ลักษณะและสรรพคุณของย่านงด

0
1404
ลักษณะและสรรพคุณของย่านงด ประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือจนถึงภาคใต้ เป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็ง เถากลมเรียบ สีน้ำตาลเข้ม เปลือกต้นเป็นสีเทา มียางใส
ย่านงด
เป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็ง เถากลมเรียบ สีน้ำตาลเข้ม เปลือกต้นเป็นสีเทา มียางใส

ย่านงด

ประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือจนถึงภาคใต้ เป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็ง เถากลมเรียบ สีน้ำตาลเข้ม เปลือกต้นเป็นสีเทา มียางใส ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Poikilospermum suaveolens (Blume) Merr. อยู่ในวงศ์กะลังตังช้าง (URTICACEAE หรือ CECROPIACEAE)[1] ชื่อท้องถิ่นอื่น เช่น ชะไร, ย่านมูรู, มือกอ, เครือเต่าไห้, กุระเปี๊ยะ, โร, ขมัน, เถากะมัน, อ้ายไร, ยาวี [2]

ลักษณะย่านงด

  • ต้น เป็นพรรณไม้เถาเนื้อแข็ง เถากลมเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้ม ที่ตามข้อเถาจะมีรากอากาศงอห้อยลง ที่กิ่งอ่อนและลำต้นนั้นจะมีตุ่มระบายอากาศตามผิว เปลือกต้นมีลักษณะเป็นสีเทา มียางใส[1],[2] มีเขตการกระจายพันธุ์ที่ในอินเดีย อินโดจีน ไปถึงอินโดนีเซีย ประเทศไทยสามารถพบเจอขึ้นได้ทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือถึงภาคใต้ มักขึ้นที่ตามชายป่าดิบชื้นที่มีแสงแดด[3]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบจะออกเรียงสลับที่ตามปลายกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ รูปรีกว้าง ที่ปลายใบทู่หรือติ่งแหลม ส่วนโคนใบนั้นจะมนเว้าเล็กน้อย ที่ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 14 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-26 เซนติเมตร เนื้อใบมีลักษณะหนาเกลี้ยง ที่หลังใบกับท้องใบเรียบ มีเส้นใบจะออกจากจุดฐาน 3 เส้น มีเส้นแขนงใบอยู่ประมาณ 10-12 คู่ เห็นเส้นใบได้ชัด ก้านใบมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลอมแดง มีความยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร จะมีเกล็ดประปราย ยอดอ่อนมีสีน้ำตาลแดง[1],[2],[3]
  • ดอก ออกเป็นช่อที่ตามกิ่ง เป็นดอกแบบแยกเพศ ดอกเพศผู้ออกรวมกันเป็นช่อกลมหรือเป็นก้อนสีชมพูอมแดง มีขนาดประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกเพศเมียรวมเป็นช่อกลม มีขนาดใหญ่กว่า ดอกย่อยติดกันแน่นอยู่ที่บนฐานดอก โคนกลีบดอกเชื่อมติดเป็นหลอดเล็ก ที่ปลายแยกเป็น 4 แฉก มีเกสรเพศผู้อยู่ 2-4 อัน มีรังไข่ 1 ช่อง ไข่อ่อนมี 1 หน่วย[1],[2],[3]
  • ผล เป็นรูปทรงกลม ผลเป็นสีแดงถึงสีน้ำตาลอมแดง ขนาดประมาณ 2-4 เซนติเมตร ก้านช่อผลสามารถยาวได้ถึง 4 เซนติเมตร[1],[3]

สรรพคุณของย่านงด

  • เปลือกจากเนื้อไม้ สามารถนำมาผสมปรุงเป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงครรภ์รักษาสำหรับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ บำรุงประสาท (เปลือกจากเนื้อไม้)[1],[2]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “ย่ า น ง ด”. อ้างอิงใน : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [08 มิ.ย. 2015].
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). “ย่ า น ง ด”. หน้า 132.
3. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ขมัน (Khaman)”. หน้า 57.

อ้างอิงรูปจาก
1.http://www.epharmacognosy.com/2023/04/poikilospermum-suaveolens-blume-merr.html
2.https://www.nparks.gov.sg/florafaunaweb/flora/6/0/6068