ไม้พะยูง
เนื้อแข็ง สีแดงอมม่วง มีน้ำมันในตัว มีลวดลายสวยงาม แก่นหอมร้อนและมีรสขมฝาด เป็นไม้มงคลประจำบ้าน

ไม้พะยูง

ไม้พะยูง เป็นไม้เศรษฐกิจที่มีราคาสูง เนื้อแข็งมีลวดลายสวยงาม ชื่อสามัญ คือ Siamese Rosewood, Thailand Rosewood, Tracwood, Black Wood, Rose Wood[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Dalbergia cochinchinensis Pierre[1],[2],[3] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ประดู่เสน, ขะยูง, ประดู่ตม, แดงจีน, พะยูงไหม[1] เหลือเฉพาะในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลกเท่านั้น ในปัจจุบันจัดเป็นไม้สงวน หากใครมีไว้ในครอบครองจะถือว่ามีความผิด สาเหตุที่คนไทยไม่ใช้ประโยชน์ เป็นเพราะไม้ชนิดนี้มีราคาสูงกับคนไทยมีความเชื่อว่าเป็นของสูง ผู้ที่มีบารมีไม่ถึงไม่สมควรเอามาใช้ [2]

ลักษณะไม้พะยูง

  • ต้น
    – เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
    – มีความสูงได้ถึง 25 เมตร
    – เรือนยอดเป็นรูปทรงกลม
    – เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทา
    – เปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลแกมสีเหลือง
    – เนื้อไม้เป็นสีแดงอมม่วง
    – มีแก่นหอมร้อนและมีรสขมฝาดเล็กน้อย
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการนำเมล็ดมาเพาะให้เป็นต้นกล้า
    – เติบโตได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี
    – มีถิ่นกำเนิดในประเทศเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
    – พบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าราบ ป่าโปร่ง[1],[2],[3]
  • ใบ
    – เป็นช่อแบบขนนกปลายคี่
    – ช่อติดเรียงสลับกัน
    – มีความยาว 10-15 เซนติเมตร
    – ใบและช่อจะมีใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปไข่
    – ติดเรียงสลับ 7-9 ใบ
    – ปลายสุดของช่อใบเป็นใบเดี่ยว
    – ใบเป็นรูปไข่
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบมน
    – ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย
    – ใบมีความกว้าง 3-4 เซนติเมตร และยาว 4-7 เซนติเมตร
    – ก้านใบย่อยยาว 3-6 เซนติเมตร
    – แกนกลางใบประกอบยาว 10-15 เซนติเมตร[2],[3]
  • ดอก
    – เป็นช่อแยกแขนง
    – มีความยาว 10-20 เซนติเมตร
    – กลีบดอกเป็นรูปดอกถั่ว สีขาวนวล
    – เมื่อบานเต็มที่แล้วจะมีความกว้าง 5-8 มิลลิเมตร
    – กลีบดอกมี 5 กลีบ
    – กลีบฐานดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย
    – ขอบหยักเป็น 5 แฉก
    – กลีบคลุมเป็นรูปโล่
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน มีแค่อันบนที่อยู่เป็นอิสระ ส่วนอันอื่นจะอยู่ติดกันเป็นกลุ่ม ๆ
    – รังไข่เป็นรูปรี ภายในมีช่องเดียว
    – หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว
    – จะออกดอกในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม[2],[3]
  • เมล็ด
    – เป็นรูปไต
    – สีน้ำตาลเข้ม
    – มีประมาณ 1-4 เมล็ด
    – ผิวเมล็ดค่อนข้างมัน
    – มีความกว้าง 4 มิลลิเมตร และยาว 7 มิลลิเมตร[3]

สรรพคุณไม้พะยูง

  • ยางสด แก้เท้าเปื่อย[3]
  • ยางสด รักษาโรคปากเปื่อย[1],[2]
  • ราก เป็นยารักษาอาการไข้พิษเซื่องซึม[1],[2],[3]
  • เปลือกต้น รักษาโรคปากเปื่อย [1],[2],[3]
  • เปลือกต้นหรือแก่นพะยูง เป็นยาแก้มะเร็ง[3]

ประโยชน์ไม้พะยูง

  • ผลใช้ทำเป็นไม้ประดับแห้ง[4]
  • เนื้อไม้มีความแข็งแรงทนทาน มีน้ำมันในตัว สามารถนำมาใช้ในการทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ ทำสิ่งประดิษฐ์ งานแกะสลัก[2]
  • สามารถนำมาเลี้ยงครั่งได้ดีชนิดหนึ่ง โดยสามารถให้ผลผลิตสูงถึงต้นละประมาณ 50 กิโลกรัม[2]
  • เป็นไม้มงคลประจำบ้าน จะทำให้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ มีฐานะดีขึ้น ช่วยทำให้ชีวิตไม่ตกต่ำ ช่วยพยุงให้โชคดีมีชัย[3]
  • สามารถปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อให้ร่มเงาที่สาธารณะหรือในบริเวณบ้านได้[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารฟีนอลิกจากลำต้นพะยูงมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5alpha-reductase จึงช่วยลดปริมาณการสร้างฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจนได้ และอาจจะสามารถนำไปพัฒนาเป็นยารักษาโรคได้ในอนาคต[3]
  • ลำต้นพะยูงพบสารในกลุ่มฟีนอลิกและฟลาโวน ได้แก่ 6-hydroxy-2,7-dimethoxyneoflavene, 6,4′-dihydroxy-7-methoxyflavan , 2,2′,5-trihydroxy-4-methoxybenzophenone, 7-hydroxy-6-methoxyflavone, 9-hydroxy-6,7-dimethoxydalbergiquinol[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “พะยูง”. หน้า 552-553.
2. สวนพฤกษศาสตร์ ตามพระราชเสาวนีย์ฯ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “พะยูง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/pattani_botany/. [23 ส.ค. 2014].
3. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “พะยูง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [23 ส.ค. 2014].
4. สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม. “พะยูง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : 203.155.220.217/office/ppdd/publicpark/thai/2011/. [23 ส.ค. 2014]

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.nparks.gov.sg/florafaunaweb/flora/2/8/2835
2.https://www.healthbenefitstimes.com/indian-rosewood-shisham/