พรมมิแดง
เมื่อกล่าวถึงพืชสมุนไพรแล้วนั้น พืชสมุนไพรก็ต่างมีอยู่ด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์ มีสรรพคุณและประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป หรืออาจจะเหมือนกันแต่การนำมาใช้ก็ย่อมจะแตกต่างกันไป ชื่อวิทยาศาสตร์: Trianthema triquetra Rottler & Willd. จัดอยู่ในวงศ์: วงศ์ผักเบี้ยทะเล (AIZOACEAE)[1] ชื่ออื่น ๆ ผักเบี้ย (จังหวัดราชบุรี, ชลบุรี และในภาคกลาง), พรมมิ (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์), อือลังไฉ่ อุยลักก๊วยโชะ (ในประเทศจีน) เป็นต้น[1]
ลักษณะของพรมมิแดง
- ต้น
– จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มักจะขึ้นตามดินปนทราย[1]
– ประเทศไทยสามารถพบได้ที่จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
– ต่างประเทศสามารถพบได้ในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย และออสเตรเลีย (Phuphathanaphong, 2005)
– มีขนาดความสูงที่ไม่สูงมากนักดูแล้วค่อนข้างเตี้ย โดยลำต้นนี้จะแตกกิ่งก้านสาขาออกไปที่บริเวณโคนต้น และกิ่งก้านที่แผ่ออกมานั้นจะทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน
– ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด - ใบ
– ใบออกเรียงตรงข้ามกัน
– ลักษณะรูปร่างของใบจะเป็นรูปเรียวแคบ และตรงโคนก้านใบจะแผ่ออกเป็นกาบ
– ก้านใบสั้น[1]
– ใบมีความกว้างอยู่ที่ประมาณ 0.05-0.2 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 0.15-0.7 เซนติเมตร - ดอก
– ดอกออกเป็นช่อ ๆ กระจุกตัวกันอยู่ โดยดอกจะออกที่บริเวณซอกใบ
– มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ
– ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่ 5 อัน โดยเกสรเพศผู้นี้จะอยู่สลับกันกับกลีบดอก[1] - ผล
– ผลเป็นแบบฝัก
– ฝักมีขนาดที่เล็ก โดยฝักจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 3 มิลลิเมตร - เมล็ด
– โดยภายในฝักนั้นจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 2 เมล็ด
– เมล็ดจะมีสีเป็นสีดำ และเมล็ดมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปไต[1]
สรรพคุณ ประโยชน์ ของต้นพรมมิแดง
1. ลำต้นรสชาติเย็น และมีความขมเล็กน้อย ใช้ทำเป็นยาดับพิษไข้หัว เช่น รักษาอาการไข้ รักษาโรคฝีดาษ แก้อาการกระหายน้ำ แก้อาการร้อนใน เป็นต้น แต่โดยส่วนมากแล้วมักจะนำส่วนของลำต้นนำมาปรุงเป็นยาเขียว มีฤทธิ์ในการดับพิษร้อนทั้งปวง (ต้น)[1]
2. ลำต้นนำมาใช้ทานเป็นยาขับเลือดได้ (ต้น)[1]
3. บางข้อมูลระบุเอาไว้ว่า ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ แก้อาการร้อนใน และแก้อาการกระหายน้ำได้แล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษตานซาง และแก้อาการอักเสบบวมได้อีกด้วย (ข้อมูลจาก : www.songkhlaportal.com by เวสท์สงขลา)
4. ใบนำมาใช้ทานเป็นยาขับเสมหะได้ (ใบ)[1]
5. ดอกสามารถนำมาใช้ทำเป็นยารักษาโรคประจำเดือนที่จางใสได้ (ดอก)[1]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
เอกสารอ้างอิง หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “พรม มิ แดง”. หน้า 532-533.
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.inaturalist.org/guide_taxa/1183369
2.https://www.picturethisai.com/wiki/Trianthema.html