ไม้พะยูง พรรณไม้เศรษฐกิจแบบยั่งยืน

0
1495
ไม้พะยูง
ไม้พะยูง พรรณไม้เศรษฐกิจแบบยั่งยืน เนื้อแข็งเป็นสีแดงอมม่วง มีน้ำมันในตัว มีลวดลายสวยงาม แก่นหอมร้อนและมีรสขมฝาด เป็นไม้มงคลประจำบ้าน
ไม้พะยูง
เนื้อแข็ง สีแดงอมม่วง มีน้ำมันในตัว มีลวดลายสวยงาม แก่นหอมร้อนและมีรสขมฝาด เป็นไม้มงคลประจำบ้าน

ไม้พะยูง

ไม้พะยูง เป็นไม้เศรษฐกิจที่มีราคาสูง เนื้อแข็งมีลวดลายสวยงาม ชื่อสามัญ คือ Siamese Rosewood, Thailand Rosewood, Tracwood, Black Wood, Rose Wood[2] ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Dalbergia cochinchinensis Pierre[1],[2],[3] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ประดู่เสน, ขะยูง, ประดู่ตม, แดงจีน, พะยูงไหม[1] เหลือเฉพาะในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลกเท่านั้น ในปัจจุบันจัดเป็นไม้สงวน หากใครมีไว้ในครอบครองจะถือว่ามีความผิด สาเหตุที่คนไทยไม่ใช้ประโยชน์ เป็นเพราะไม้ชนิดนี้มีราคาสูงกับคนไทยมีความเชื่อว่าเป็นของสูง ผู้ที่มีบารมีไม่ถึงไม่สมควรเอามาใช้ [2]

ลักษณะไม้พะยูง

  • ต้น
    – เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
    – มีความสูงได้ถึง 25 เมตร
    – เรือนยอดเป็นรูปทรงกลม
    – เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทา
    – เปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลแกมสีเหลือง
    – เนื้อไม้เป็นสีแดงอมม่วง
    – มีแก่นหอมร้อนและมีรสขมฝาดเล็กน้อย
    – สามารถขยายพันธุ์โดยการนำเมล็ดมาเพาะให้เป็นต้นกล้า
    – เติบโตได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี
    – มีถิ่นกำเนิดในประเทศเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
    – พบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าราบ ป่าโปร่ง[1],[2],[3]
  • ใบ
    – เป็นช่อแบบขนนกปลายคี่
    – ช่อติดเรียงสลับกัน
    – มีความยาว 10-15 เซนติเมตร
    – ใบและช่อจะมีใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปไข่
    – ติดเรียงสลับ 7-9 ใบ
    – ปลายสุดของช่อใบเป็นใบเดี่ยว
    – ใบเป็นรูปไข่
    – ปลายใบแหลม
    – โคนใบมน
    – ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย
    – ใบมีความกว้าง 3-4 เซนติเมตร และยาว 4-7 เซนติเมตร
    – ก้านใบย่อยยาว 3-6 เซนติเมตร
    – แกนกลางใบประกอบยาว 10-15 เซนติเมตร[2],[3]
  • ดอก
    – เป็นช่อแยกแขนง
    – มีความยาว 10-20 เซนติเมตร
    – กลีบดอกเป็นรูปดอกถั่ว สีขาวนวล
    – เมื่อบานเต็มที่แล้วจะมีความกว้าง 5-8 มิลลิเมตร
    – กลีบดอกมี 5 กลีบ
    – กลีบฐานดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย
    – ขอบหยักเป็น 5 แฉก
    – กลีบคลุมเป็นรูปโล่
    – ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน มีแค่อันบนที่อยู่เป็นอิสระ ส่วนอันอื่นจะอยู่ติดกันเป็นกลุ่ม ๆ
    – รังไข่เป็นรูปรี ภายในมีช่องเดียว
    – หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว
    – จะออกดอกในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม[2],[3]
  • เมล็ด
    – เป็นรูปไต
    – สีน้ำตาลเข้ม
    – มีประมาณ 1-4 เมล็ด
    – ผิวเมล็ดค่อนข้างมัน
    – มีความกว้าง 4 มิลลิเมตร และยาว 7 มิลลิเมตร[3]

สรรพคุณไม้พะยูง

  • ยางสด แก้เท้าเปื่อย[3]
  • ยางสด รักษาโรคปากเปื่อย[1],[2]
  • ราก เป็นยารักษาอาการไข้พิษเซื่องซึม[1],[2],[3]
  • เปลือกต้น รักษาโรคปากเปื่อย [1],[2],[3]
  • เปลือกต้นหรือแก่นพะยูง เป็นยาแก้มะเร็ง[3]

ประโยชน์ไม้พะยูง

  • ผลใช้ทำเป็นไม้ประดับแห้ง[4]
  • เนื้อไม้มีความแข็งแรงทนทาน มีน้ำมันในตัว สามารถนำมาใช้ในการทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ ทำสิ่งประดิษฐ์ งานแกะสลัก[2]
  • สามารถนำมาเลี้ยงครั่งได้ดีชนิดหนึ่ง โดยสามารถให้ผลผลิตสูงถึงต้นละประมาณ 50 กิโลกรัม[2]
  • เป็นไม้มงคลประจำบ้าน จะทำให้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ มีฐานะดีขึ้น ช่วยทำให้ชีวิตไม่ตกต่ำ ช่วยพยุงให้โชคดีมีชัย[3]
  • สามารถปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อให้ร่มเงาที่สาธารณะหรือในบริเวณบ้านได้[4]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

  • สารฟีนอลิกจากลำต้นพะยูงมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5alpha-reductase จึงช่วยลดปริมาณการสร้างฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจนได้ และอาจจะสามารถนำไปพัฒนาเป็นยารักษาโรคได้ในอนาคต[3]
  • ลำต้นพะยูงพบสารในกลุ่มฟีนอลิกและฟลาโวน ได้แก่ 6-hydroxy-2,7-dimethoxyneoflavene, 6,4′-dihydroxy-7-methoxyflavan , 2,2′,5-trihydroxy-4-methoxybenzophenone, 7-hydroxy-6-methoxyflavone, 9-hydroxy-6,7-dimethoxydalbergiquinol[3]

สั่งซื้อ อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เนสท์เล่ ออรัลอิมแพค คลิ๊ก @amprohealth

เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “พะยูง”. หน้า 552-553.
2. สวนพฤกษศาสตร์ ตามพระราชเสาวนีย์ฯ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “พะยูง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/pattani_botany/. [23 ส.ค. 2014].
3. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “พะยูง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [23 ส.ค. 2014].
4. สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม. “พะยูง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : 203.155.220.217/office/ppdd/publicpark/thai/2011/. [23 ส.ค. 2014]

อ้างอิงรูปจาก
1.https://www.nparks.gov.sg/florafaunaweb/flora/2/8/2835
2.https://www.healthbenefitstimes.com/indian-rosewood-shisham/