กระจับนก
เป็นพรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก ดอกเล็ก ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลแก่สีชมพูหรือสีแดงเข้ม เมล็ดเล็กสีดำ

กระจับนก

ไม้ยืนกระจับนก เป็นพรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก เป็นยาสมุนไพรไทยพื้นบ้าน พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณริมห้วยหรือป่าดิบชื้น ลำธาร ชื่อวิทยาศาสตร์ Euonymus cochinchinensis Pierre (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Euonymus similis Craib.) จัดอยู่ในวงศ์กระทงลาย (CELASTRACEAE)[1],[4] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ คือ มะดะ (เชียงราย), กระจับนก (เชียงใหม่), นางใย, อึ่งเปาะ (อุบลราชธานี), ตานขี้ม้า, ตาสีไสว, มะดะ, มะหากาหลัง (ภาคเหนือ), กระดูกไก่ ชะแมง (ภาคใต้), คอแห้ง[1],[3],[4]

ลักษณะของต้นกระจับนก

  • ลักษณะของต้น[1],[2],[3],[4]
    – เป็นพรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ขนาดเล็ก
    – มีความสูงได้ถึง 10-12 เมตร
    – มีเส้นรอบวงยาวประมาณ 5.5 นิ้ว
    – เปลือกต้นบาง มีสีน้ำตาลครีม
    – มีร่องแตกตามยาวแคบ ๆ
    – แตกกิ่งก้านเล็ก มีสีเขียว
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งและการเพาะเมล็ด
    – เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ทนต่อความร้อนได้ดี
    – มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน กัมพูชา และภูมิภาคมาเลเซีย
    – ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค
    – สามารถพบได้ขึ้นตามลำธาร ตามป่าดิบแล้งในระดับต่ำจนถึงความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,500 เมตร
  • ลักษณะของใบ[1],[2],[3],[4]
    – ใบเป็นใบเดี่ยว
    – ออกเรียงตรงข้ามกัน
    – ใบเป็นรูปรีหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบสอบเข้าหากัน
    – ขอบใบเรียบหรือเป็นหยักตื้นห่าง ๆ ค่อนไปทางปลายใบ
    – ใบมีความกว้าง 2.5-7 เซนติเมตร และยาว 4.5-16 เซนติเมตร
    – ผิวเนื้อใบบาง ไม่มีขน
    – ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน
    – เส้นใบเห็นได้ไม่ชัดเจน
    – เส้นใบข้างมี 7-11 คู่ จรดกันที่ขอบใบ
    – ก้านใบยาว 3-8 มิลลิเมตร
    – มีหูใบแคบ ๆ ร่วงง่าย
    – กิ่งก้านเป็นมัน
  • ลักษณะของดอก[3]
    – ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง
    – จะออกตามง่ามใบ แต่ส่วนมากจะออกตรงโคนกิ่งที่ออกใหม่
    – มีความยาว 3-10.5 เซนติเมตร
    – ก้านช่อดอกยาว 1.3-8 เซนติเมตร
    – ใบประดับมีขนาดเล็กมาก
    – ขอบเป็นครุย
    – ดอกมีขนาดเล็ก
    – กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ มีรูปร่างคล้ายไต
    – ขอบกลีบเป็นครุยสั้น
    – กลีบดอกมี 5 กลีบ
    – สีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองอมเขียว เป็นรูปไข่กลับ ขอบเป็นครุย
    – จานฐานดอกหนา เป็นรูปวงแหวนหรือเป็นห้าเหลี่ยม
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ที่ขอบจานฐานดอก
    – ก้านชูอับเรณูแบน และสั้นมาก
    – อับเรณูเป็นรูปสามเหลี่ยม
    – รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ
  • ลักษณะของผล[1],[2],[3],[4]
    – ผลเป็นรูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม
    – มีรูปร่างคล้ายกับระฆังคว่ำ
    – มีความยาว 1 เซนติเมตร
    – ปลายผลนูน
    – โคนผลจะเล็กกว่าปลายผล
    – ปลายผลหยักเว้าเป็นพู 5 พู
    – ผลอ่อนเป็นสีเขียว
    – ผลแก่จะเป็นสีชมพูหรือสีแดงเข้ม
    – ผลแก่จัดจะแตกออกเป็น 5 ซีก จะแตกตรงกลางพู
    – แต่ละซีกมีเมล็ด 1 เมล็ด
  • ลักษณะของเมล็ด[1],[2],[4]
    – เมล็ดเป็นสีดำ
    – มีขนาดเล็กมาก
    – เป็นมัน
    – มีเยื่อสีส้มหรือสีแดงปกคลุมที่ขั้ว
    – เมล็ดเป็นรูปรี
    – ปลายและโคนมน
    – มีความยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร

สรรพคุณของกระจับนก

  • ราก สามารถนำมาฝนกับน้ำกินเป็นยาแก้เมาเห็ดได้[4]
  • ราก สามารถนำมาแช่น้ำหรือใช้ฝนกับน้ำกินเป็นยาแก้ผิดสำแดง[4]
  • ลำต้น สามารถนำมาต้มกับน้ำดื่มบำรุงเลือดได้[4]
  • เปลือก สามารถนำมาดองหรือแช่ในเหล้าโรง และใช้ดื่มกินก่อนอาหาร เป็นยาช่วยเจริญอาหาร ช่วยให้อยากอาหาร[1],[2],[4]

ประโยชน์ของกระจับนก

  • สามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้[5]
  • เนื้อไม้ สามารถใช้ทำเครื่องประมงได้[5]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “กระ จับ นก”. หน้า 8-9.
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “กระ จับ นก”. หน้า 2.
3. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กระ จับ นก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/. [09 ก.ค. 2015].
4. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “มะหากาหนัง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [09 ก.ค. 2015].
5. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “กระ จับ นก”. อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้ป่าชายหาด หน้า 2 (มัณฑนา นวลเจริญ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : th.wikipedia.org. [09 ก.ค. 2015].