อรพิม
อรพิม มาจากชื่อของพระยาวินิจวนันดร นักพฤกษศาสตร์ชาวไทยในอดีต ผู้ที่เป็นคนค้นพบพันธุ์ไม้ชนิดนี้เป็นคนแรก เป็นไม้ประจำถิ่นของไทย พบทางภาคกลางตามป่าผลัดใบและป่าละเมาะ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia winitii Craib ชื่อวงศ์ : CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE
ชื่อท้องถิ่น : คิ้วนาง (ภาคกลาง)
ลักษณะอรพิม
- ต้น
– เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ เป็นสีน้ำตาล
– เป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่นของเมืองไทย
– สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
– เติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้นและดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี
– สามารถพบได้ทางภาคเหนือตอนล่าง ทางภาคกลาง และทางภาคตะวันตกเฉียงใต้
– จะขึ้นตามป่าผลัดใบ ป่าละเมาะ หรือตามที่โล่งบนเขา [1],[2],[3] - ดอก
– เป็นช่อกระจะขนาดใหญ่
– ดอกย่อยมีก้านเรียงสลับกันบนแกนกลาง
– ช่อดอกยาว 13-17 เซนติเมตร
– ก้านช่อยาว 1-2.5 เซนติเมตร
– ดอกย่อยเป็นสีขาว
– กลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นรูปรี
– กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ แยกจากกัน เป็นสีครีมรูปไข่กลับ
– มีเกสรเพศเมีย 1 อัน มีขนสีน้ำตาล
– ออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน[1],[2],[3] - ผล
– เป็นฝักแบนรูปใบหอก
– เป็นสีน้ำตาลอมแดง
– มีความกว้าง 3.5-7 เซนติเมตร และยาว 12-30 เซนติเมตร
– ก้านผลมีความยาว 6-9.5 เซนติเมตร
– เมื่อแก่แล้วจะแตกออก
– มีเมล็ด 6-10 เมล็ด มีความแบน
– มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร[1],[2]
สรรพคุณและประโยชน์ อ ร พิ ม
– เปลือกต้น เป็นยาแก้ท้องเสีย[1],[2]
– เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ
– แก้บิด
– ช่วยขับเสมหะ
– เปลือก สามารถนำเส้นใยมาใช้ทำเชือกได้[3]
– เปลือก ใช้เคี้ยวกินกับหมากได้[1],[3]
– นำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามริมรั้ว ริมทางเดิน[3]
สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “อ ร พิ ม (Ora Phim)”. หน้า 338.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “อ ร พิ ม”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 196.
3. สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “อ ร พิ ม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm. [25 ก.ค. 2014].