วัคซีนไฟเซอร์
วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) มีชื่อทางการว่า BNT162b2 ชื่อบริษัทผู้ผลิต Pfizer, Inc. และ BioNTech คือ วัคซีนประเภท mRNA ที่เป็นการสังเคราะห์สารพันธุกรรมเลียนแบบเชื้อไวรัสขึ้นมา ดังนั้นในวัคซีนจึงไม่ได้มีอนุภาคของเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียที่ตายแล้วอยู่ภายในเลย ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายต่อสู้กับโคโรนาไวรัส และสร้างภูมิคุ้มกันแบบแอคทีฟเพื่อป้องกัน COVID-19 ที่เกิดจากไวรัส SARS-CoV-2 ในบุคคลอายุ 16 ปีขึ้นไป BNT162b2 คือ โมเลกุลสายเดี่ยวที่เข้ารหัสโปรตีนไวรัส S1S2 ที่ปรับให้เหมาะสมเข้ารหัสแอนติเจนของไกลโคโปรตีนป้องกันไวรัส SARS-CoV-2 ส่งผลให้เกิดโปรตีนกลายพันธุ์ของโพรลีนสองตัวที่ยึดโปรตีนเพื่อขัดขวาง S1S2 กระตุ้นแอนติบอดีที่ทำให้ไวรัสมีค่าเป็นกลาง และองค์การอนามัยโลกได้อนุมัติใน 103 ประเทศ
ส่วนประกอบของวัคซีน
สารออกฤทธิ์ของวัคซีนไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค คือ BNT162b2 ซึ่งมีรหัสพันธุกรรมสำหรับโปรตีนขัดขวางการโคโรนาไวรัส ภายในแคปซูลไขมันส่วนผสมทั่วไปที่ใช้ในวัคซีนที่มีอยู่ทั้งในวัคซีน Pfizer และ AstraZeneca ได้แก่
- ซูโครส (น้ำตาล)
- สารควบคุมความเป็นกรด เช่น ฮิสติดีน เกลือโซเดียมและโพแทสเซียม
ปริมาณยาที่แนะนำสำหรับวัคซีนไฟเซอร์เพื่อป้องกันโควิด-19
ปริมาณยาที่ปลอดภัยและประสิทธิภาพของยา BNT162b2 ขนาด 30 ไมโครกรัม หรือ 0.3 มิลลิลิตรต่อครั้ง ฉีดเข้ากล้ามเนื้อส่วนบนแขนทั้งหมด 2 เข็ม ห่างกันเป็นเวลา 21 วัน แล้วนั่งพักเพื่อสังเกตอาการเฉียบพลัน
ของผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เป็นเวลา 30 นาทีหลังการฉีดวัคซีน
วัคซีนโควิดไฟเซอร์ทำงานอย่างไร
เมื่อบุคคลได้รับ BNT162b2 ร่างกายจะกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีตามธรรมชาติ และกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกัน COVID-19
วัคซีนซีนไฟเซอร์ใช้อย่างไร?
รูปแบบยาต้องเจือจางด้วยน้ำเกลือก่อนการฉีดเข้ากล้ามเนื้อส่วนบนของต้นแขน
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ COVID-19 ที่รุนแรง
- โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคหอบหืดรุนแรง
- โรคหัวใจและหลอดเลือดเรื้อรัง
- โรคไตเรื้อรัง
- โรคตับเรื้อรัง
- โรคทางระบบประสาทเรื้อรัง
- โรคเบาหวาน
- ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร้อง
- ความผิดปกติของม้าม
- โรคอ้วนลงพุง
- โรคจิตขั้นรุนแรง
- ผู้ดูแลผู้ป่วย
- ผู้สูงอายุในบ้านพักคนชรา
กลุ่มบุคคลใดบ้างเหมาะได้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ได้บ้าง
- วัคซีนไฟเซอร์เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่อายุระหว่าง 18 ถึง 64 ปีที่มีความเสี่ยงสูงต่อ COVID-19 ที่รุนแรง
- ผู้ที่อายุ 18 ถึง 64 ปีที่มีการสัมผัสกับเชื้อโรคโควิด-19 ในสถาบันหรือจากการประกอบอาชีพที่พบปะผู้คนบ่อยครั้ง
- ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหอบหืด โรคปอด โรคตับ หรือไต
- ผู้ติดเชื้อ HIV
- ผู้ที่เคยติดเชื้อ COVID-19 ในอดีตเป็นเวลา 6 เดือน นับจากวันที่ติดเชื้อ
- สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร แนะนำให้ฉีดวัคซีน Pfizer ป้องกันโควิด-19 สำหรับสตรีมีครรภ์และคุณแม่ช่วงให้นมบุตร เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงจากโควิด-19
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดการคลอดก่อนกำหนด หรือการแท้งบุตรมากขึ้นหากติดเชื้อโควิด-19 ในระหว่างตั้งครรภ์ วิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องแม่และลูกจากความเสี่ยงเหล่านี้คือรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 สองโดส
กลุ่มบุคคลใดบ้างไม่เหมาะได้รับการฉัดวัคซีนไฟเซอร์ได้บ้าง
- เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
- ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่กำลังเข้ารับการรักษาตัวอยู่
- ผู้ที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรง หลังจากได้รับวัคซีนไฟเซอร์เข็มแรก ไม่ควรรับวัคซีนเข็มที่ 2
- ผู้ที่มีอาการแพ้วัคซีนหลังฉีดทันที เช่น ลมพิษ บวม หรือหายใจลำบาก
วัคซีนไฟเซอร์มีประสิทธิภาพแค่ไหน?
วัคซีน Pfizer BioNTech ต้านโควิด-19 มีประสิทธิภาพ 95% ต่อการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ตามอาการ
ผลข้างเคียงที่เป็นไปได้ของ BNT162b2 คืออะไร?
ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดหลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์ BNT162b2 ซึ่งส่งผลกระทบมากกว่า 1 ใน 10 คน คืออาการปวดบริเวณที่ฉีด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หนาวสั่น ปวดข้อและมีไข้ อาการไม่พึงประสงค์เหล่านี้มักมีความรุนแรงน้อยหรือปานกลาง และอาการจะดีขึ้นได้ภายในสองสามวัน
หลังจากการฉีดวัคซีนไฟเซอร์
สถานการณ์โรคโคโรนาไวรัส 2019 หรือ โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลกหลายสิบล้านคนทั้งเด็กเล็ก วัยรุุ่น วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ผู้ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในพื้นที่แออัด รวมถึงเจ้าหน้าที่แนวหน้าหมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เป็นด้านหน้าที่มีความเสี่ยงสูงสุดต่อการติดเชื้อไวรัส Covid-19 วัคซีนไฟเซอร์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่รุนแรงลดความสูญเสียให้ได้มากที่สุด
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม