หญ้ายาง สรรพคุณใช้เป็นยาขับน้ำนมของสตรี

0
1464
หญ้ายาง
หญ้ายาง สรรพคุณใช้เป็นยาขับน้ำนมของสตรี เป็นวัชพืชล้มลุกมีอายุปีเดียว ดอกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีสีน้ำตาล
หญ้ายาง
เป็นวัชพืชล้มลุกมีอายุปีเดียว ดอกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีสีน้ำตาล

หญ้ายาง

หญ้ายาง จัดเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนจากทวีปอเมริกา บริเวณอเมริกาใต้และอเมริการกลาง ได้แก่ ในเม็กซิโก , กัวเตมาลา , ปานามา , คอสตาริกา ไปจนถึงโคลัมเบีย เวนซูเอลา และบราซิล เป็นต้น ในปัจจุบันสามารถพบได้ในเขตร้อนต่างๆ ทั่วโลก ที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล จนถึง 1800 เมตร ส่วนในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศและถูกจัดเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง ชื่อสามัญ Mexican fire plant[4], Painted spurge[2],[4] ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Euphorbia heterophylla L.[2],[6] ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Euphorbia heterophylla var. geniculata (Ortega) M.Gómez, Poinsettia geniculata (Ortega) Klotzsch & Garcke), Euphorbia geniculata Ortega อยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น หญ้าน้ำหมึก, ผักบุ้งป่า, ใบต่างดอก, หญ้าหลังอึ่ง, หญ้าหลังอึ่ง, หญ้าสองพันห้าร้อย, จ๊าผักบุ้ง, ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ, ลูกเขยตายแม่ยายชักปรก[2],[3],[4]

ลักษณะหญ้ายาง

  • ต้น (ต้นเขยตายแม่ยายทำศพ)เป็นไม้ล้มลุกทรงเรือนยอดทรงกระบอก ต้นสูงประมาณ 50 เซนติเมตร กว้างประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง เปลือกของลำต้นเป็นสีเขียว ผิวเรียบ เมื่อหักจะมียางสีขาวขุ่น[5]
  • ใบ (ใบลูกเขยตายแม่ยายทำศพ)เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว ใบเป็นรูปรี ที่ปลายใบจะเรียวแหลม ที่โคนใบจะเรียวสอบ ส่วนที่ขอบใบจะเรียบ ใบมีความกว้างประมาณ 6.5 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร การเรียงตัวของใบบนกิ่งตรงข้ามและสลับตั้งฉาก[5]
  • ดอก (ดอกลูกเขยตายแม่ยายทำศพ) จะออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายจะแยกเป็นแฉก 5 แฉก เป็นสีเขียว ไม่มีกลีบดอก เกสรตัวผู้มีสีเหลือง มีเกสรเพศผู้ 4 ก้าน ที่ปลายเกสรเป็นกระเปาะ เกสรตัวเมียมีสีเหลือง มีเกสรตัวเมีย 1 ก้าน ที่ปลายเกสรแยกออกเป็นแฉก 4 แฉก รังไข่เหนือวงกลีบไม่มีกลิ่น[5]
  • ผล (ผลลูกเขยตายแม่ยายทำศพ) จะออกผลเป็นกลุ่ม ผลสดมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีสีน้ำตาล ผลมีลักษณะกลมแป้น มีเมล็ด 3 เมล็ดเป็นสีเขียว มีลักษณะกลมแป้น[5]

ข้อควรระวัง : ต้นมียางสีขาวขุ่นอยู่ทั้งลำต้น ถ้าสัมผัสผิวหนัง พิษของยางจะทำให้ผิวหนังอักเสบ ที่บริเวณก้านใบจะมีขนที่ทำให้เกิดอาการคัน ไม่ควรสัมผัสโดยตรง[5]

สรรพคุณของหญ้ายาง

  • สามารถช่วยรักษาพิษนาคราชได้ (เปลือกต้น)[7]
  • ใช้ยอดอ่อนทานสดประมาณ 3 ใบ จะมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย ยาระบาย สามารถช่วยแก้อาการท้องผูกได้ (ยอดอ่อน)[2],[5]
  • สามารถช่วยขับน้ำนมของสตรีได้ (เปลือกต้น)[7]
  • รากสามารถช่วยกระทุ้งพิษ และช่วยแก้พิษฝีภายในได้ (ราก)[4] อีกข้อมูลระบุว่าใช้เปลือกลำต้นรักษาฝีภายนอกและฝีภายใน (เปลือกต้น)[7]

ประโยชน์ของหญ้ายาง

  • เอายอดอ่อนไปต้มเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกทานได้[2],[5]
  • ใบทำเป็นยาเสพติด เช่น กัญชาและใบกระท่อมได้[8]
  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับริมทางให้เป็นทิวแถว[8]

สั่งซื้อเนสท์เล่ ออรัลอิมแพค อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1.สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ใบต่างดอก“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th/botany/. [17 ธ.ค. 2013].
2.โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). “Painted spurge“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [17 ธ.ค. 2013].
3.พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
4.ฐานข้อมูลสมุนไพร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. “หญ้า ยาง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: thaiherb.most.go.th. [17 ธ.ค. 2013].
5.โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก. “หญ้า ยาง“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.lrp.ac.th. [17 ธ.ค. 2013].
6.สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “หญ้า ยาง Euphorbia heterophylla L.“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: chm-thai.onep.go.th. [17 ธ.ค. 2013].
7.หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).
8.วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ“. อ้างอิงใน: Rob’s plants. “Euphorbia cyathophora“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: th.wikipedia.org/wiki/ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ. [17 ธ.ค. 2013].

อ้างอิงรูปจาก
1. https://www.flickr.com/photos/adaduitokla/7906580864
2. https://www.flickr.com/photos/adaduitokla/7906600598