รู้มะเร็งแบบลึกๆ คุณต้องอ่านให้ดีๆ (Pathophysiology of Cancer)
นิวเคลียส มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ สังเคราะห์ DNA RNA และโปรตีน ควบคุมการถ่ายทอดยีนส์

พยาธิสรีรวิทยาของมะเร็ง ( Pathophysiology of Cancer )

คุณรู้ไหมว่า Pathophysiology คืออะไร ? หลายคนไม่เคยได้ยินคำนี้หรือถึงได้ยินก็ไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่ เรามาทำความรู้จักกับ Pathophysiology หรือพยาธิสรีรวิทยากันดีกว่าค่ะ และคำคำนี้มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับมะเร็งยังไงบ้าง พยาธิสรีรวิทยาของมะเร็ง ( Pathophysiology of Cancer ) คือศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้ในการอธิบายขั้นตอน กระบวนการ หรือกลไกการทำงานของเซลล์ เนื้อเยื่อและระบบของอวัยวะที่เกิดความผิดปกติที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง ซึ่งโรคทุกโรคจะมีขั้นตอนและกลไกเกิดขึ้นเสมอ แต่จะมีกลไลที่ต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและสาเหตุของโรคมะเร็ง

ก่อนที่เราจะไปรู้ถึง พยาธิสรีรวิทยาของมะเร็ง ( Pathophysiology of Cancer ) นั้น เรามาทำความรู้จักกับเซลล์ในตัวเรากันก่อน เพราะว่าเซลล์นี้แหละที่เป็นต้นกำเนิดของมะเร็งทุกชนิด เมื่อเรารู้จักเซลล์แล้วเราก็จะเข้าใจการพยาธิสรีรวิทยาของโรคมะเร็งได้ง่ายขึ้น เซลล์หน่วยที่เล็กที่สุดในร่างกายของเรา ร่างกายจะประกอบด้วยเซลล์นับล้านล้านเซลล์เข้าด้วยกัน เซลล์รวมตัวกันเป็นอวัยวะ อวัยวะรวมตัวกันเป็นร่างกาย ซึ่งภายในเซลล์ประกอบด้วย

1. เยื่อหุ้มเซลล์ ( Cell Membrane ) มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ประกอบด้วยโปรตีนและไขมัน ทำหน้าที่รักษารูปร่างของเซลล์ และรับสารอาหาร น้ำ ออกซิเจนเข้าสู่เซลล์พร้อมทั้งนำของเสียออกจากเซลล์

2. ไซโตพลาสซึม ( Cytoplasm ) มีลักษณะเป็นของเหลว ประกอบด้วยโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรตและเกลือแร่ มีหน้าที่ในการสร้างพลังงานให้กับเซลล์และสลายของเสียในเซลล์

3. นิวเคลียส ( Nucleus ) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ สังเคราะห์ DNA RNA และโปรตีน ควบคุมการถ่ายทอดยีนส์ ควบคุมสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ให้ทำงานเป็นปกติ ภายในของนิวเคลียสประกอบด้วย ดีออกซีไรโบนิวคลีอิก ( Deoxyribonucleic Acid ) หรือ DNA และไรโบนิวคลีอิก ( Ribonucleic Acid ) หรือ RNA ซึ่งทั้งเรียกสารทั้งสองตัวนี้ว่า “ ยีนส์ ”

ยีนส์ที่ควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์

เรารู้แล้วว่าเซลล์ประกอบด้วยอะไรบ้าง แต่ละส่วนมีหน้าที่อย่างไร ซึ่งส่วนที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดมะเร็งก็คือส่วนนิวเคลียสของเซลล์เพราะว่าส่วนนี้เป็นส่วนที่ควบคุมการทำงานของยีนส์ภายในเซลล์ โดยยีนส์ที่ควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์นั้นเราแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ

1. ยีนส์กระตุ้นการแบ่งเซลล์ ( Proto Oncogene ) เป็นยีนส์ที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการแบ่งเซลล์เพิ่มขึ้น โดยเมื่อยีนส์ส่งสัญญาณออกมาเซลล์จะมีการแบ่งเซลล์เพิ่มขึ้นและเมื่อยีนส์หยุดการส่งสัญญาณเซลล์ก็จะหยุดการแบ่งตัวทันที

2. ยีนส์ยั้บยั้งการแบ่งเซลล์ ( Tumor Suppressor Gene ) เป็นยีนส์ที่ทำหน้าที่ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ โดยเมื่อยีนส์นี้จะส่งสัญญาณให้กับเซลล์จะหยุดการแบ่งตัว แต่เมื่อยีนส์หยุดการส่งสัญญาณเซลล์ก็จะเริ่มการแบ่งตัว

ยีนส์ทั้งสองตัวนี้จะสลับกันทำหน้าที่ นั่นคือ เมื่อยีนส์กระตุ้นทำงานด้วยการส่งสัญญาณให้เซลล์ทำการแบ่งตัว ยีนส์ยับยั้งก็จะหยุดทำงานทันที ในทางกลับกันเมื่อยีนส์ยับยั้งเริ่มทำงานด้วยการส่งสัญญาณให้เซลล์หยุดแบ่งตัว ยีนส์กระตุ้นก็จะหยุดทำงานทันทีเช่นกัน

กลไลการเกิด มะเร็ง เกิดจากการที่ยีนส์กระตุ้นการแบ่งเซลล์หรือยีนส์ยับยั้งการแบ่งเซลล์มีความผิดปกติ ซึ่งมีกลไกในการเกิดมะเร็งแบบง่ายๆ ก็คือ สารก่อมะเร็งหรือตัวกระตุ้นเข้าไปทำลายยีนส์กระตุ้นการแบ่งเซลล์ ( Proto Oncogene ) และยีนส์ยั้บยั้งการแบ่งเซลล์ ( Tumor Suppressor Gene ) จนยีนส์ภายในเซลล์เกิดการกลายพันธุ์ ซึ่งในระยะแรกที่สารก่อมะเร็งเข้าไปทำลายยีนส์นั้น ยีนส์นี้จะยังไม่มีการแสดงอาการออกมา จะมีแค่การเปลี่ยนแปลงภายในเท่านั้น แต่เมื่อเวลาร่างกายได้รับสารก่อมะเร็งเพิ่มเข้ามาอีก สารก่อมะเร็งนี้จะเข้าไปกระตุ้นยีนส์ที่กลายพันธุ์ให้แสดงอาการออกมา โดยจะเข้าไปเร่งการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ยีนส์กลายพันธุ์ให้เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นก้อนมะเร็ง การกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตนั้นต้องทำการกระตุ้นหลายๆ ครั้ง เซลล์จึงเจริญเติบโตเป็นก้อนมะเร็งที่มีผลต่อร่างกายได้ ไม่ใช่ว่ากระตุ้นแค่ครั้งเดียวแล้วเซลล์กลายพันธ์จะโตเป็นก้อนมะเร็งได้เลย

จากกลไลการเกิด มะเร็ง เราจะพบว่าการทำให้เซลล์เกิดการกลายพันธุ์นั้นเกิดขึ้นได้ง่าย แต่การที่จะทำให้เซลล์กลายพันธุ์เจริญเติบโตเป็นมะเร็งนั้น ต้องอาศัยระยะเวลานานกว่าที่สารก่อมะเร็งจะกระตุ้นให้เซลล์กลายพันธุ์เจริญเติบโตเป็นก้อนมะเร็ง นั่นความว่าถึงเราจะมีเซลล์กลายพันธุ์เกิดขึ้นอยู่ในตัวเราแล้ว แต่ถ้าเราไม่รับสารกระตุ้นหรือสารก่อมะเร็งเข้าไปอีก เซลล์กลายพันธุ์ก็จะไม่มีโตขึ้น เราก็จะไม่เป็นมะเร็งได้สิเนี่ย แบบนี้เราก็เลี่ยงสารก่อมะเร็งซะตอนนี้เราก็มีโอกาสรอดจากเป็นมะเร็งได้แล้วสิ

Content by Amprohealth 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม