ถาม-ตอบ ปัญหาอาการเจ็บปวดเมื่อยล้าจากภาวะโรคออฟฟิศซินโดรม

0
4654
ถาม-ตอบปัญหากล้ามเนื้อตึงรั้ง เจ็บปวด เมื่อยล้าโรคออฟฟิศซินโดรม
โรคออฟฟิศซินโดรมเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ
ถาม-ตอบปัญหากล้ามเนื้อตึงรั้ง เจ็บปวด เมื่อยล้าโรคออฟฟิศซินโดรม
โรคออฟฟิศซินโดรมเป็นอาการที่เกิดจากการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ

โรคออฟฟิศซินโดรม

โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด คือ อาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืดอาการปวดในช่วงแรกที่ร่างกายรู้สึกจะเป็นอาการปวดที่รู้สึกเพียงชั่วครูแล้วจะหายไปเอง ซึ่งเกิดขึ้นซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่น นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ขยับร่างกายเปลี่ยนอิริยาบทน้อย ซึ่งอาการเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง เส้นประสาทส่วนปลายถูกกดทับทำให้ชาตามมือ แขน ซึ่งอาการปวดที่มีอาจจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น โดยในช่วงแรกอาการปวดจะเป็นแล้วสามารถหายได้เอง ต่อมาอาการปวดที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นนานขึ้นกว่าจะหาย จนในที่สุดอาการปวดที่เกิดขึ้นไม่ว่าทำอย่างไรก็ไม่หายต้องทำการผ่าตัดจึงจะสามารถทำให้หายปวดได้

อาการออฟฟิศซินโดรม

1. ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก หรือปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียง รวมถึงอาการปวดล้า ซึ่งความรุนแรงจะเริ่มตั้งแต่น้อยจนถึงรุนแรงมาก
2. อาการทางระบบประสาท เช่น เหน็บ ชา เย็น วูบ ขนลุก เหงื่อออกบริเวณที่ปวด มึนงง หูอื้อ ตาพร่า
3. ระบบประสาทถูกกดทับ เช่น ชาบริเวณแขนและมือ หากเส้นประสาทถูกกดทับนานอาจเกิดอาการอ่อนแรง

การรักษาออฟฟิศซินโดรมที่นิยม

1. ยืดกล้ามเนื้อที่ถูกวิธีด้วยตัวเอง
2. กายภาพบำบัดด้วยอุปกรณ์กายภาพบำบัด
3. นวดแผนไทย
4. ฝังเข็ม
5. ยา

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับอาการปวด สาเหตุและวิธีการแก้ไข

ทำไมถึงไหล่และคอมีอาการตึงเกิดขึ้น ?

คำตอบ ศีรษะของคนเราจะมีน้ำหนักประมาณร้อยละ 8 ของน้ำหนักร่างกาย ดังนั้นถ้าเรามีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม ศีรษะจะมีน้ำหนักประมาณ 5.6 กิโลกรัม กระดูกส่วนคอจะโค้งไปด้านหน้าเล็กน้อยเพื่อที่จะทำหน้าที่รับน้ำหนักของศีรษะทั้งหมด และรักษาสมดุลของร่างกายอีกด้วย เวลาที่เราทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์หรือใช้โทรศัพท์เราต้องก้มหน้าเข้าหาหน้าจอเป็นเวลานาน ซึ่งการยื่นหน้าในลักษณะการใช้งานแบบนี้กระดูกส่วนคอจะต้องยืดตรงเพื่อส่งกะโหลกศีรษะไปยังตำแหน่งที่ต้องการ ทำให้กระดูกคอตั้งเหยียดตรงซึ่งหมายถึงว่ากระดูกคอต้องทำงานหนักมากขึ้น

ซึ่งการเหยียดกระดูกคอเป็นเส้นตรงและการอยู่ในท่าเช่นนั้นเป็นเวลานานจึงทำให้เกิดอาการตึงที่ส่วนของไหล่และคอนั่นเอง

อะไรคือสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดเรื้อรัง?

คำตอบ รูปทรงตามธรรมชาติของกระดูกสันหลังคือมีรูปทรงเป็นรูปตัวเอส แต่เมื่อการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ทำให้กระดูกสันหลังมีรูปทรงที่เปลี่ยนไปจากรูปตัวเอสเป็นเส้นตรง ซึ่งจะส่งผลให้กระดูกเกิดการกดทับเส้นประสาท เส้นเลือด หลอดเลือดหรือระบบน้ำเหลืองที่อยู่ภายในกระดูกสันหลัง ซึ่งการกดทับดังกล่าวที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดความเจ็บปวดขึ้น ไม่ว่ากระดูกสันหลังที่ตำแหน่งเกิดการเคลื่อนย้ายจากตำแหน่งเดิมแม้เพียงจุดเดียวก็สามารถสร้างความเจ็บปวดเกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น ซึ่งความเจ็บปวดนี้จะเป็นความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นอย่างเรื้อรัง และจะหายได้ก็ต่อเมื่อกระดูกสันหลังตำแหน่งที่มีความผิดปกติกลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิมเท่านั้น

เมื่อเรารู้สึกว่าตามีอาการล้า ควรทำเช่นไร?

คำตอบ อาการตาล้าเกิดจากการที่เราใช้กล้ามเนื้อบริเวณรอบดวงตามากเกินไปส่งผลให้กล้ามเนื้อมีอาการตึง เครียด ซึ่งมักจะเกิดกับคนที่ต้องทำงานใช้สายตาจดจ้องกับแสงสว่างมากหรือคนที่ต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

วิธีการแก้ไขปัญหาอาการตาล้าสามารถทำด้วยการประคบร้อนที่กล้ามเนื้อรอบดวงตา เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณรอบดวงตาและช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบดวงตาด้วย และการทำงานที่ต้องใช้ดวงตามาก ควรเว้นระยะการใช้ดวงตาด้วยการหลับตาเมื่อรู้สึกล้าที่ดวงตาเกิดขึ้น

นอกจากนั้นควรรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อและสายตาเป็นประจำ เช่น วิตามินเอ เกลือแร่และแคลเซียม เป็นต้น และควรบริการกล้ามเนื้อดวงตาด้วยการกรอกสายตาไปมาอยู่เป็นประจำ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อรอบดวงตา

อาการหัวไหล่ติดไม่สามารถยกแขนขึ้นหรือยกแขนขึ้นได้ยากนั้นเกิดจากอะไร ?

คำตอบ ไหล่เป็นกระดูกโครงสร้างที่ประกอบด้วยกระดูกไหปลาร้า ( Clavicle ) , กระดูกสะบัก ( Scapula ) และกระดูกต้นแขน ( Humerus ) ซึ่งยึดไว้ด้วยกล้ามเนื้อมัดใหญ่ แต่เมื่อใดก็ตามที่เราทำการเคลื่อนไหวหัวไหล่ด้วยท่าทางที่ผิดธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการเอี้ยวตัวมากเกินไป ข้อไหล่ยึดติด การอักเสบของเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆ ข้อไหล่ การ กระแทกของข้อไหล่ด้วยความรุนแรงหรือการที่ขยับข้อไหล่เป็นเวลานานจนเยื่อหุ้มข้อไหล่เกิดอาการบวมและหนาขึ้นจึงทำให้เกิดอาการไหล่ติด

หรือการที่ทำงานด้วยท่าทางเดิมๆ เป็นระยะเวลานานไม่มีการขยับหัวไหล่ ข้อไหล่เลยก็สามารถทำให้เกิดอาการหัวไหล่ยึดได้เช่นกัน

ทำไมสะโพกถึงมีอาการปวดเกิดขึ้นได้ ?

คำตอบ สะโพกสามารถเกิดความเจ็บปวดได้ก็ต่อเมื่อกระดูกเชิงกรานมีรูปทรงที่ผิดปกติ อาการปวดนี้จะมีสองแบบคือ การปวดเพียงข้างใดข้างหนึ่งหรืออาการปวดสะโพกทั้งสองข้างพร้อมกัน ซึ่งอาการปวดสะโพกทั้งสองข้างพร้อมกันจะเกิดจากการผิดรูปของกระดูกเชิงกรานในแนวยาว แต่ถ้ามีอาการปวดที่ข้างใดข้างหนึ่งของสะโพกเพียงข้างเดียวแสดงว่ากระดูกเชิงกรานแนวขวางมีรูปทรงที่ผิดปกติ ซึ่งอาการปวดสะโพกเนื่องจากความผิดปกติของกระดูกเชิงกรานนี้เมื่อเกิดขึ้นเป็นเวลานานจะส่งผลให้กระดูกสันหลังมีอาการผิดรูปทรงได้ในเวลาต่อมา

นอกจากอาการปวดที่สะโพกจะเกิดขึ้นจากการที่กระดูกเชิงกรานมีความผิดปกติแล้วยังเกิดจากการที่กล้ามเนื้ออักเสบได้ด้วยเช่นกัน

ทำไมเราถึงรู้สึกว่าเวลาที่เดินไปข้างหน้าไม่เป็นเส้นตรง ?

คำตอบ การเดินในสภาวะที่กระดูกสันหลังมีรูปทรงตามธรรมชาติ เราจะเดินไปข้างหน้าเป็นเส้นตรงทั้งการทรงตัวและเส้นทางการเดิน แต่ถ้ากระดูกสันหลังมีรูปทรงที่ผิดปกติไป จะทำให้มีการเดินลากเท้าหรือลงน้ำหนักไปที่ขาด้านใดด้านหนึ่งมากกว่าขาอีกด้าน ทำให้เรารู้สึกว่าการเดินของเราไม่เป็นเส้นตรง ซึ่งสามารถสังเกตได้จากพื้นรองเท้าที่ใส่อยู่เป็นประจำว่ามีการสึกเท่ากันทั้งสองข้างหรือไม่ ถ้าพื้นรองเท้าทั้งสองข้างสึกไม่เท่ากันแสดงว่าเราเดินโดยที่กระดูกสันหลังไม่เป็นสันตรง ซึ่งอาจจะส่งผลให้กระดูกสันกลังเกิดการเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งมากกว่า และการที่กระดูกสันหลังเอียงนี้จะไม่มีความเจ็บปวดในระยะแรก แต่เมื่อปล่อยทั้งไว้เป็นเวลานานก็จะส่งผลต่อการแรงตัวได้ ทำให้กล้ามเนื้อในข้างที่มีการเอียงเกิดอาการอักเสบซึ่งเป็นที่มาของอาการปวดกล้ามเนื้อได้

ทำไมถึงรู้สึกเมื่อยมากแม้จะทำการเดินด้วยระยะทางสั้น ๆ ?

คำตอบ อาการเหนื่อยแม้เราจะทำกิจกรรมหรือทำการเดินเพียงระยะทางสั้น ๆ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าร่างกายของเราอ่อนแอ กล้ามเนื้อมีแต่ไขมันไม่มีกล้ามเนื้อที่ช่วยในการเดินจึงทำให้เหนื่อยง่าย แต่ถ้ามีอาการเมื่อยเฉพาะที่ในการเดิน นั่นแสดงว่าเกิดจากการที่กระดูกที่บริเวณดังกล่าวมีรูปทรงที่ผิดปกติทำให้กล้ามเนื้อที่ส่วนดังกล่าวมีอาการเมื่อยล้ามากกว่าที่บริเวณอื่น

อาการขาโก่ง มีความเกี่ยวข้องกับรูปทรงของกระดูกตั้งแต่กำเนิดหรือไม่ ?

คำตอบ อาการขาโก่งเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการที่กระดูกเชิงกรานมีรูปทรงที่ผิดปกติ

โดยกระดูกเชิงกรานจะมีการเปิดออกส่งผลให้ข้อต่อของสะโพกมีการบิดออกจากส่วนของลำตัว ทำให้บริเวณหัวเข่าต้องทำการกางออกเพื่อรองรับและสร้างสมดุลให้กับการทรงตัวของร่างกาย จึงเป็นที่มาของอาการขาโก่งนั่นเอง

หรือในทางกลับกันถ้าข้อต่อของสะโพกมีอาการบิดเข้าหาส่วนของลำตัวก็จะส่งผลให้ข้อเข้าบิดเข้ามาข้างใน ทำให้ขาโก่งเข้าหากัน ซึ่งเป็นลักษณะของอาการขาโก่งอีกแบบหนึ่งด้วย

อาการขาโก่งสามารถรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดหรือการทำไคโรแพรกติกเพื่อให้กระดูกเชิงกรานกลับมามีรูปทรงตามธรรมชาติได้

ทำไมหน้าท้องของคนเราจึงไม่ยุบแม้ว่าน้ำหนักจะลดลงก็ตาม

คำตอบ เมื่อน้ำหนักของเราลดลง แต่ในบางคนยังพบว่ายังมีหน้าท้องอยู่เหมือนเดิม ทำให้รูปร่างกลายเป็นคนท้องที่มีหน้าท้องยื่นออกมา ซึ่งที่จริงแล้วการที่มีหน้าท้องอาจจะไม่ได้มาจากการสะสมของไขมันหน้าท้องก็เป็นได้ แต่เกิดจากการที่กระดูกสันหลังมีความผิดปกติโดยมีการโค้งมาด้านหน้ามาก จึงทำให้หน้าท้องยื่นออกมา ดังนั้นไม่ว่าเราจะลดน้ำหนักมากเพียงไรก็ไม่สามารถที่จะลดหน้าท้องได้ นอกจากการทำให้กระดูกสันหลังกลับมามีรูปทรงตามธรรมชาติจึงจะทำให้หน้าท้องยุบลงไป

การที่หน้าอกมีความหย่อนคล้อยเนื่องจากอายุที่เพิ่มสูงขึ้นเพียงอย่างเดียวใช่หรือไม่ ?

คำตอบ การที่หน้าอกมีความหย่อนคล้อยมีสาเหตุมาจากอายุที่สูงขึ้นก็เป็นปัจจัยหนึ่งเท่านั้น เพราะอาการหน้าอกหย่อนคล้อยที่พบได้ในคนที่มีอายุน้อยก็สามารถพบได้เช่นกัน

ซึ่งสาเหตุของหน้าอกหย่อนคล้อยที่พบได้ในผู้ที่มีอายุน้อยพบว่ามีสาเหตุมาจากการที่การยืนหรือเดินด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น การยืนหลังค่อม การนั่งงอหลัง การเดินก้มตัวห่อไหล่ เป็นต้น ซึ่งท่าทางดังกล่าวจะทำให้กล้ามเนื้อที่บริเวณหน้าอกไม่กระชับมีการหย่อนคล้อยไม่ได้รูปทรงที่สวยงาม

ดังนั้นถ้าเรามีการเราต้องการมีหน้าอกที่เต่งตึงได้รูปทรงที่สวยงาม เราต้องเดิน ยืน นั่งด้วยท่าทางที่อกผ่าย ไหล่พึ่งเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าอกมีความเต่งตึงได้รูป รวมถึงการออกกายบริหารเพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าอกกระชับอยู่ตลอดเวลาก็สามารถช่วยยกกระชับกล้ามเนื้อทำให้หน้าอกสามารถคงรูปทรงได้

ทำไมบริเวณคางจึงดูเหมือนมี 2 ชั้นทั้งๆ ที่น้ำหนักยังเท่าเดิม

คำตอบ การใช้กล้ามเนื้อในการยกใบหน้าขึ้น มีการเกร็งกล้ามเนื้อและคอ ทำให้ระบบน้ำเหลืองที่บริเวณคางทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีการสะสมของเสียที่บริเวณคางจนเกิดเป็นคาง 2 ชั้นให้เห็นอย่างชัดเจน

หรืออีกสาเหตุหนึ่งก็เกิดจากการที่กล้ามเนื้อที่บริเวณคงมีความหย่อนคล้อยเนื่องจากการให้ใช้งานกล้ามเนื้อด้วยท่วงท่าที่ผิดปกติด้วย

ทำไมหุ่นของผู้หญิงหลังคลอดจึงไม่สวยเหมือนเดิม

คำตอบ ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องมาจากเวลาที่ผู้หญิงตั้งท้องนั้น กระดูกเชิงกรานจะมีการขยายขนาดเพื่อรองรับน้ำหนักของทารกที่อยู่ในครรภ์ ทำให้เกิดการบิดเบี้ยวของกระดูกเชิงกรานได้ง่าย ส่งผลให้กระดูกสันหลังมีรูปทรงที่ผิดปกติตามมา ด้วย หรือแม้ฮอร์โมนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในระหว่างที่ตั้งครรภ์ การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวเนื่องจากการรับประทานอาหาร ซึ่งส่วนหนึ่งจะเข้าไปบำรุงทารกในครรภ์แต่อีกส่วนหนึ่งจะอยู่ที่ร่างกายของมารดา ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้รูปร่างของผู้หญิงที่มีการตั้งครรภ์เกิดการเปลี่ยนแปลงไป

ซึ่งสามารถทำการแก้ไขได้โดยหลังจากที่คลอดบุตรออกมาแล้ว ให้ทำการกายบริหารเพื่อช่วยให้กระดูกเชิงกรานกลับมามีรูปทรงตามธรรมชาติก่อนที่จะตั้งครรภ์ โดยการทำไคโรแพรกติกร่วมกับการออกกำลังกายทั่วไป ก็จะสามารถช่วยให้คุณแม่หลังคลอดกลับมามีหุ่นสวยเหมือนเดิมได้

การที่ผิวมีอาการแห้งกร้านอยู่ตลอดนั้นเป็นเพราะพื้นฐานของผิวจริงหรือไม่

คำตอบ ผิวเป็นส่วนที่อยู่ภายนอกสุดของร่างกาย สุขภาพของผิวจะเป็นเช่นไรนั้น ขึ้นอยู่กับสุขภาพของร่างกาย การทำงานของระบบภายใน เช่น ระบบฮอร์โมน ระบบประสาท และระบบภูมิกันโรคของร่างกายว่าเป็นเช่นไร ซึ่งถ้าระบบต่าง ๆ ทำงานผิดปกติก็จะส่งผลให้ผิวหนังแห้ง หยาบกระด้างได้เช่นกัน

แต่อีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้ผิวหนังแห้งกร้าน ก็คือการที่กระดูกสันหลังมีรูปทรงที่ผิดปกติ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าการที่กระดูกสันหลังมีรูปทรงที่ผิดปกติจะทำให้ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันและระบบฮอร์โมนมีการงานที่ผิดปกตินั่นเอง เช่น การเกิดกดทับเส้นประสาทของกระดูกสันหลังที่ส่งผลให้ฮอร์โมนผิปกติ เป็นต้น

ดังนั้นการทำให้กระดูกสันหลังมีรูปทรงตามธรรมชาติ และการพักผ่อนให้เพียงพอก็ย่อมทำให้ผิวพรรณเปล่งหลั่ง เนียนนุ่มได้

ทำไมจึงมีอาการมือเท้าเย็นแม้ว่าร่างกายอบอุ่นขึ้นแล้วก็ตาม

คำตอบ อาการมือเท้าเย็นเกิดขึ้นเนื่องจากการไหลเวียนของเลือดที่บริเวณมือและเท้ามีปริมาณลดลงถือว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ จากความเครียด การอยู่ที่ที่มีอากาศเย็นนานหรือการเป็นโรคบางชนิด เช่น โรคโลหิตจาง หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เป็นต้น

การป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม

1. ออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสมกับอาการอย่างสม่ำเสมอ เช่น การยืดกล้ามเนื้อให้เกิดความยืดหยุ่น
2. ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ปรับระดับโต๊ะและเก้าอี้ให้อยู่ในระดับที่นั่งทำงานในท่าที่สบาย รวมทั้งปรับจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา
3. ปรับเปลี่ยนอิริยาบทเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ระหว่างทำงานควรมีการยืดเหยียดร่างกายเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างน้อยทุก 1 ชั่วโมง

ดังนั้นการดูแลรักษากระดูกสันหลังให้คงรูปร่างตามธรรมชาตินับเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการทำให้สุขภาพร่างกายของเราแข็งแรงปราศจากโรคภัย วันนี้คุณดูแลกระดูกสันหลังของคุณแล้วหรือยัง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

สุรศักดิ์ ศรีสุข. ปวดไหล่ : พิมพ์ครั้งที่ 7 : กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน, 2560. 48 หน้า

นิดดา หงษ์วิวัฒน์. แสงแดด โอสถมหัศจรรย์ แสงแห่งชีวิตที่เป็นยารักษาโรค. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด, 2558., 223 หน้า. ISBN 978-616-284-592-5.