ต้นช้อยนางรำ ช่วยขับล้างสารพิษออกจากร่างกาย

0
1325
ช้อยนางรำ
ต้นช้อยนางรำ ช่วยขับล้างสารพิษออกจากร่างกาย ไม้พุ่มขนาดเล็ก ดอกมีขนาดเล็กเป็นช่อ กลีบดอกมีสีเป็นสีม่วงปนกับสีขาวหรือสีม่วงแดง ผลเป็นฝักแบน
ช้อยนางรำ
ไม้พุ่มขนาดเล็ก ดอกมีขนาดเล็กเป็นช่อ กลีบดอกมีสีเป็นสีม่วงปนกับสีขาวหรือสีม่วงแดง ผลเป็นฝักแบน

ช้อยนางรำ

ช้อยนางรำ มักจะขึ้นเองตามธรรมชาติที่ป่าชื้นทั่วไป หรืออาจจะพบเจอชาวบ้านที่ปลูกเอาไว้ตามบ้าน และอาจพบเห็นได้จากสวนหลังวัดพญา ในปัจจุบันนี้พบเจอได้ค่อนข้างยาก ชื่อสามัญ Telegraph plant, Semaphore plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ Codariocalyx motorius (Houtt.) H.Ohashi ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Codariocalyx gyrans (L.f.) Hassk., Codoriocalyx motorius var. glaber X.Y. Zhu & Y.F. Du, Desmodium gyrans (L.f.) DC., Desmodium gyrans var. roylei (Wight & Arn.) Baker, Desmodium motorium (Houtt.) Merr., Desmodium roylei Wight & Arn., Hedysarum gyrans L.f., Hedysarum motorium Houtt., Meibomia gyrans (L.f.) Kuntze จัดอยู่ในวงศ์ จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[2],[3] ชื่ออื่น ๆ แพวแดง (อรัญประเทศ), ค่อยช้างรำ ช้อยช่างรำ นางรำ (ประเทศไทย), เคยแนะคว้า (ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ว่านมีดยับ หว้านมีดยับ (จังหวัดลำพูน), แพงแดง (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) เป็นต้น[1],[2],[3]

ลักษณะของต้นช้อยนางรำ

  • ต้น
    – เป็นพันธุ์ไม้พุ่มที่มีขนาดเล็ก อยู่ในจำพวกหญ้า
    – ประมาณ 90 เซนติเมตร
    – เป็นพืชว่านชนิดหนึ่ง แต่ไม่ใช่พืชที่ลงหัวอย่างว่านทั่ว ๆ ไป
    – ลำต้นมีผิวเปลือกเป็นสีไม้แห้ง[1],[2],[3]
    – ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
  • ใบ
    – ใบจะแยกออกเป็นใบย่อย 3 ใบ โดยใบย่อยแต่ละใบจะมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปไข่ ปลายใบมน
    – แผ่นใบมีสีเป็นสีเขียว ผิวใบด้านบนมีความเป็นมัน ส่วนใบด้านล่างมีขนขึ้นปกคลุม[1],[2]
    – ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 1-3 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2-7 เซนติเมตร
  • ดอก
    – ดอกจะแทงออกจากด้านข้างหรือที่ปลายยอดของกิ่งก้าน โดยจะออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อดอกแบบติดกับดอกสลับ
    – ก้านช่อดอกจะมีขนขึ้นปกคลุม ดอกมีขนาดเล็ก มีรูปร่างลักษณะคล้ายดอกถั่วแปบ แต่มีขนาดเล็กกว่าดอกถั่วแปบมาก
    – กลีบดอกมีสีเป็นสีม่วงปนกับสีขาวหรือสีม่วงแดง และดอกมีกลีบเลี้ยงมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปกระดิ่ง[1],[2]
  • ผล
    – ผลมีลักษณะรูปร่างเป็นฝักแบน โดยฝักจะมีขนาดความกว้างอยู่ที่ประมาณ 0.3 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 2.5 เซนติเมตร
  • เมล็ด
    – ภายในฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 2-6 เมล็ด
    – เมล็ดมีลักษณะรูปทรงคล้ายกับเมล็ดของถั่วดำ แต่จะมีขนาดเท่ากับหัวไม้ขีด เมล็ดมีสีเป็นสีดำ[1]

สรรพคุณของต้นช้อยนางรำ

1. ลำต้นนำมาใช้ทำเป็นยารักษาฝีภายใน และฝีในท้อง (ลำต้น)[2]
2. ลำต้นมีสรรพคุณในการนำมาใช้ทำเป็นยาดับพิษร้อนภายในร่างกายได้ (ลำต้น)[2]
3. ต้น ราก และใบนำมาใช้ทำเป็นยาแก้ไข้ประสาทพิการ และแก้ไข้รำเพรำพัด (ต้น, ราก, ใบ)[2],[3]
4. ต้น ราก และใบนำมาต้มใช้สำหรับดื่มเป็นยาที่มีสรรพคุณในการรักษาอาการเจ็บป่วย (ต้น, ราก, ใบ)[3]
5. แพทย์แผนโบราณจะนำต้น ราก และใบโขลกให้ละเอียดจากนั้นนำมากวนกับปรอทในปริมาณน้ำหนักที่เท่ากัน ๆ จะส่งผลทำให้ปรอทแข็งตัวได้ (ต้น, ราก, ใบ)[3]
6. ต้น ราก และใบนำมาต้มกับน้ำใช้สำหรับดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น, ราก, ใบ)[2],[3]
7. ใบนำมาต้มเข้ากับตัวยาอื่น ๆ (ส่วนมากมักจะใช้เข้ากับยาแผนโบราณ) (ใบ)[2]
8. ใบนำมาใช้ทำเป็นยาสำหรับบรรเทาอาการไข้ตัวร้อน และแก้ฝีภายใน (ใบ)[2]

ประโยชน์ของต้นช้อยนางรำ

1. สามารถนำปลูกไว้ดูเล่นเป็นไม้ประดับที่ดูแปลกหูแปลกตาได้ แต่ค่อนข้างเลี้ยงดูได้ยาก[1]
2. ในปัจจุบันนี้ชาวอุดรธานีจะนำใบทำเป็นใบชาแห้งเพื่อจัดจำหน่ายเป็นสินค้าโอท็อปของจังหวัด[3]
3. เป็นพรรณไม้ที่มีความเชื่อในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์อีกด้วย ซึ่งย้อนกลับไปสมัยโบราณที่มีการเรียกว่านนี้ว่า “ว่านกายสิทธิ์” ทำให้มีการนับถือพรรณไม้ชนิดนี้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่าเป็นไม้กายสิทธิ์ มีอำนาจทางโชคลาภและเมตตามหานิยม ส่งผลให้มีความเชื่อว่าหากบ้านหรือร้านค้าใด ที่ทำการปลูกจะช่วยเรียกเงินทองไหลมาเทมาสู่ผู้ที่ปลูกแบบไม่ขาดมือ[3]
4. เป็นสมุนไพรที่สามารถฤทธิ์ในการต้านความชราหรือต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี มีประโยชน์ทางด้านโภชนาการที่หลายอย่าง และมีสรรพคุณในการช่วยขับล้างสารพิษออกจากร่างกายได้อีกด้วย[3] จึงมักจะนำมาชงกับน้ำต้มดื่มเป็นน้ำสมุนไพร

วิธีการชงน้ำสมุนไพร

1. นำใบชนิดแห้ง (ชาแห้ง) หนัก 1 กรัม
2. นำมาชงกับน้ำร้อนในปริมาตร 50 มิลลิลิตร (ประมาณ 1 ถ้วย)

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ช้อย นาง รำ”. หน้า 244-245.
2. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (ผศ.วรรณา กาญจนยูร, ศ.ดร. ไมตรี สุทธิจิต์, อำนาจ เหลาทอง). “รายงานผลการวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีและทางชีวภาพของใบช้อยนางรำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.nongsamrong.go.th. [07 ม.ค. 2015].
3. ไทยโพสต์. “สาวน้อยเริงระบำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaipost.net. [07 ม.ค. 2015].

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.amazon.com/
2.https://www.flickr.com/