สรรพคุณและประโยชน์ของ โกงกางใบใหญ่

0
1655
โกงกางใบใหญ่
สรรพคุณและประโยชน์ของ โกงกางใบใหญ่ เป็นไม้ไม่ผลัดใบขึ้นบริเวณป่าชายเลนที่ใกล้กับทะเล ผลกลมคล้ายไข่ ใต้ใบเลี้ยงเมล็ดงอกยื่นยาวคล้ายฝัก
โกงกางใบใหญ่
เป็นไม้ไม่ผลัดใบขึ้นบริเวณป่าชายเลนที่ใกล้กับทะเล ผลกลมคล้ายไข่ ใต้ใบเลี้ยงเมล็ดงอกยื่นยาวคล้ายฝัก

โกงกางใบใหญ่

โกงกางใบใหญ่ เป็นไม้ไม่ผลัดใบขึ้นบริเวณป่าชายเลนที่ใกล้กับทะเล เปลือกหยาบสีเทาถึงดำ แตกเป็นร่องทั้งตามยาวและขวาง หรือแตกเป็นร่องตาราง สี่เหลี่ยม หากทุบเปลือกทิ้งไว้สักครู่ ด้านในของเปลือกจะเป็นสีเหลืองถึงส้ม โคนต้นมีรากที่ใหญ่และแข็งแรงทำหน้าที่พยุงลำต้น ชื่อสามัญ คือ Red mangrove[1], Asiatisk mangrove[2], Loop-root mangrove[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhizophora mucronata Lam.[2] จัดอยู่ในวงศ์โกงกาง (RHIZOPHORACEAE) เช่นเดียวกับโกงกางใบเล็ก[1],[2] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น กงเกง , กงกางนอก โกงกางนอก, กงกอน, ลาน, กางเกง พังกา พังกาใบใหญ่ เป็นต้น[1],[3],

ลักษณะ

  • ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ โดยมีความสูงประมาณ 20-30 เมตร ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเทา เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ เปลือกในเป็นสีส้ม กระพี้เป็นสีเหลืองอ่อน ส่วนแก่นเป็นสีน้ำตาล สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้ฝักโดยตรง สามารถพบได้ตามชายฝั่งทะเลตะวันออกของแอฟริกา ทวีปเอเชีย ภูมิภาคมาเลเซีย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกไปจนถึงหมู่เกาะตองกา สำหรับในประเทศไทยจะพบได้มากตามริมคลอง ริมชายฝั่งทะเลที่มีน้ำเค็มท่วมถึงเป็นระยะเวลานาน[1],[4]
  • ราก เป็นแบบค้ำจุนขนาดใหญ่ จะงอกจากลำต้นออกเป็นจำนวนมาก แตกแขนงระเกะระกะ เป็นทรงเรือนยอดรูปกรวยคว่ำแบบแคบ ๆ[1],[3]
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตรงข้ามกัน แต่ละคู่ใบจะออกแบบสลับทิศทางกัน ใบเป็นรูปใบมนค่อนไปทางรูปหอก ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแข็งเล็ก ๆ ฐานใบสอบเข้าหากันคล้ายกับรูปลิ่ม หน้าใบเป็นสีเขียวอ่อน เป็นสีเขียวอมเหลือง และยังมีจุดสีน้ำตาลเล็ก ๆ ที่เห็นได้ชัด ใบจะมีความกว้างประมาณ 5-13 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-18 เซนติเมตร ส่วนก้านใบนั้นยาวประมาณ 2.5-5.5 เซนติเมตร หูใบสีแดงเข้มยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร มีไว้หุ้มใบอ่อน[1]
  • ดอก ดอกเป็นช่อแบบ Cymes ในแต่ละช่อนั้นก็จะจะประกอบไปด้วยดอกประมาณ 2-12 ดอก ที่มีสีขาวอมเหลือง โดยมีกลีบอยู่รอบดอก 4 กลีบ กลีบรอบกลีบดอกจะเป็นรูปไข่ โคนกลีบติดกัน ส่วนกลีบดอกนั้นจะเป็นรูปใบหอก ที่มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร และจะมีเกสรตัวผู้จำนวน 8 ก้าน มีความยาวประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร[1]
  • ผล เป็นรูปทรงกลมคล้ายไข่ โดยจะเป็นผลที่งอกก่อนผลจะร่วง ในส่วนใต้ใบเลี้ยงเมล็ดจะงอกยื่นยาวออกมาคล้ายกับฝัก และมักจะเรียกว่า “ฝักโกงกางใบใหญ่” เมื่อผลแก่แล้วจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 36-90 เซนติเมตร[1]

สรรพคุณของโกงกาง

1. ช่วยแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน[1],[6]
2. ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด[1],[6]
3. เปลือกต้น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง (เปลือกต้น)[1],[3],[4],[6]
4. ช่วยแก้บิด บิดเรื้อรัง (เปลือกต้น)[1],[3],[4],[6]
5. เปลือกต้น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาสมาน (เปลือกต้น)[1]
6. เปลือกต้น นำมาตำใช้เป็นยาพอกช่วยห้ามเลือดได้ดีและช่วยสมานแผล (ใบ, เปลือก)[1],[5],[6]
7. เปลือกต้น ใช้ชะล้างแผลและห้ามเลือดได้เช่นกัน (น้ำจากเปลือกต้น)[3],[4]
8. เปลือกต้น นำมาต้มกับน้ำใช้ชะล้างรักษาบาดแผลเรื้อรัง หรือจะใช้น้ำจากเปลือกต้นก็ได้ (เปลือกต้น, น้ำจากเปลือกต้น)[1],[3],[4]

ประโยชน์ของต้นโกงกางใบเล็ก

1. เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำฟืนและถ่านที่มีคุณภาพดีได้[1]
2. สามารถนำมาแปรรูปเพื่อใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ หรือใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ก็ได้[1],[2]
3. ฝักนำมาใช้ทำไวน์[4]
4. เปลือกของต้นโกงกางใบเล็ก สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำสี ทำหมึก ยา ใช้ในการฟอกหนัง ใช้ทำกาวสำหรับติดไม้[1]
5. เปลือกต้น สามารถนำไปใช้ย้อมสีผ้า แห อวน เชือก หนัง ฯลฯ[2],[4]
6. ป่าไม้โกงกางมีความสำคัญอย่างมากสำหรับสัตว์ทะเลจำพวก กุ้ง หอย ปู ปลา เพราะเป็นที่วางไข่และฟักตัวอ่อน
7. ป่าไม้โกงกางมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยป้องกันรักษาชายฝั่งทะเลจากการกัดเซาะของกระแสน้ำ
8. ใช้เป็นแนวกำบังคลื่นลมที่เคลื่อนเข้ามาปะทะชายฝั่งได้อีกด้วย

สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. สวนพฤกษศาสตร์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “โกงกางใบใหญ่“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th. [18 ธ.ค. 2013].
2. Germplasm Resources Information Network (GRIN). “Rhizophora mucronata Lam.“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.ars-grin.gov. [18 ธ.ค. 2013].
3. ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “โกงกางใบใหญ่“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/. [18 ธ.ค. 2013].
4. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “โกงกางใบใหญ่“. อ้างอิงใน: หนังสือพรรณไม้ในป่าชายเลน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2549. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [18 ธ.ค. 2013].
5. ระบบนิเวศป่าชายเลนและแนวปะการัง (ครูพจนาถ นันทวนิช โรงเรียนชลบุรี สุขบท). “โกงกางใบใหญ่“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 202.143.144.83/~pojanart/. [18 ธ.ค. 2013].
6. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. “โกงกาง”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). หน้า 76.

อ้างอิงจากรูป
1.https://www.mozambiqueflora.com/
2.http://www.africanplants.senckenberg.de/