เชื้อราที่เล็บ เกิดจากอะไร ดูแลรักษาและป้องกันอย่างไร
อาการเชื้อราที่เล็บ จะมีจุดสีขาวหรือสีเหลืองที่ปลายเล็บ เล็บหนาขึ้น เล็บเปลี่ยนสี เกิดขุยหนาใต้เล็บ เล็บแยกตัวออกจากฐานเล็บ หรือเป็นโพรงหรือช่องว่างใต้เล็บ

เชื้อราที่เล็บคืออะไร

เชื้อราที่เล็บ ( Onychomycosis ) คือ โรคที่พบเห็นได้ทั่วไปและติดต่อได้ผ่านการสัมผัส เกิดจากการเจริญเติบโตของเชื้อราที่เล็บ เชื้อราที่พบจะมีทั้งเป็นสายรา หรือยีสต์ที่เล็บ โดยปกติเชื่อราจะมีขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการ ด้วยกล้องจุลทรรศน์หรือการเพาะเชื้อรา

ลักษณะและอาการเชื้อราที่เล็บ

เชื้อราที่เล็บส่วนมากจะไม่มีอาการ บางรายมีผลแทรกซ้อนหลังการติดเชื้อรา เช่น เล็บขบ เล็บขบอักเสบติดเชื้อ หรือ เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน โดยมีอาการดังนี้
1. มีขุยใต้เล็บ
2. เล็บเปลี่ยนสี
3. มีอาการเจ็บที่เล็บ
4. เล็บเปราะหรือเล็บแยกตัวจากฐานเล็บ
5. เกิดโพรงหรือช่องว่างใต้เล็บ
6. คัน บวม หรือแดง

อาการเชื้อราที่เล็บขั้นแรก คือพบจุดสีขาวหรือสีเหลืองที่ปลายเล็บ เล็บหนาขึ้น เล็บเปลี่ยนสี เกิดขุยหนาใต้เล็บ เล็บแยกตัวออกจากฐานเล็บ หรือเป็นโพรงหรือช่องว่างใต้เล็บ

สาเหตุของการเกิดเชื้อราที่เล็บ

เชื้อราที่เล็บมีโอกาสเกิดกับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย พบมากที่เล็บมือโดยเฉพาะนิ้วมือที่ต้องโดนน้ำบ่อย ๆ หรือผู้สูงอายุที่อาจมีโรคร่วมอื่น ๆ ซึ่งมีปัจจัยดังนี้
1. ล้างมือบ่อย หรือต้องทำงานที่ทำให้มือชื้นตลอดเวลา
2. เป็นโรคน้ำกัดเท้า แล้วเชื้อราลุกลามจากบริเวณนิ้วเท้ามาที่เล็บเท้า
3. เป็นโรคเฉพาะบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคสะเก็ดเงิน หรือโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
4. ไม่รักษาความสะอาดของเท้า หรือเดินเท้าเปล่าในพื้นที่ชื้นหรือมีน้ำท่วมขัง
5. สวมใส่รองเท้าที่คับหรืออับชื้น

ดูแลรักษาเชื้อราที่เล็บอย่างไร

เชื้อราที่เล็บสามารถรักษาด้วยตนเองได้ ซึ่งถ้ามีอาการอื่นร่วมควรรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันการลุกลาม โดยวิธีการรักษาเชื้อราที่เล็บหลายวิธี เช่น
1. รักษาความสะอาดของเล็บและหลีกเลี่ยงการทำให้เล็บอับชื้น
2. ใช้กรรไกรตัดเล็บตัดเล็บส่วนที่ติดเชื้อรา
3. การใช้ยารับประทาน
4. การใช้ยาทาเฉพาะที่
5. การใช้วิธีการอื่นๆ ในการรักษา เช่น การถอดเล็บ การใช้แสงเลเซอร์รักษาเชื้อราที่เล็บ

จากบทความนี้เพื่อนๆคงทราบกันแล้วว่าการเกิดเชื้อราที่เล็บสามารถรักษาเองได้แต่อาจใช้เวลานานหลายเดือน และบางครั้งก็ไม่สามารถช่วยให้เชื้อราหายไปทั้งหมดหรือทำให้เล็บที่ผิดปกติกลับมามีลักษณะดังเดิมได้ กรณีผู้ที่มีอาการอื่นแทรกร่วมควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันการลุกลามนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม