โรคต้อหิน คือ
โรคต้อหิน ( Glaucoma ) คือ กลุ่มโรคที่มีการเสื่อมของขั้วประสาทตา ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น และเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะตาบอดที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดต้อหิน ได้แก่ ความดันตาที่สูง
สาเหตุของโรคต้อลม
ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดต้อลมที่แน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยสำคัญในการพัฒนาโรคมาจากการโดนแสงแดดหรือรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์เป็นเวลานาน บ่อย ๆ หรือเกิดการระคายเคืองดวงตา เช่น อาการตาแห้ง ดวงตาสัมผัสกับสภาพแวดล้อมภายนอกอย่าง ลม ฝุ่นละออง ทำให้เนื้อเยื่อปกติของดวงตามีการเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นแผ่นหรือตุ่มนูน ๆ บริเวณตาขาว เนื่องจากมีการสะสมของโปรตีน ไขมัน หรือแคลเซียม สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะเกิดขึ้นบ่อยในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
อาการของโรคต้อหิน
- ปวดตา
- น้ำตาไหล
- ตามัวลง
- เห็นรุ้งรอบดวงไฟ
ปัจจัยเสี่ยงต้อหิน
- การใช้ยาหยอดตากลุ่มสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
- อุบัติเหตุทางตา เช่น การกระทบกระแทกที่ดวงตา
- พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหิน
ประเภทของต้อหิน
1. ต้อหินมุมเปิด ( primary open angle glaucoma )
เป็นต้อหินที่พบได้บ่อยกว่าต้อหินประเภทอื่น เกิดจากการอุดตันของ trabecular meshwork ทำให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไม่สามารถไหลเวียนออกได้ตามปกติ จึงเกิดความดันตาสูงและส่งผลให้ประสาทตาถูกทำลาย
อาการ : ผู้ป่วยส่วนมากไม่มีอาการแสดงในระยะแรก แต่หากไม่ได้รับการรักษาในระยะเริ่มต้นจะส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นอย่างช้าๆ โดยเริ่มจากด้านข้างและนำไปสู่การตาบอดในที่สุด โดยทั่วไปต้อหินมุมเปิดมักควบคุมได้ด้วยยาหากได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะแรก
2. ต้อหินมุมเปิดที่มีความดันตาปกติ ( normal-tension glaucoma )
ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดต้อหินทั้งที่มีความดันตาต่ำกว่า 22 มิลลิเมตรปรอท ( แม้ความดันตาจะไม่สูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติ แต่มักพบว่าความดันตาอยู่ใกล้กับค่าเพดานบนของค่าปกติ ) โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่
2.1 มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหินชนิดความดันตาปกติ
2.2 เชื้อชาติญี่ปุ่น
2.3 มีประวัติโรคหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด มีภาวะเส้นเลือดหดตัวง่าย ความดันโลหิตต่ำในช่วงกลางคืน ภาวะเลือดหนืด ไมเกรน หรือโรคทางระบบภูมิคุ้มกันบางชนิด
3. ต้อหินมุมปิด ( angle-closure glaucoma )
ต้อหินประเภทนี้พบได้น้อยกว่าต้อหินมุมเปิด เกิดจากการที่มุมตาถูกม่านตาปิดกั้น ส่งผลให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไม่สามารถไหลเวียนออกได้ปกติ เกิดความดันตาสูงตามมา
อาการ : ต้อหินมุมปิดมีอาการแสดงได้แตกต่างกัน ดังนี้
3.1 ต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะเป็นภาวะที่มีความดันตาสูงขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ปวดตาอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน ตาแดง น้ำตาไหล สู้แสงไม่ได้ ตามัว เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ รวมถึงคลื่นไส้อาเจียน
3.2 ต้อหินมุมปิดกึ่งเฉียบพลัน อาการในกลุ่มนี้จะค่อนข้างน้อยและเป็นๆ หายๆ ผู้ป่วยอาจมีแค่อาการปวดศีรษะ ซึ่งการวินิจฉัยค่อนข้างยากหากไม่ได้รับการตรวจตา
3.3 ต้อหินมุมปิดเรื้อรัง มักไม่มีอาการในระยะแรก เนื่องจากการดำเนินโรคเป็นไปอย่างช้าๆ
4. ต้อหินแต่กำเนิด ( congenital glaucoma )
เกิดในทารกหรือเด็กและอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ พบได้น้อยแต่อาการมักค่อนข้างรุนแรงและควบคุมโรคได้ยาก หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกมักจะตาบอด
5. ต้อหินทุติยภูมิ ( secondary glaucoma )
ต้อหินกลุ่มนี้เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุจากโรคทางตาอื่นๆ หรือโรคทางร่างกาย เช่น เคยมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา การอักเสบในลูกตา เนื้องอกในตา ต้อกระจกที่เป็นมาก หรือเบาหวานขึ้นตามาก รวมถึงการใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ทั้งนี้การรักษาขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันตาสูง
6. ภาวะสงสัยต้อหิน ( glaucoma suspect )
ในบางรายอาจพบประสาทตาหรือลานสายตาที่คล้ายคลึงกับคนเป็นโรคต้อหิน โดยมีความดันตาปกติ ซึ่งกลุ่มนี้ต้องได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด
การรักษาต้อหิน
เนื่องจากโรคต้อหินเส้นประสาทตาจะถูกทำลายอย่างถาวร การรักษาจึงเป็นการประคับประคองเพื่อให้ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้นและเพื่อคงการมองเห็นที่มีอยู่ให้นานที่สุด ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นกับชนิดและระยะของโรค
1. ใช้ยา ได้แก่ ยาหยอดตา ยารับประทาน และยาฉีด ซึ่งจักษุแพทย์จะรักษาทีละขั้นตอนแล้วดูผลการตอบสนองต่อการรักษาอย่างใกล้ชิด
2. เลเซอร์ ขึ้นอยู่กับชนิดต้อหิน ใช้เวลารักษาเพียงไม่นาน ส่วนใหญ่มักมีการให้ยาควบคู่ไปด้วยกัน
3. การผ่าตัด วิธีนี้จะใช้เมื่อผู้ป่วยรักษาด้วยยาและเลเซอร์แล้วไม่ได้ผล โดยการผ่าตัดขึ้นกับชนิดและความรุนแรงของต้อหิน สิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจคือ การผ่าตัดรักษาต้อหินเป็นไปเพื่อลดความดันตาไม่ใช่การผ่าตัดต้อออกไปแล้วหายขาด เพราะต้อหินเมื่อเป็นแล้ว ทำได้ดีที่สุดคือควบคุมอาการไม่ให้แย่ไปกว่าเดิม
การป้องกันโรคต้อลม
แม้ว่าสาเหตุการเกิดของโรคที่ไม่ทราบแน่ชัด แต่โรคต้อลมสามารถป้องกันได้ด้วยการเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคขึ้นได้ตามคำแนะนำต่อไปนี้
1.สวมแว่นตาที่มีเลนส์ในการกรองรังสีอัลตราไวโอเลต เอ ( รังสียูวีเอ: UVA ) หรือรังสีอัลตราไวโอเลต บี ( รังสียูวีบี: UVB ) จากดวงอาทิตย์ เพื่อปกป้องดวงตาเมื่อต้องทำงานหรืออยู่ในสถานที่ที่มีแดดจัด
2.หากอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือทำงานในสถานที่แห้ง มีลม และมีฝุ่นละอองเยอะ ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตาจากลม ฝุ่นละออง เศษผง สิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กที่อาจถูกพัดพามากับลมได้เช่นกัน
3.ดูแลดวงตาให้ชุ่มชื่นอยู่เสมอ เมื่อรู้สึกว่าเกิดอาการตาแห้ง อาจลองหยอดน้ำตาเทียม ซึ่งประกอบด้วยสารช่วยหล่อลื่นและให้ความชุ่มชื่นแก่ดวงตา
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
ต้อหิน (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.bumrungrad.com [28 พฤษภาคม 2562].
ตรวจเช็กต้อหินก่อนรู้ตัวเมื่อสาย (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.bangkokhospital.com [28 พฤษภาคม 2562].
ต้อลม (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.pobpad.com [28 พฤษภาคม 2562].