ไข้และการมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ

0
27016
ไข้และการมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ
ภาวะเป็นไข้ คือ ภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายในส่วนมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ
ไข้และการมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ Fevet and Hyperhermia
ภาวะเป็นไข้ คือ ภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายในส่วนมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ

อาการไข้

ร่างกายของคนเรามีระบบการควบคุมอุณหภูมิ ( Body Temperature Regulation ) ที่ทำการควบคุม อุณหภูมิร่างกายให้สมดุล ซึ่งระบบการควบคุมอุณหภูมิจะทำการควบคุมด้วยศูนย์ควบคุมอุณหภูมิ ( Thermoregulation center ) ศูนย์ควบคุมจะอยู่ที่บริเวณสมองไฮโปธาลามัส ( Hypothalamus ) โดยศูนย์ควบคุมจะทำหน้าเป็น thermostat ที่ทำการตั้งระบบให้กับ setpoint ที่อุณหภูมิของร่างกาย เพื่อทำการรักษาอุณหภูมิให้คงที่ และเมื่อใดที่มี อาการไข้ ( Fever ) อุณหภูมิร่างกายก็จะสูงขึ้น หรือตัวร้อน

เมื่อร่างกายเกิดความร้อนจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ( Heat Production ) ภายในร่างกายเช่น อัตราการเผาพลาญพลังงาน ( Basal metabolic rate ( BMR ) ) การสร้างกล้ามเนื้อหรือการหดตัวของกล้ามเนื้อ ( Muscular activity ) การออกกกำลังกายที่ส่งทำให้เกิดฮอร์โมน เป็นต้น ซึ่งปฏิกิริยาดังกล่าวจะทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้น เมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้นร่างกายจะทำการระบายความร้อนการสูญเสียความร้อน ( Heat Loss ) ที่เกิดขึ้น ด้วยการปล่อยความร้อนผ่านทางผิวหนังและทางปอด โดยการระบายออกเป็นความชื้นและไอความร้อน เช่น เหงื่อ ไอน้ำจากการหายใจ การแผ่รังสีความร้อน ซึ่งการควบคุมความร้อนจะทำการรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ที่ประมาณ 36-37 องศาเซลเซียสหรือ98.6 องศาฟาเรนไฮต์ ( Fahrenheit ) เนื่องจากค่าเฉลี่ยอุณหภูมิของร่างกายอยู่ที่ประมาณ 36.8± 0.4°C ( 98.2±0.7°F ) โดยอุณหภูมิต่ำสุดของร่างกายจะอยู่ที่เวลา 6.00 น. คือ 37.2°C ( 98.9°F ) และอุณหภูมิสูงสุดของร่างกายจะอยู่ที่เวลา 16.00-18.00 น. คือ 37.7°C ( 99.9°F ) จึงได้มีการกำหนดว่า ถ้าร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิดังกล่าว หมายถึง “ อาการไข้

ภาวะเป็นไข้ ( Fever หรือ Pyrexia ) คือ ภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายในส่วนของ Core temperature หรือ Dee-body temperature ที่หมายถึงอุณหภูมิของอวัยวะส่วนกลางของร่างกาย เช่น หัวใจ ปอด ช่องท้อง เป็นต้น ซึ่งที่อุณหภูมิที่บริเวณนี้ คือ อุณหภูมิที่แท้จริงของร่างกายแต่ในภาวะเป็นไข้ที่บริเวณนี้จะมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ การที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติหรือเป็นไข้เกิดขึ้น เนื่องจากร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอม เช่นเชื้อไวรัส ( Virus ) เช่น โรคหวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก โรคหัด ไข้หวัดนก อีสุกอีใส โรคมือเท้าปาก งูสวัดเริมเป็นต้นแบคทีเรีย ( Bacteria ) เช่น ไข้ไทฟอยด์ โรคไข้จับสั่น โรคฉี่หนู โรคไอกรน โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น การอักเสบของเนื้อเยื่อหรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ร่างกาย เป็นต้น

หรือการที่ร่างกายมีอุณหภูมิมากกว่า 37.5°C ในช่วงเช้าและมากกว่า 37.7°C ในช่วงเย็นเนื่องจากร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้าไปจึ่งต้องทำการต่อต้านเชื้อโรคดังกล่าว ซึ่งการต่อต้านจะเกิดร่วมกับการเพิ่มขึ้นของจุดตั้งอุณหภูมิ ( Set Point ) ที่อยู่สมองส่วนไฮโปธาลามัส ( Hypothalamus ) ทำให้เซลล์ประสาทที่อยู่ในศูนย์ควบคุมเส้นเลือด ( vasomotor center ) ได้รับการกระตุ้นจนเกิดการตีบตันของ vasoconstriction ซึ่งเป็นการหดตัวของหลอดเลือดที่ส่งผลให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยให้ร่างกายสูญเสียความร้อนทางผิวหนังลดลง จัดเป็นกระบวนการเก็บรักษาความร้อน (Heat conservation) ดังจะสามารถสังเกตได้จากเมื่อเริ่มเป็นไข้ ร่างกายจะมีอาการมือเท้าเย็น รู้สึกหนาว และมีอาการหนาวสั่น ( Ahivering ) ที่เป็นการผลิตความร้อนของร่างกายด้วยการหดตัวของกล้ามเนื้อนั่นเอง ซึ่งอาการหนาวสั่นอาจไม่เกิดขึ้นก็ได้หากร่างกายมีการสร้างอุณหภูมิที่เพียงพอต่อความต้องการ จากการเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายด้วยการห่มผ้าการใส่เสื้อหนาหรือการอยู่ในที่อากาศอุ่น

ตำแหน่งที่นิยมวัดไข้

1.ปาก ( Orally ) การวัดไข้ทางปากเป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากเนื่องจากปฏิบัติได้ง่ายและค่าของอุณหภูมิที่วัดได้มีค่าใกล้เคียงกับอุณหภูมิแกน ( core temperature ) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่นิ่งและสามารถอมปรอทได้ด้วยตนเอง
2.ทวารหนัก ( Rectally )การวัดไข้ทางทวารหนักเป็นการวัดไข้ที่มีความแม่นยำค่อนข้างสูงที่สุดใช้สำหรับการวัดไข้ในทารกเด็กเล็กที่ไม่อยู่นิ่งหรือในผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถวัดไข้ทางปากได้ปรอทไม่ได้อุณหภูมิที่วัดได้จากบริเวณทวารหนักจะมีค่าสูงกว่าอุณหภูมิที่วัดได้ที่บริเวณปากประมาณ 0.6 °C
3.แก้วหู ( By Ear ) โดยใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิทัลทำการวัดที่ที่แก้วหูเพราะแก้วหูเป็นส่วนที่สามารถบ่งบอกอุณหภูมิของอุณหภูมิแกน ( core temperature ) ได้ดีที่สุดเพราะเป็นตำแหน่งของเส้นเลือดแดงที่นำไปหล่อเลี้ยงศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายนั่นเอง
4.รักแร้ ( Axillary ) เป็นตำแหน่งที่สามารถบ่งบอกอุณหภูมิร่างกายได้เหมาะสำหรับเด็กทารกแรกเกิดแต่ไม่เหมาะกับเด็กโตหรือผู้ใหญ่เพราะอุณหภูมิที่ได้จากการวัดไม่แม่นยำเท่าบริเวณปากหรือทวารหนัก

การเกิดไข้หรือภาวะไข้ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

1.ภาวะไข้สูงเกิน ( Hyperpyrexia ) คือ ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่า 41.5 °C ( 106.7°F ) โดยที่จุดตั้งอุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลง เกิดเนื่องจากการติดเชื้อชนิดรุนแรง เช่น การมีเลือดออกในระบบประสาทสมองส่วนกลาง ( central nervous system hemorrhage ) เนื้องอกหรือการทำงานที่ผิดปกติของไฮโปธาลามัส ( Hypothalamus )ที่เรียกว่า “ hypothalamic หรือ central fever ” ซึ่งถ้าทำการตรวจแล้วยังไม่พบสาเหตุของอาการไข้ที่เกิดขึ้น ให้ทำการตรวจการทำงานของสมองส่วนของไฮโปธาลามัส ( Hypothalamus )
2.ภาวะตัวร้อนเกิน ( Hyperthermia ) คือ ภาวะที่ร่างกายมีความร้อนสูงขึ้นโดยที่จุดตั้งอุณหภูมิ ( Setpoint )  ที่สมองhypothalamusมีการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้รอุณหภูมิของร่างกายเปลี่ยนแปลงนั่นเอง ซึ่งภาวะตัวร้อนเกินเกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนที่เกิดขึ้นในภายในร่างกายออกมาได้ทัน ร่วมกับการที่ร่างกายได้รับความร้อนจากการอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีความร้อนสูงเกินไปจึงทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างไม่สามารถทำการควบคุมได้ซึ่งภาวะตัวร้อนเกินไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาลดไข้ ดังนั้นผู้ป่วยที่เกิดภาวะตัวร้อนเกิน ( Hyperthermia )จะต้องทำการรักษาด้วยการทำการลดความร้อนภายในร่างกายให้เร็วที่สุด เพราะว่าถ้าผู้ป่วยอยู่ในภาวะตัวร้อนเกิน ( Hyperthermia ) อาจจะทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

การลดไข้ที่ดีควรทำทั้งสองวิธีร่วมกัน คือ ต้องรับประทานยาเพื่อลดไข้ควบคู่กับการลดไข้ทางกายภาพ

สาเหตุของการเกิดภาวะตัวร้อนเกิน ( Hyperthermia )

1.สารไพโรเจน ( Pyrogens ) คือ สารที่ทำการกระตุ้นให้เกิดไข้หรือสารก่อไข้ ( pyrogen ) เป็นสารพิษจากแบคทีเรีย จัดเป็นสารก่อไข้ชนิด Exogenous Pyrogens คือ สารก่อไข้ที่ร่างกายได้รับจากภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม โดยแบคทีเรียจะทำการหลั่งสารไพโรเจน ( Pyrogen ) ออกมา เมื่อร่างกายได้รับ สารนี้จะเข้าไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างเอนโดจีนัสไพโรเจน ( Endogenous Pyrogen )ทำให้สมองส่วนไฮโปทาลามัสทำการส่งสัญญาณไปยังศูนย์ควบคุมอุณหภูมิเพื่อให้ระบบการทำงานภายในร่างกายเกิดการทำงานมากขึ้น จึงส่งผลให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ตัวอย่างของ Exogenous Pyrogensเช่น ไลโปโพลีแซ็กคาไรด์ ( lipopolysaccharide; LPS ) ซูเปอร์แอนติเจน ( superantigens ) เป็นต้น

2.ไซโตไคน์ ( Cytokines ) คือ สารก่อไข้ที่อยู่ภายในร่างกาย สารก่อไข้ชนิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายที่มีมาตั้งแต่กำเนิดโดยไซโตไคน์จะถูกสร้างขึ้นมาจากเซลล์กลืนกิน ( phagocytic cells ) ที่ได้รับการกระตุ้นจะเข้าไปเพิ่มอุณหภูมิจุดควบคุมอุณหภูมิในส่วนของสมองส่วนไฮโปทาลามัสให้สูงขึ้นตัวอย่างของไซโตไคน์ เช่น อินเตอร์ลิวคิน(interleukin ( IL-1 ),ทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์ ( tumor necrosis factor ( TNF )  ), ciliary neurotopic factor ( CNTF ) และinterferon ( IFN ) – α เป็นต้น

โดยเมื่อร่างกายมีไข้เนื่องจากprostaglandin E₂ ( PGE₂ )ที่เกิดขึ้นในบริเวณเนื้อเยื่อhypothalamuxและthird ventricle จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยเฉพาะที่บริเวณหลอดเลือดรอบโพรงสมอง ( Vntricle ) ( organum vasculosum of lamina terminalis ) เมื่อเนื้อเยื้อและหลอดเลือดที่บริเวณโพรงสมองถูกทำลาย จึงทำให้ pyrogens กระตุ้นจนเกิดเป็นไข้ โดยการที่ pyrogens ทำการกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยากับเอนโดทีเลียม ( Endothelium ) ของหลอดเลือดฝอย ทำให้จุดตั้งอุณหภูมิ ( setpoint ) ที่ hypothalamusมีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ทำให้ hypothalamus ทำการเพิ่มความร้อนให้กับร่างกายและลดการสูญเสียความร้อนลง จึงทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นและเป็นไข้หรือกรณีที่เซลล์ประสาททำการสร้าง IL-1 TNF- αและIL-6 ขึ้นมาเอง โดยไม่ผ่านระบบไหลเวียน ก็สามารถทำให้จุดตั้งอุณหภูมิ ( setpoint ) ที่ hypothalamus เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่สูงขึ้นได้เช่นเดียวกัน ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อหรือการมีเลือดออกในสมองนั่นเอง

การมีไข้มีทั้งข้อดีและข้อเสียรวมอยู่ด้วยกัน แต่พบว่าการเป็นไข้สามารถช่วยเพื่อความต้านทานและช่วยต่อต้านการติดเชื้อ จากการศึกษาพบว่าสัตว์หลายชนิดทำการต่อต้านการติดเชื้อด้วยการเพิ่มอุณหภูมิของร่างกายให้สูงขึ้น และเมื่อทำการศึกษาในสัตว์เลื้อยคลานยังพบอีกว่าสัตว์ที่มีอุณหภูมิร่างกายสูง มีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นอีกด้วย จึงมีการสรุปได้ว่าการมีไข้สามารถช่วยลดการติดเชื้อได้ ถึงแม้ว่าการเป็นไข้จะสามารถช่วยลดการติดเชื้อได้ แต่เมื่อมีไข้เกิดขึ้นก็ถือว่าร่างกายเกิดความผิดปกติ ซึ่งไม่เป็นผลดีอย่างแน่นอน จึงต้องทำการรักษาไข้เพื่อปรับสภาพร่างกายให้เข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งการรักษาไข้ ( Antipyretic Therapy ) โดยเฉพาะผู้ที่มีไข้สูงหรือมีอุณหภูมิสูงกว่า 41°C นานเกินกว่า 4 ชั่วโมงจัดว่าเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

แนวทางการรักษาไข้ผู้ป่วยที่มีภาวะตัวร้อนเกิน ( Hyperthermia )

ผู้ป่วยที่มีภาวะตัวร้อนเกิน ( Hyperthermia ) จะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำการลดอุณหภูมิของร่างกายอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอายุอยู่ในช่วง 3 เดือนถึง 5 ปี ร้อยละ 14 ของผู้ป่วยที่มีภาวะตัวร้อนเกินมีความเสี่ยงที่จะเกิดการชักระหว่างที่มี อาการไข้ สูง ( febrile convulsion ) และผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวหรือโรคปอดเมื่อมีไข้กระบวนการเมตาบอลิซึมในร่างกายจะเกิดขึ้นสูงมาก โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นไข้แบบไม่มีอาการหนาวสั้นจะยิ่งทำให้มีการเพิ่มขึ้นของการใช้ออกซิเจน ( Oxygen Consumption, VO2 )การหายใจปริมาณลมหายใจออกทั้งหมดใน 1 นาที ( respiratory minute volume ) และsympathetic tone ดังนั้นการลดไข้ในผู้ป่วยจึงมีความจำเป็นสูงมาก

วิธีการลดอาการไข้ผู้ป่วยที่มีภาวะตัวร้อน

1.การลดไข้ด้วยยา
ยาที่นำมาใช้ในการลดไข้มีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่มด้วยกัน ตามลักษณะกลไกการออกฤทธิ์ของตัวยาดังนี้
1.1คอร์ติโคสเตียรอยด์ ( Corticosteroid ) ยากลุ่มนี้ไม่มีฤทธิ์ในการลดไข้โดยตรง แต่ตัวยาจะเข้าไปยับยั้งการโดยปกติไม่ได้ใช้เป็นยาลดไข้แต่มีฤทธิ์ลดไข้ด้วยการยับยั้งการสังเคราะห์หรือการลอกรหัสพันธุกรรม ( transcription ) ของpyrogenic cytokines และinducible cyclooxygenase ผ่านปฏิกิริยาglucocorticoid receptor และยั้งสามารรถยับยั้งกระบวนการphospholipase A2 ที่ใช้ในการสร้างprostaglandinที่เป็นสาเหตุให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น จึงสามารถช่วยลดไข้ในทางอ้อม
1.2 อะเซตามีโนเฟน ( Acetaminophen ), แอสไพริน ( aspirin ) และยาลดการอักเสบ NSAIDs
ยาในกลุ่มนี้จะทำการยับยั้งการเปลี่ยนกรดอะราคิโดนิก ( Arachidonic acid ) ไปเป็น prostaglandin ที่ช่วยส่งเสริมการอักเสบภายในร่างกาย ตัวยาจะเข้าไปยับยั้งกระบวนการOxygen Cycle ( prostaglandin Synthetase ) โดยเข้าไปยับยั้งที่ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายที่บริเวณสมองส่วนไฮโปทาลามัสและยังสามารถทำการยับยั้งการอักเสบแม้จะเพียงเล็กน้อยหรือแบบอ่อนก็ตาม
2.การลดไข้ด้วยวิธีทางกายภาพ
นอกจากการลดไข้ด้วยการรับประทานยาแล้ว การลด อาการไข้ ด้วยวิธีทางกายภาพก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดไข้อย่างได้ผลและรวดเร็ว เช่น การเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา การใช้ถุงน้ำแข็ง ( ice packs ) การห่มผ้าเพิ่มความอบอุ่น ( cooling blanket ) หรือการอยู่ในที่ที่มีอากาศเย็น ซึ่งการลดไข้ด้วยวิธีเป็นการระเหยและนำพาความร้อนภายในร่างกายออกมาผ่านทางผิวหนัง การเช็ดตัวเพื่อลดไข้ควรเช็ดติดต่อกันประมาณ 3-5 นาทีต่อครั้ง และควรเช็ดย้อนแนวของขนเพื่อเปิดรูขุมขนให้ความร้อนสามารถระบายออกมาได้ดีขึ้น

การลดไข้ที่ดีควรทำทั้งสองวิธีร่วมกัน คือ ต้องรับประทานยาเพื่อลดไข้ควบคู่กับการลดไข้ทางกายภาพ เพื่อที่อุณหภูมิของร่างกายจะลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ภาวะเป็นไข้มีความอันตรายน้อยลง และช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตเนื่องจากภาวะไข้ได้

ดังนั้นเมื่อเป็นไข้เพียงเล็กน้อยควรทำการดูแลรักษาเบื้องต้น ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณสูงเพื่อช่วยลดความร้อน พร้อมทั้งช่วยระบายความร้อนภายในร่างกายทางปัสสาวะ และรับประทานยาลดไข้เพื่อลดอาการไข้ที่เกิดขึ้น เพื่อที่ร่างกายจะทำการสร้างภูมิต้านที่สามารถต่อต้านและขับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายออกไปได้ แต่ถ้าผ่านไป 2-3 วัน อาการไข้ ที่เกิดขึ้นยังไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะได้รับการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุของอาการไข้และรับการรักษาที่ถูก เพื่อลดความเสี่ยงในการได้รับอันตรายจากไข้ที่เกิดขึ้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Northam, Jackie (7 October 2014). “Ebola Protective Suits Are In Short Supply”. National Public Radio. Retrieved 21 January 2015.

Microclimate Conditioning Systems” (PDF). US Army Natick Soldier RD&E Center. May 2007. Retrieved 2 August 2015.