โรคไบโพลาร์ ( Bipolar Disorder )

0
3296
โรคไบโพลาร์ ( bipolar disorder ) เป็นภาวะสุขภาพจิตที่ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนรุนแรงซึ่งรวมถึงอารมณ์ขึ้นๆลงๆซึ่งจะมีอาการซึมเศร้าสลับกับอารมณ์ดี
โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder )
โรคไบโพลาร์ ( bipolar disorder ) เป็นภาวะสุขภาพจิตที่ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนรุนแรงซึ่งรวมถึงอารมณ์ขึ้นๆลงๆซึ่งจะมีอาการซึมเศร้าสลับกับอารมณ์ดี

โรคไบโพลาร์ คือ

โรคไบโพลาร์ ( Bipolar Disorder ) เป็น ภาวะสุขภาพจิตที่ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนรุนแรงซึ่งรวมถึงอารมณ์ขึ้นๆลงๆซึ่งจะมีอาการซึมเศร้าสลับกับอารมณ์ดี สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยปกติพบมากในวัยรุ่นอายุ 20 ปีขึ้นไปอาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลและช่วงเวลา ความผิดปกติของสองขั้วอาจรวมถึงมีอาการซึมเศร้าสลับกับช่วงไฮโปเมเนีย ( Hypomania ) อาการสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดในอารมณ์และพฤติกรรมส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมานอย่างมาก ทำให้เกิดปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนทั้งในที่ทำงาน โรงเรียน และกิจกรรมทางสังคมรวมถึงความสัมพันธ์ในครอบครัว หากมีอาการรุนแรงต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

สาเหตุของโรคไบโพลาร์

ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคไบโพลาร์ ( bipolar disorder ) แต่อาจมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

    • ปัจจัยทางชีวภาพ เช่น ความผิดปกติของสมองหรือระบบประสาท
    • ปัจจัยทางพันธุกรรม เช่น พบคนในครอบครัวเคยมีผู้ป่วยโรคไบโพลาร์
    • ปัจจัยทางสังคม เช่น ถูกกดดันในที่ทำงาน โรงเรียน รวมถึงการใช้สารเสพติดหรือดื่มแอลกอฮอล์
    • ปัจจัยอื่น เช่น มีความเครียดสะสมทางการเงิน เหตุการณ์ที่เจ็บปวด การสูญเสียคนอันเป็นที่รักไป

อาการของโรคไบโพลาร์

    • ความผิดปกติของอารมณ์
    • อาการซึมเศร้า หดหู่
    • หงุดหงิดง่าย
    • ความรู้สึกไร้ค่า
    • บ้าคลั่ง
    • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
    • ไม่อยากอาหาร หรือกินมากกว่าปกติ
    • น้ำหนักลด หรือเพิ่มผิดปกติ
    • นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป
    • ความสนใจในกิจกรรมต่างๆ ลดน้อยลง
    • ไม่มีความกระตือรือล้น หรือทำอะไรช้าลง
    • สมาธิสั้น
    • พยายามฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายตัวเอง  

การดูแล และป้องกันโรคไบโพลาร์

    • สังเกตพฤติกรรม อารมณ์ของผู้ป่วยก่อนอาการกำเริบ
    • ศึกษาและทำความเข้าใจผู้ป่วย
    • อย่าปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่ตามลำพัง
    • หากิจกรรมให้ผู้ป่วยได้ทำ เช่น ดูหนังที่ผู้ป่วยชอบ เล่นเกมส์ พูดคุย หรือพาไปในสถานที่ใหม่ๆ
    • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

แม้ว่าโรคไบโพลาร์นั้นเป็นอาการที่เกิดขึ้นตลอดชีวิตคุณสามารถจัดการกับอารมณ์แปรปรวนและอาการอื่น ๆ ได้โดยทำตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งคัดส่วนใหญ่โรคไบโพลาร์จะได้รับการรักษาด้วยยา และการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาหรือเรียกอีกอย่างว่า ” จิตบำบัด ”

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง
โรคไบโพลาร์ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org [9 พฤษภาคม 2562].