กระจับนก กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้

0
1336
กระจับนก
กระจับนก กับสรรพคุณและประโยชน์น่ารู้ เป็นพรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก ดอกเล็ก ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลแก่สีชมพูหรือสีแดงเข้ม เมล็ดเล็กสีดำ
กระจับนก
เป็นพรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก ดอกเล็ก ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลแก่สีชมพูหรือสีแดงเข้ม เมล็ดเล็กสีดำ

กระจับนก

ไม้ยืนกระจับนก เป็นพรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก เป็นยาสมุนไพรไทยพื้นบ้าน พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณริมห้วยหรือป่าดิบชื้น ลำธาร ชื่อวิทยาศาสตร์ Euonymus cochinchinensis Pierre (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Euonymus similis Craib.) จัดอยู่ในวงศ์กระทงลาย (CELASTRACEAE)[1],[4] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ มะดะ (เชียงราย), กระจับนก (เชียงใหม่), นางใย, อึ่งเปาะ (อุบลราชธานี), ตานขี้ม้า, ตาสีไสว, มะดะ, มะหากาหลัง (ภาคเหนือ), กระดูกไก่ ชะแมง (ภาคใต้), คอแห้ง[1],[3],[4]

ลักษณะของต้นกระจับนก

  • ลักษณะของต้น[1],[2],[3],[4]
    – เป็นพรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ขนาดเล็ก
    – มีความสูงได้ถึง 10-12 เมตร
    – มีเส้นรอบวงยาวประมาณ 5.5 นิ้ว
    – เปลือกต้นบาง มีสีน้ำตาลครีม
    – มีร่องแตกตามยาวแคบ ๆ
    – แตกกิ่งก้านเล็ก มีสีเขียว
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งและการเพาะเมล็ด
    – เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ทนต่อความร้อนได้ดี
    – มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน กัมพูชา และภูมิภาคมาเลเซีย
    – ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค
    – สามารถพบได้ขึ้นตามลำธาร ตามป่าดิบแล้งในระดับต่ำจนถึงความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,500 เมตร
  • ลักษณะของใบ[1],[2],[3],[4]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ใบเป็นรูปรีหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบสอบเข้าหากัน
    – ขอบใบเรียบหรือเป็นหยักตื้นห่าง ๆ ค่อนไปทางปลายใบ
    – ใบมีความกว้าง 2.5-7 เซนติเมตร และยาว 4.5-16 เซนติเมตร
    – ผิวเนื้อใบบาง ไม่มีขน
    – ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน
    – เส้นใบเห็นได้ไม่ชัดเจน
    – เส้นใบข้างมี 7-11 คู่ จรดกันที่ขอบใบ
    – ก้านใบยาว 3-8 มิลลิเมตร
    – มีหูใบแคบ ๆ ร่วงง่าย
    – กิ่งก้านเป็นมัน
  • ลักษณะของดอก[3]
    – ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง
    – จะออกตามง่ามใบ แต่ส่วนมากจะออกตรงโคนกิ่งที่ออกใหม่
    – มีความยาว 3-10.5 เซนติเมตร
    – ก้านช่อดอกยาว 1.3-8 เซนติเมตร
    – ใบประดับมีขนาดเล็กมาก
    – ขอบเป็นครุย
    – ดอกมีขนาดเล็ก
    – กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ มีรูปร่างคล้ายไต
    – ขอบกลีบเป็นครุยสั้น
    – กลีบดอกมี 5 กลีบ
    – สีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองอมเขียว เป็นรูปไข่กลับ ขอบเป็นครุย
    – จานฐานดอกหนา เป็นรูปวงแหวนหรือเป็นห้าเหลี่ยม
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ที่ขอบจานฐานดอก
    – ก้านชูอับเรณูแบน และสั้นมาก
    – อับเรณูเป็นรูปสามเหลี่ยม
    – รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ
  • ลักษณะของผล[1],[2],[3],[4]
    – ผลเป็นรูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม
    – มีรูปร่างคล้ายกับระฆังคว่ำ
    – มีความยาว 1 เซนติเมตร
    – ปลายผลนูน
    – โคนผลจะเล็กกว่าปลายผล
    – ปลายผลหยักเว้าเป็นพู 5 พู
    – ผลอ่อนเป็นสีเขียว
    – ผลแก่จะเป็นสีชมพูหรือสีแดงเข้ม
    – ผลแก่จัดจะแตกออกเป็น 5 ซีก จะแตกตรงกลางพู
    – แต่ละซีกมีเมล็ด 1 เมล็ด
  • ลักษณะของเมล็ด[1],[2],[4]
    – เมล็ดเป็นสีดำ
    – มีขนาดเล็กมาก
    – เป็นมัน
    – มีเยื่อสีส้มหรือสีแดงปกคลุมที่ขั้ว
    – เมล็ดเป็นรูปรี
    – ปลายและโคนมน
    – มีความยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร

สรรพคุณของกระจับนก

  • ราก สามารถนำมาฝนกับน้ำกินเป็นยาแก้เมาเห็ดได้[4]
  • ราก สามารถนำมาแช่น้ำหรือใช้ฝนกับน้ำกินเป็นยาแก้ผิดสำแดง[4]
  • ลำต้น สามารถนำมาต้มกับน้ำดื่มบำรุงเลือดได้[4]
  • เปลือก สามารถนำมาดองหรือแช่ในเหล้าโรง และใช้ดื่มกินก่อนอาหาร เป็นยาช่วยเจริญอาหาร ช่วยให้อยากอาหาร[1],[2],[4]

ประโยชน์ของกระจับนก

  • สามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้[5]
  • เนื้อไม้ สามารถใช้ทำเครื่องประมงได้[5]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “กระ จับ นก”. หน้า 8-9.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “กระ จับ นก”. หน้า 2.
3. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กระ จับ นก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [09 ก.ค. 2015].
4. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “มะหากาหนัง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [09 ก.ค. 2015].
5. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “กระ จับ นก”. อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้ป่าชายหาด หน้า 2 (มัณฑนา นวลเจริญ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : th.wikipedia.org. [09 ก.ค. 2015].