกัน มีเกสรเพศผู้อยู่ 5 ก้าน กลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นแฉกเรียวและแหลม ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกได้ทั้งปี[1],[2]
- ผลเป็นผลแห้ง เป็นฝักคู่ติดกัน ฝักโค้งมีความยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ที่ปลายฝักจะแหลม ส่วนที่ขอบฝักจะเป็นสันนูน มีเนื้อผลสีแดง ฝักแก่แตกออกเป็นแนวเดียวกัน มีเมล็ดอยู่ในฝักประมาณ 3-6 เมล็ด[2]
สรรพคุณพุดจีบ
1. ดอก มีรสเฝื่อน สามารถคั้นเอาแต่น้ำมาใช้ทาแก้โรคผิวหนังได้ (ดอก)[1]
2. รากสามารถช่วยระงับอาการปวดได้ (ราก)[1]
3. รากสามารถใช้เป็นยาถ่ายได้ (ราก)[7]
4. สามารถนำรากมาเคี้ยวช่วยแก้อาการปวดฟันได้ (ราก)[1],[3],[7]
5. เนื้อไม้ มีรสเฝื่อน จะเป็นยาเย็น สามารถใช้เป็นยาช่วยลดพิษไข้ ลดไข้ (เนื้อไม้)[1],[5],[7]
6. ราก มีรสเฝื่อน จะสรรพคุณที่สามารถเป็นยาบำรุงร่างกายได้ (ราก)[1],[7]
7. นำราก มาฝนแล้วเอามาใช้ทาผิวตรงบริเวณที่เป็นตุ่ม สามารถช่วยทำให้ตุ่มยุบเร็วยิ่งขึ้นได้ (ราก)[6] รากมีข้อมูลที่ระบุว่ารากกับหัว มีรสขม ทางอายุรเวทของอินเดียใช้เป็นยาแก้พยาธิไส้เดือน แก้หิด (ผู้เขียนยังหาแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมายืนยันไม่ได้)
8. ต้น มีรสเฝื่อน สามารถเอามาคั้นเอาแต่น้ำใช้ดื่มเป็นยาขับพยาธิได้ (ต้น) [1]
9. รากสามารถใช้เป็นยาขับพยาธิได้ (ราก)[1]
10. รากสามารถใช้เป็นยาแก้ท้องเสียได้ (ราก)[7]
11. ใบ มีรสเฝื่อน สามารถเอามาตำกับน้ำตาลแล้วนำมาชงกับน้ำ ใช้ดื่มเป็นยาแก้ไอได้ (ใบ)[1],[7]
12. นำกิ่ง 1 กำมือมาต้มกับน้ำใช้ดื่ม สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ (กิ่ง)[7]
ประโยชน์พุดจีบ
- ข้อมูลอื่นระบุไว้ว่า เนื้อผลสุกสามารถใช้เป็นสีย้อมผ้าได้ โดยให้สีส้มแดง ดอกสามารถใช้ทำหัวน้ำหอม เนื้อไม้สามารถใช้ทำธูปได้
- นิยมปลูกเป็นไม้ประธานตามสวนหย่อม หรือปลูกตามมุมตึก ริมน้ำตก ลำธาร ปลูกบังกำแพงก็ได้ ดอกกลิ่นหอมช่วงเวลากลางคืน[2]
- สามารถดอกนำมาร้อยมาลัยถวายพระได้[3]
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
- ปี ค.ศ. 2007 ในประเทศเกาหลีมีการทำการศึกษาทดลองผลการลดไขมันในเลือด ด้วยการไปยับยั้ง Lipase เอนไซม์ เป็นประโยชน์กับการลดคอเลสเตอรอลในเลือด ไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ลดความอ้วน[7]
- ปี ค.ศ. 2005 ในประเทศเกาหลีมีการทำการศึกษาผลของสาร Crocin กับ Crocetin ที่สกัดได้ด้วยการใช้น้ำสกัด ปรากฏว่าช่วยยับยั้ง Pancreatic lipase เอนไซม์ในตับอ่อนของหนูทดลองที่ถูกทำให้อ้วนด้วยอาหารไขมันกับคาร์โบไฮเดรตเป็นเวลาถึง 5 สัปดาห์ ปรากฏว่าหนูทดลองมีระดับคอเลสเตอรอลลดลง ระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลง[7]
- ปี ค.ศ. 2002 ในประเทศเกาหลีมีการทำการศึกษาทดลองผลของสารสกัดในหนูทดลอง ปรากฏว่าช่วยยับยั้ง HMG Co A reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ย่อยไขมันในตับอ่อนได้ และยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้[7]
- สารที่สกัดได้จากต้น มีฤทธิ์ที่สามารถช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเตอเรสได้สูง (เอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเตอเรสมีฤทธิ์ที่ไปทำลายสารอะเซทิลโคลีน ที่เป็นสารสื่อประสาท ทำให้ลดลง เป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์) ทำให้สารอะเซทิลโคลีนที่อยู่ในระบบประสาทส่วนกลางเหลือเยอะ เป็นประโยชน์กับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้นและระยะปานกลาง[4]
- พบสารที่สำคัญ คือ pericalline, tryptamine, amyrin, vasharine, kaempferol, voacamine, ajmalicine[7]
- การทดสอบความเป็นพิษ ปรากฏว่าเมื่อฉีดสารที่สกัดจากกิ่งแห้งด้วย 95% เอทานอลหรือที่สกัดด้วยน้ำเข้าช่องท้องของหนูถีบจักรขนาด 150 หรือ 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปรากฏว่าไม่เป็นพิษ[7]
- ปี ค.ศ. 2006 ในประเทศเกาหลีมีการทำการศึกษาทดลองใช้สารสกัดกับหนูทดลอง ด้วยการให้สารสกัดขนาด 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมในหนูทดลองที่ถูกให้อาหารที่มีไขมันอยู่สูงจนอ้วน ด้วยการให้ corn oil 1 กรัมต่อกิโลกรัม ผลการทดลองปรากฏว่าสารสกัด ช่วยต้านอนุมูลอิสระกับ Lipid peroxidation ซึ่งทำให้ไขมันในเลือดลดน้อยลง[7]
- ปี ค.ศ. 2005 ในประเทศเกาหลีมีการทำการศึกษาทดลองสารสกัด กับสมุนไพรหลายชนิด ทำเป็นในรูปแบบของแคปซูล ยาผสมดังกล่าวมีผลในการรักษาโรคหัวใจ ภาวะเส้นเลือดอุดตัน ลดความดันโลหิตสูง ยาดังกล่าวมีส่วนผสมดังนี้ 1-10% ข้าวโพด, 1-10% โกโก้, 1-10% Cyperus rotundu, 1-10% พุดจีบ, 1-10% บัวหลวง แล้วก็เอายาดังกล่าวมาทดลองกับผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง ปรากฏว่าผู้ป่วยมีระดับไขมันในเลือดลดน้อยลง[7]
- มีสารอัลคาลอยด์ Coronarine อยู่ใน ราก เปลือก ต้น [5]
- จะมีฤทธิ์ที่สามารถยับยั้งการหดเกร็งของมดลูกและลำไส้ ต้านเชื้อรา ลดความดันโลหิตสูง แก้อาการปวด ต้านเชื้อแบคทีเรีย [7]
หมายเหตุ
หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด ของเภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก ตาม [7] ใช้ชื่อหัวข้อเรื่องว่า พุดซ้อน แต่เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ (พุดจีบกับพุดซ้อนต่างมีชื่อพ้องที่เหมือนกัน บางที่ก็เรียกพุดซ้อนว่าพุดจีบ บางที่ก็เรียกพุดจีบว่าพุดซ้อน) ทำให้ผู้เขียนเข้าใจว่า พุดซ้อน ในหนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด ของเภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก หมายถึง พุดจีบ (อิงตามชื่อวิทยาศาสตร์)
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “พุด จีบ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [02 พ.ค. 2014].
2. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. “พุดซ้อน”. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). หน้า 131-132.
3. หนังสือสมุนไทยสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “พุด จีบ”.
4. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “พุด จีบ (Phut Chip)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 197.
5. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “พุด จีบ, พุดซ้อน”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [02 พ.ค. 2014].
6. ข่าวจากเดลินิวส์. “ทันตแพทย์ มช.ค้นพบยารักษาโรคอัลไซเมอร์ ”.
7. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “พุด-จีบ” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [02 พ.ค. 2014].
อ้างอิงรูปจาก
1. https://gabbarfarms.com/
2. https://www.richardlyonsnursery.com/