ชิงช้าชาลี ช่วยรักษาโรครำมะนาด

0
1467
ชิงช้าชาลี
ชิงช้าชาลี ช่วยรักษาโรครำมะนาด เป็นไม้เถาคล้ายบอระเพ็ด เถาเกลี้ยงไม่มีตุ่ม ใบรูปหัวใจ ดอกตัวผู้เป็นช่อสีเหลือง ผลกลม ฉ่ำน้ำ ใบรสขม ใช้ฆ่าพยาธิ
ชิงช้าชาลี
เป็นไม้เถาคล้ายบอระเพ็ด เถาเกลี้ยงไม่มีตุ่ม ใบรูปหัวใจ ดอกตัวผู้เป็นช่อสีเหลือง ผลกลม ฉ่ำน้ำ ใบรสขม ใช้ฆ่าพยาธิ

ชิงช้าชาลี

ชิงช้าชาลี หรือบอระเพ็ดตัวผู้ ชื่อสามัญ Heart-leaved Moonseed[3], Gulancha Tinospora[5] ชื่อวิทยาศาสตร์ Tinospora baenzigeri Forman[1],[2],[3] จัดอยู่ในวงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ จุ่งจะริงตัวพ่อ (ภาคเหนือ),จุ่งจะลิงตัวแม่ (ภาคเหนือ)[1],[2], บรเพ็ชร บรเพ็ชร์ ชิงชาลี (ภาคกลาง), ตะซีคี, ตะคี[4], ตะซีคิ (กะเหรี่ยง ภาคเหนือ)[5] เป็นต้น

ลักษณะของชิงช้าชาลี

  • ต้น เป็นไม้เถาที่จะเลื้อยพาดตามต้นไม้อื่นๆ เถาอ่อนเป็นสีเขียว มีลักษณะกลมและเหนียว มีปุ่มเล็กน้อยตามเถา เถามีรูอากาศเป็นสีขาว ทุกส่วนนั้นมีรสขม[1],[2],[3] ใช้วิธีการปักชำและเพาะเมล็ดในการขยายพันธุ์ พบได้ตามที่รกร้าง[4]
  • ดอก ออกเป็นช่อๆ ดอกมีขนาดเล็กสีครีม ไม่มีกลีบดอก มักจะออกช่อตามซอกใบและตามเถามีเกสรตัวผู้ยาวพ้นออกมาเหนือดอก[1]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ลักษณะใบเป็นรูปหัวใจใบจะกลมโตและมีขนาดเดียวกับบอระเพ็ด ใบมีขอบเรียบ โคนใบมีความมนและเว้า ปลายแหลม ใบมีเนื้อในที่บาง ก้านใบมีความยาว 3-5 เซนติเมตร
    ใบยาวและกว้าง 6-10 เซนติเมตร มีปุ่ม 2 ปุ่มเล็กๆอยู่บนเส้นใบ ท้องใบและหลังใบมีความเรียบ[1],[2],[3]
  • ผล มีลักษณะเรียบเป็นมัน เป็นทรงกลมขนาด 1 ถึง 1.5 เซนติเมตร มีเมล็ดเดี่ยวเป็นสีเทาออกดำ เมล็ดมีผิวขรุขระ ผลสดมีสีเขียวเข้มและผลสุกเป็นสีเหลือง เนื้อผลเป็นสีขาวใส[1],[2]

ประโยชน์ของชิงช้าชาลี

1. โตเร็วและไม่ต้องดูแลมาก สามารถใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป
2. สามารถทำเป็นอาหารสัตว์ได้ โดยการนำใบมาทำ[5]
3. สามารถใช้เถาที่โตเต็มที่แล้วมาทำเป็นชิงช้าสำหรับเด็กๆใช้แกว่งไกวเล่นได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารสกัดชนิดหนึ่งช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูได้ ระยะเวลาทดลอง 1 เดือน สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ 38.01 ข้อมูลจากการทดลองเมื่อปี ค.ศ.2002 ที่นิวเดลี ประเทศอินเดีย แต่ในคนยังไม่เคยพบรายงานการทดลอง
  • มีการทดลองใช้สารสกัดจากต้นในสัตว์ทดลอง พบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้ ข้อมูลจากการทดลองเมื่อปี ค.ศ.1985 ประเทศอินเดีย
  • เถามีสารรสขม ที่สามารถใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย แก้อาการอักเสบ แก้อาการเกร็ง แก้ไข้ และมีอีกข้อมูลว่าเถาสามารถใช้เป็นยาระงับความเจ็บปวดได้ประมาณ 1/5 ของ Sodium salicylate
    ในสิ่งสกัดด้วยแอลกอฮอล์ของเถามีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ Escherichia coli และสิ่งที่สกัดด้วยน้ำของชิงช้าชาลีมี Phagocytic index สูง สามารถระงับการเจริญของ Mycobacterium tuberculosis ภายนอกร่างกายได้[5]
  • ใบ มีปริมาณของโปรตีนสูง มีฟอสฟอรัสและแคลเซียมในปริมาณปานกลาง เถามี Glucoside รสไม่ขมชื่อ giloinin และ golo-sterol รสขม ชื่อ giloin glucosides และยัง พบแอลคาลอยด์อีก 3 ชนิด fatty acids และessential oilในพืชนี้และเมื่อเร็วๆนี้มีผู้พบสารรสขม chasmanthin columbinและ palmarin และมีนักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งพบสารรสขมอีก 3 ชนิด คือ tinosporol,tinosporic acid และ tinosporan [5]
  • มีการทดลองกับหนูที่เป็นเบาหวาน พบว่าการใช้สารสกัดจากรากด้วยแอลกอฮอล์ เป็นเวลานาน 6 อาทิตย์สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำหนักของหนูทดลองได้ ข้อมูลเมื่อปี ค.ศ.2003 ประเทศอินเดีย ใน Annamalai University[5]
  • มีการทดลองใช้สารสกัดในกระต่าย พบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้จากการทดลองเมื่อปี ค.ศ.1992 ประเทศอินเดีย[5]
  • มีการทดสอบความเป็นพิษด้วยการฉีดสารสกัดด้วยเอทานอลกับน้ำ เข้าช่องท้องของหนูถีบจักร ในอัตราส่วน 1:1 พบว่าขนาดที่สัตว์ทดลองทนสูงสุดคือ 250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม[5]
  • มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ต้านไวรัส ลดความดันโลหิต แก้ปวด ขับปัสสาวะ ลดการอักเสบ[5]
  • มีฤทธิ์แก้ปวดและลดการอักเสบแต่ไม่มีฤทธิ์ลดไข้ ข้อมูลจากการทดลองในสัตว์[3]

สรรพคุณของชิงช้าชาลี

1. เถา สามารถช่วยแก้อาการเกร็งได้ [1],[2],[5]
2. เถา ช่วยในการทำเป็นยาแก้อักเสบและแก้พิษอักเสบได้ [1],[2],[5]
3. สามารถรักษาฝีได้ โดยการใช้ใบสดนำมาตำพอก(ใบ)[4]
4. แก้ไฟลามทุ่ง (erysipelas) ได้โดยการใช้ใบอ่อนผสมกับน้ำนมทา(ใบ)[1],[2]
5. สามารถช่วยในการดับพิษทั้งปวงได้ โดยการใช้ใบทำเป็นยาถอนพิษ (ใบ)[1],[2],[4]
6. ใบเป็นรสขมเมาสามารถใช้เป็นยาบำรุงน้ำดี แก้ดีพิการได้ (ใบ)[1],[2],[4]
7. สามารถใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องเฟ้อได้โดยการนำดอกและรากมาทำ(รากและดอก)[5]
8. ช่วยแก้รำมะนาด แก้อาการปวดฟันได้(ดอก)[2]
9. รากอากาศ สามารถทำให้อาเจียนอย่างแรงได้ [1],[5]
10. สามารถแก้โลหิตอันเป็นพิษ ช่วยบรรเทาอาการกระหายน้ำ แก้ร้อนใน โดยการใช้เถาเป็นยา(เถา)[4],[6]
11. ทำเป็นยาลดเบาหวานโดยการใช้น้ำต้มจากทั้งต้นมาทำ(ทั้งต้น)[5]
12. ช่วยทำให้เจริญอาหาร ทำยาบำรุงธาตุ แก้ธาตุไม่ปกติ(เถา)[1],[2],[3],[4],[5] อีกข้อมูลพบว่าทำเป็นยาแก้ธาตุพิการได้ โดยใช้รากและดอกมาทำเป็นยา (รากและดอก)[5]
13. สามารถช่วยแก้อาการปวดเมื่อยได้โดยใช้รากและดอกมาทำเป็นยา(รากและดอก)[5]
14. สามารถช่วยรักษาอาการปวดได้ โดยการนำใบสดมาตำพอก(ใบ)[1],[2],[4]
15. สามารถใช้แก้พิษฝีดาษ แก้ฝีกาฬ อันบังเกิดเพื่อฝีดาษโดยการใช้เถามาเป็นยา (เถา)[1],[2],[4]
16. สามารถทำเป็นยาฆ่าพยาธิ พยาธิผิวหนังโดยการใช้ใบมาทำ (ใบ)[1],[2],[4]
17. ช่วยในการรักษาแผลได้ โดยการนำใบมาบดผสมกับน้ำผึ้ง(ใบ)[1],[2],[5]
18. สามารถช่วยแก้ดีซ่านได้(ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[6]
19. สามารถทำเป็นยาแก้โรคทางเดินปัสสาวะโดยการใช้เถามาทำ(เถา)[1],[2],[5]
20. เป็นยาขับพยาธิในท้อง ในฟัน ในหูได้โดยการใช้ดอก(ดอก)[2],[4]
21. เป็นยาแก้แมลงเข้าหูได้ เนื่องจากดอกมีรสขมเมา(ดอก)[2]
22. ใช้เป็นยาแก้ไข้พิษร้อนได้ เนื่องจากรากอากาศมีรสเย็น (รากอากาศ)[1]
23. มีสรรพคุณใช้เป็นยาแก้ไข้ ไข้มาลาเรีย ไข้มาลาเรียที่จับเว้นระยะ (antiperiodic) ทำให้เลือดเย็นไข้กาฬ ไข้เหนือ โดยการนำเถามาใช้และสามารถใช้แทนเถาบอระเพ็ดได้(เถา)[1],[2],[3],[4],[5],[6]
24. สามารถใช้เป็นยาแก้มะเร็งได้ (เถา, ใบ)[1],[2],[4]
25. มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลียเนื่องจากเถามีรสขมเย็น (เถา)[1],[2],[4],[5]

สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ชิงช้า ชาลี (Chingcha Chali)”. หน้า 106.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “ชิงช้า ชาลี”. หน้า 110.
3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ชิง ช้า ชาลี Heart-leaved Moonseed”. หน้า 203.
4. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ชิงช้าชาลี”. หน้า 269-270.
5. หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “ชิงช้า ชาลี”. หน้า 81-82.
6. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ชิงช้าชาลี”. เข้าถึงได้จาก : www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/. [05 ม.ค. 2015].
7. https://medthai.com/

อ้างอิงรูปจาก
1. https://cpreecenvis.nic.in/