มะหิ่งแพะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crotalaria chinensis L. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Crotalaria akoensis Hayata, Crotalaria kawakamii Hayata, Crotalaria sinensis J.F.Gmel. จัดอยู่ในวงศ์ วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[2] ชื่ออื่น ๆ ดอกคอน (จังหวัดเลย), ผักฮงหาย (จังหวัดนครราชสีมา), มะหิ่งแพะ (จังหวัดลำพูน)[1]
ลักษณะของต้นมะหิ่งแพะ
- ต้น
– เป็นพันธุ์ไม้ประเภทล้มลุก
– ลำต้นมีความสูงอยู่ที่ 15-60 เซนติเมตร
– ต้นมีอายุขัยเพียงฤดูเดียวเท่านั้น
– ลำต้นมีลักษณะต้นที่ตั้งตรง โดยลำต้นจะแตกกิ่งก้านออกจากรอบ ๆ ลำต้น
– กิ่งก้านมีขนสีน้ำตาลแดงขึ้นปกคลุม[1] - ใบ
– ออกใบในลักษณะที่เป็นใบเดี่ยว โดยใบจะออกเรียงสลับกัน
– ใบจะเป็นรูปวงรีแกมขอบขนาน รูปขอบขนานแกมใบหอก รูปขอบขนานแกมไข่กลับ หรือเป็นรูปใบหอก
– แผ่นใบมีขนขึ้นปกคลุมทั้งสองด้าน[1]
– ใบมีขนาดความกว้างอยู่ที่ 0.5-2 เซนติเมตร และมีความยาวอยู่ที่ 2.5 เซนติเมตร - ดอก
– ออกดอกในลักษณะที่เป็นช่อ โดยจะดอกออกที่บริเวณซอกใบหรือบริเวณที่ปลายกิ่ง
– ช่อดอกจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 2-5 ดอก กลีบดอกมีสีเป็นสีเหลือง ดอกมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปดอกถั่ว[1] - ผล
– ออกผลในรูปแบบของฝัก ลักษณะรูปร่างของฝักเป็นรูปขอบขนาน
– ในฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 15-20 เมล็ด[1]
สรรพคุณของต้นมะหิ่งแพะ
1. ตำรายาพื้นบ้านของล้านนาจะนำทั้งต้น มาต้มกับน้ำใช้สำหรับอาบเป็นยาแก้ฟกบวมตามร่างกายได้ (ทั้งต้น)[1]
2. รากนำมาใช้ทานเป็นยาสำหรับถอนพิษยาเบื่อเมาได้ (ราก)[1]
3. ตำรายาของไทยจะนำรากมาใช้เป็นยาสำหรับแก้พิษไข้เนื่องจากอาการอักเสบ และนำมาใช้ดับพิษร้อนได้อีกด้วย (ราก)[1]
สั่งซื้อ อาหารเสริม เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค สำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth
เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “มะหิ่งแพะ”. หน้า 82.
อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.jardineriaon.com/