กรดไหลย้อน ( Gastroesophageal Reflux Disease : GERD )
กรดไหลย้อน คือ การไหลย้อนกลับของน้ำย่อยหรือสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารกลับขึ้นมาที่หลอดอาหารเป็นผลจากการขย้อนอาหารขึ้นมาด้วย

กรดไหลย้อน คือ

กรดไหลย้อน ( Gastroesophageal Reflux Disease : GERD ) คือ อาการที่เกิดจากการไหลย้อนกลับของน้ำย่อยหรือสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารกลับขึ้นมาที่หลอดอาหารเป็นผลจากการขย้อนอาหารขึ้นมาพร้อมกับกรดในกระเพาะอาหาร ถึงแม้ว่าจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตแต่อาการที่เกิดขึ้นก็ทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน พบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ร้อยละ 50 ของประชากรวัยทำงานและผู้สูงอายุ

ประเภทของกรดไหลย้อน

1. กรดไหลย้อนธรรมดา หรือ Classic GERD ซึ่งกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาจะอยู่ภายในหลอดอาหารไม่ไหลย้อนเกินกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบน
2. โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง ( Laryngophsryngeal reflux : LPR)

อาการของกรดไหลย้อน

    • อาการปวดแสบร้อน บริเวณหน้าอก ลิ้นปี่ และคอ
    • มีอาการเรอเปรี้ยว คลื่นไส้ หรือมีน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาที่อก หรือคอ
    • เสียงแหบ เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมา
    • ไอเรื้อรังเกิดจากกรดไหลย้อนลงไปในหลอดลม
    • อาการจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย
    • อาการเจ็บหน้าอก
    • อาการหอบหืด
    • รู้สึกคล้ายมีก้อนในคอ หรือแน่นคอ หรือกลืนติดๆ ขัดๆ หรือกลืนลำบาก
    • มีเสมหะอยู่ในคอตลอด
    • หายใจไม่ออกในเวลากลางคืน

การวินิจฉัยอาการกรดไหลย้อน

แพทย์จะทำการวินิจฉัยจากอาการของโรค และรักษาตามอาการเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น อาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจแบบเฉพาะตามขั้นตอนดังนี้ เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การเอกซเรย์กลืนสารทึบแสง การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ การตรวจการบีบตัวของหลอดอาหาร การตรวจวัดความเป็นกรด – ด่างในหลอดอาหาร ซึ่งได้ผลไวที่สุดในการรักษา

การรักษาอาการกรดไหลย้อน

  • ยาลดกรด ( antacids ) ออกฤทธิ์ลดความเป็นกรดของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร

ภาวะแทรกซ้อนของกรดไหลย้อน

  • ยากลุ่มกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ( prokinetics ) เพื่อเพิ่มการบีบรัดเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารทำให้อาหารเคลื่อนออกจากกระเพาะอาหารเร็วขึ้น
  • ยากลุ่ม H2 Receptor Antagonist ออกฤทธิ์ลดความเป็นกรดของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
  • ยกลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊ม ( Proton Pump Inhibitors, PPI ) ยับยั้งกลไกขั้นสุดท้ายในการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร

การป้องกรดไหลย้อน

    • หลีกเลี่ยงความเครียด
    • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
    • ไม่ควรนอนหลังรับประทานอาหารทันที ให้เว้นระยะห่างประมาณ 3 ชั่วโมง
    • งดสูบบุหรี่
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เพราะเป็นการกระตุ้นให้อาการกรดไหลย้อนกำเริบขึ้นมาได้ง่าย
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารจำนวนมาก
    • เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน เป็นการช่วยย่อยอาหารไประดับหนึ่ง
    • ควรหลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดรูปเกินไป โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว
    • เวลานอน ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 6 – 10 นิ้วจากพื้นราบ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

โรคกรดไหลย้อน (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.thaimotility.or.th [4 มิถุนายน 2562].
Gastroesophageal reflux disease (GERD) (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org [4 มิถุนายน 2562].

ขอบคุณคลิปดี ๆ มีสาระจาก หมอปุ้ม พญ. สิรนาถ.