สมี สรรพคุณใช้เป็นยาแก้ไข้

0
1537
สมี
สมี สรรพคุณใช้เป็นยาแก้ไข้ เป็นไม้พุ่ม ต้นมีขนสีขาวปกคลุม ถิ่นไทยพบตามที่ลุ่มชื้นแฉะ หรือในน้ำตื้น ดอกมีลักษณะเป็นสีเหลืองสด กลีบมีประสีน้ำตาล
สมี
เป็นไม้พุ่ม ต้นมีขนสีขาวปกคลุม ถิ่นไทยพบตามที่ลุ่มชื้นแฉะ หรือในน้ำตื้น ดอกมีลักษณะเป็นสีเหลืองสด กลีบมีประสีน้ำตาล

สมี

สมี เป็นไม้พุ่ม ต้นมีขนสีขาวปกคลุม ถิ่นไทยพบตามที่ลุ่มชื้นแฉะ หรือในน้ำตื้น ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Sesbania sesban (L.) Merr. อยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1] มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น สะเภาลม, ผักฮองแฮง [1]

ลักษณะสะเภาลม

  • ต้น เป็นไม้พุ่ม ต้นสูงประมาณ 3-5 เมตร ลำต้นตั้งตรง จะแตกกิ่งก้านได้น้อย ที่ตามต้นนั้นมีขนสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่[1]
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบจะออกเรียงสลับ มีใบย่อยอยู่ประมาณ 12-18 คู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ที่โคนใบจะเบี้ยว ที่ขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบนและแผ่นใบด้านล่างจะเรียบ[1]
  • ดอก ออกเป็นช่อที่ตรงปลายยอด ดอกมีลักษณะเป็นสีเหลืองสด ที่กลีบบนด้านนอกจะมีประสีน้ำตาล ส่วนกลีบเลี้ยงที่โคนจะเชื่อมติดกัน[1]
  • ผล เป็นผลฝัก มีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร มีเมล็ดภายในฝักเป็นจำนวนมาก[1]

สรรพคุณของสะเภาลม

1. สามารถช่วยลดความเย็นในร่างกายได้ (ใบ)[1]
2. คนเมืองใช้กิ่งมาแช่กับน้ำร่วมกับฝอยลม เห็ดลม นำน้ำที่ได้มาอาบเพื่อรักษาตุ่มคัน อาการแพ้ (กิ่ง)[2]
3. สามารถนำใบมาใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ (ใบ)[1]
4. สามารถนำใบมาใช้เป็นยากระทุ้งพิษได้ (ใบ)[1]
5. สามารถนำใบมาใช้เป็นยาเขียวหรือใช้สุมหัวเด็กเป็นยาแก้อาการปวดหัวตัวร้อน และแก้หวัดได้ (ใบ)[1]

ประโยชน์ของสะเภาลม

  • ใบใช้ในพิธีพลีกูณฑ์ของพราหมณ์ (ข้อมูลจาก : พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 )

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ส มี”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [10 มิ.ย. 2014].
2. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “ส มี”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 174.

อ้างอิงรูปจาก
1.http://www.westafricanplants.senckenberg.de/root/index.php?page_id=14&id=1435#
2.https://www.feedipedia.org/node/253