โรคตากุ้งยิง ( Stye หรือ Hordeolum )

0
5283
โรคตากุ้งยิง ( Stye หรือ hordeolum )
โรคตากุ้งยิง ( Stye หรือ hordeolum ) เป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ทำให้เกิดการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณเปลือกตา ซึ่งสามารถหายเองได้ พบมากในผู้ที่มีอาการป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยหนังตาอักเสบเรื้อรัง คนที่มีไขมันในเลือดสูง
โรคตากุ้งยิง ( Stye หรือ hordeolum )
โรคตากุ้งยิง ( Stye หรือ hordeolum ) เป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ทำให้เกิดการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณเปลือกตา ซึ่งสามารถหายเองได้

โรคตากุ้งยิง

โรคตากุ้งยิง ( Stye หรือ Hordeolum ) ตือ การติดเชื้อจากแบคทีเรีย Staphylococcus aureus สามารถหายเองได้ พบมากในผู้ที่มีอาการป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยหนังตาอักเสบเรื้อรัง คนที่มีไขมันในเลือดสูง การติดเชื้อนั้นทำให้เกิดการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณเปลือกตา 

สาเหตุที่ทำให้เกิดกุ้งยิง

1.การขยี้ตาบ่อย ๆ เนื่องจากมือไม่สะอาด
2.ใช้เครื่องสำอาง แล้วล้างออกไม่หมดหรือล้างไม่สะอาด
3.ใส่หรือถอดคอนแทคเลนส์ด้วยมือที่ไม่สะอาด
4. ฝุ่นละอองเข้าสู่ดวงตาเกินการละคายเคือง

ประเภทของตากุ้งยิง

ตากุ้งยิงมี 2 ประเภทคือ

1. ตากุ้งยิงชนิดมีหัว

ตากุ้งยิงชนิดมีหัวโผล่ออกมาจากรอบดวงตา เป็นการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณผิวหนังตรงโคนขนตา มีลักษณะเป็นหัวฝีผุดให้เห็นได้อย่างชัดเจนตรงบริเวณขอบตา อีกทั้งยังมีลักษณะเป็นสีเหลืองนูนบวมแดงและเจ็บ

2. ตากุ้งยิงชนิดหัวหลบใน

คือการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณเยื่อบุเปลือกตาบริเวณเนื้อเยื่อสีชมพูที่อยู่ลึกจากขอบตาเข้าไป ต้องปลิ้นเปลือกตาออกมาจึงจะเห็น โดยหัวฝีจะหลบซ่อนอยู่ด้านในของเปลือกตา และมีอาการปวดที่บริเวณดวงตา บางครั้งอาจเกิดการอุดตันของต่อมไขมันบริเวณเยื่อบุเปลือกตานี้ อาจมีการอุดตันของรูเปิดเล็ก ๆ นี้ทำให้มีเนื้อเยื่อรวมกันอยู่ภายในต่อมกลายเป็นตุ่มนูน ไม่มีการเจ็บปวดใด ๆ

อาการตากุ้งยิง

    • คันที่เปลือกตา
    • อาการปวดหนังตา
    • อาการบวมที่เปลือกตา
    • เป็นก้อนที่เปลือกตา
    • บางคนมีหนองไหลออกจากเปลือกตา

การรักษา และข้อควรปฎิบัติระหว่างการรักษาตากุ้งยิง

    • ล้างมือบ่อยๆ
    • งดทาเครื่องสำอาง
    • หลีกเลี่ยงการใส่คอนแทคเลนส์
    • ไม่ควรบีบหนองที่เปลือกตาเอง เพราะอาจทำให้อักเสบมากขึ้น
    • ทำความสะอาดดวงตา วันละ 2 ครั้ง เพื่อกำจัดสิ่งสกปรก
    • รับประทานยาแก้อักเสบ เพื่อบรรเทาอาการปวด
    • ประคบอุ่น 5 – 10 นาที เพื่อลดอาการบวมแดงของเปลือกตา
    • ใช้ยาหยอดตา เพื่อทำรักษาความสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
    • หากอาการรุนแรงแพทย์จะต้องทำการผ่าตัดเพื่อดูดหนองออก ป้องกันการลุกลาม

วิธีป้องกันการเกิดตากุ้งยิง

รักษาความสะอาดร่างกาย โดยเฉพาะคนที่ต้องแต่งหน้าเป็นประจำ เช่น ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเครื่องสำอางบริเวณใบหน้า รอบดวงตา ไม่ควรขยี้ถ้ายังไม่ล้างมือ เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

พญ.เขมวรรณ เวทยไวกูณฐ์. โรคตากุ้งยิง (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.eyestesting.com [1 มิถุนายน 2562].

Dr. Victor Marchione. 2016. Hordeolum Externum (External Eyelid Stye) (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://eyebankthai.redcross.or.th [1 มิถุนายน 2562].