อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ( Movement Disorder )

0
12956
อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ( Movement Disorder )
อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ( Movement Disorder ) คือ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นขณะเคลื่อนไหวร่างกาย อาจเกิดจากอาการของโรคเองหรือเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท
อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ( Movement Disorder )
อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ( Movement Disorder ) คือ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นขณะเคลื่อนไหวร่างกาย อาจเกิดจากอาการของโรคเองหรือเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท

อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ( Movement Disorder )

ในชั่วชีวิตของคนเราการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่เป็นไปอย่างปกติมาตลอดอาจจะมีบางช่วงเวลาที่พบได้ว่าเกิด อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ( Movement Disorder ) เกิดขึ้นได้ โรคการเคลื่อนไหวผิดปกติเกิดขึ้นได้กับทุกคนและมีทั้งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและเกิดขึ้นในระยะยาว ซึ่งกรณีและสาเหตุการเกิดโรคการเคลื่อนไหวผิดปกติของแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป เรามารู้จักโรคการเคลื่อนไหวผิดปกติให้ดียิ่งขึ้น เพื่อการป้องกันการเกิดโรคและการรักษาด้วยกัน

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

  [adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ก็คือ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นขณะเคลื่อนไหวร่างกาย โดยเป็นความผิดปกติที่ความเร็วในการเคลื่อนไหว ซึ่งอาจเกิดจากอาการของโรคเองหรือเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทก็เป็นได้ ความผิดปกตินี้ส่งผลต่อจังหวะความเร็วในการเคลื่อนไหว ความคล่องตัวและความยืดหยุ่นขณะเคลื่อนไหว ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายผิดไปจากปกติ แพทย์จะวินิจฉัยได้ว่าคนไข้เกิดการเคลื่อนไหวผิดปกติได้ก็จากการทำการซักประวัติของคนไข้และการตรวจร่างกายคนไข้อย่างละเอียด เมื่อแพทย์ได้มีการตรวจเบื้องต้นและวินิจฉัยว่าคนไข้เกิดการเคลื่อนไหวผิดปกติ ขั้นตอนต่อมาแพทย์จะใช้วิธีการสังเกตและบันทึกลักษณะการเคลื่อนไหว การสังเกตและบันทึกข้อมูลไว้นั้นมีวิธีการที่ทำให้การบันทึกและวินิจฉัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและวินิจฉัยรักษาได้ดีที่สุดก็คือ การบันทึกและสังเกตการณ์จากการถ่ายภาพวีดีโอของคนไข้ในขณะเคลื่อนไหว โดยจะบันทึกหลายครั้งแล้วเปรียบเทียบความแตกต่างในการเคลื่อนไหวของคนไข้แต่ละครั้ง

ลักษณะการเคลื่อนไหวที่ควรสังเกตและจดบันทึก

1.สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวขณะนั้นได้หรือไม่ โดยทั่วไปแล้วเมื่อมี อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ คนไข้ก็มักจะไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ และไม่สามารถตั้งใจทำให้การเคลื่อนไหวเกิดขึ้นและไม่สามารถบังคับให้การเคลื่อนไหวหยุดได้ตามต้องการ อาจจะสามารถควบคุมอาการได้ชั่วคราวในบางครั้งเท่านั้น

2.การเคลื่อนไหวนั้นเป็นการเคลื่อนไหวแบบที่น้อยหรือมากกว่าปกติที่เคยเป็น

3.ในการเคลื่อนไหวที่ผิดปกตินั้น ให้สังเกตตำแหน่ง การกระจาย ความสมมาตร รวมถึงรูปแบบ ความเร็วและความสม่ำเสมอของการเคลื่อนไหวว่าเป็นอย่างไร ยิ่งลงรายละเอียดมากเท่าไรก็ยิ่งดี

4.ประวัติโดยทั่วไปของการเคลื่อนไหวครั้งก่อน ๆ หน้าจะมีสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหว เช่น ความผิดปกตินั้นเริ่มขึ้นในตอนไหน มีสิ่งใดเป็นปัจจัยเร่งเร้าหรือไม่ ระยะเวลาที่เกิดของความผิดปกตินั้นกินเวลานานเท่าไรในแต่ละครั้ง ความสัมพันธ์กับท่าทางสมเหตุสมผลหรือผิดไปจากธรรมชาติอย่างไร กิจกรรมและตำแหน่งของร่างกาย ความสัมพันธ์กับการนอนหลับ มีปัจจัยกระตุ้น และมีปัจจัยที่ช่วยทำให้อาการเป็นน้อยลงอย่างไร บันทึกข้อมูลประวัติของครอบครัวประกอบการวินิจฉัยด้วย

5.ลักษณะอื่นๆ ที่อาจมีผลสอดคล้องกับอาการป่วย อย่างเช่น พบโรคประจําตัวชนิดใดหรือไม่ ระดับสติปัญญาครบถ้วนสมบูรณ์ดีหรือไม่ และมีความผิดปกติทางระบบประสาทอื่นๆ ด้วยหรือไม่ ตลอดจนลักษณะความผิดปกติในทางกายภาพหรือร่างกายส่วนต่าง ๆ ที่สามารถสังเกตเห็นได้

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

ประเภทของการเคลื่อนไหวผิดปกติ

อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

1.การเคลื่อนไหวที่มากกว่าปกติ

2.การเคลื่อนไหวที่น้อยกว่าปกติ

และยังพบว่าผู้ป่วยจำนวนมากมีโอกาสที่จะมีความผิดปกติทั้ง 2 ลักษณะร่วมกันได้ด้วย

การเคลื่อนไหวมากผิดปกติ ( Hyperkinetic Movement )

อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่นนี้จะเกิดขึ้นในลักษณะการเคลื่อนไหวที่มากเกินกว่าปกติและออกมาในรูปของการสั่น โดยที่กล้ามเนื้อจะเคลื่อนไหวในลักษณะสม่ำเสมอเป็นจังหวะ ส่วนความถี่ของการสั่นและบริเวณกว้างของพื้นที่การสั่นมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับท่าทางของผู้ป่วยและตำแหน่งการเคลื่อนไหวของอวัยวะแต่ละส่วนด้วย ลักษณะการสั่นแบบต่าง ๆ มีดังนี้

1.การเคลื่อนไหวในขณะที่อยู่นิ่งหรือพักอยู่ ( Resting Tremor )

อาการสั่นจะเกิดในขณะที่ร่างกายนิ่งอยู่ แต่เมื่อมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนอิริยาบถการสั่นจะลดลงหรือหยุดลง อาการสั่นเช่นนี้พบมากในผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันและอาจพบในผู้ป่วยโรคอื่นด้วยหากอาการสั่นมีมากขึ้น

2.การสั่นในขณะที่ร่างกายส่วนนั้นเคลื่อนไหว ( Action Tremor )

เมื่อมีการเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายส่วนนั้นจะสั่นและอาการสั่นจะลดลงเมื่อหยุดการเคลื่อนไหว อาการสั่นในลักษณะนี้ยังแบ่งย่อยออกได้เป็น

2.1 อาการสั่นที่เกิดมากขึ้นเมื่อร่างกายส่วนนั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต้านแรงโน้มถ่วงอยู่ ( Postural Tremor )

ตัวอย่างเช่น ในอาการสั่นของผู้ป่วยที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษ อาการอยากยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์ และอาการสั่นจากโรคที่ไม่ทราบสาเหตุ

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

2.2 อาการสั่นที่เกิดมากขึ้นเมื่อร่างกายส่วนนั้นเคลื่อนไหว ( Simple Kinetic Tremor )

ผู้ป่วยจะสั่นเมื่อแสดงอิริยาบถต่าง ๆ เช่น การเขียนหนังสือ การยกแก้วน้ำ เป็นต้น

2.3 อาการสั่นที่เกิดมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวร่างกายส่วนนั้นเข้าใกล้เป้าหมาย ( Intention Trem )

ส่วนใหญ่แล้วอาการสั่นที่เกิดขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะนี้ มักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการทำงานของสมองส่วน Cerebellum

2.4 อาการสั่นที่เกิดขึ้นเมื่อทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น ผู้ป่วยจะเกิดการสั่นต่อเมื่อเขียนหนังสือ เล่นดนตรี เล่นกีฬา เป็นต้น

2.5 อาการสั่นที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ โดยที่ร่างกายไม่ได้มีการเคลื่อนไหวใด ๆ เช่น เมื่อยกมือ หรือดันกำแพงก็มีอาการสั่นเกิดขึ้น

3.อาการสั่นที่น้อยมากจนบางครั้งอาจไม่สามารถสังเกตเห็นจากการมองด้วยตาเปล่าธรรมดา

อาการสั่นน้อยเช่นนี้จะเพิ่มมากขึ้นจนสังเกตเห็นได้ก็ต่อเมื่อ มีปัจจัยไปกระตุ้นเร้า เช่น ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกตกใจ ตื่นเต้น หวาดกลัวหรือวิตกกังวล เป็นต้น อาการสั่นน้อยในลักษณะนี้มักพบได้กับผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์ ผู้ป่วยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ขาดเหล้า หรือผู้ที่รับยาตัวที่เข้าไปกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น คาเฟอีนและยาบ้า เป็นต้น

4.อาการสั่นที่ไม่ทราบสาเหตุ ( Essential tremor )

เป็นอาการสั่นที่ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ เป็นได้กับผู้ป่วยที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป แต่จะพบมากในผู้สูงอายุ ในผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปจะเรียกอาการนี้ว่า Senile tremor อาการที่เกิดขึ้นมักเป็นการสั่นที่มือทั้งสองข้างพร้อมกัน มีความถี่การสั่นวัดได้ 8-12 เฮิร์ต และยังมีอาการริมฝีปากสั่น เสียงสั่น และสั่นทั้งศีรษะร่วมด้วย อาการสั่นเหล่านี้พบว่าจะลดลงเมื่อดื่มแอลกอฮอล์ ถ้าอาการโรคเพิ่มมากขึ้น การสั่นก็เพิ่มขึ้น ถ้าอาการสั่นเป็นมากจะมีอาการสั่นในตอนพักด้วย คล้ายกับอาการโรคพากินสัน อาการสั่นลักษณะนี้พบว่า 50% ของผู้ป่วยมาจากกรรมพันธุ์

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

5.อาการสั่นที่พบในผู้ป่วยพากินสันโดยตรง ( Parkinsonian Tremor )

จะเป็นอาการสั่นในขณะพัก เริ่มด้วยการสั่นข้างใดข้างหนึ่งของแขนและมือ เริ่มจากหัวแม่มือ แขน ขา และกรามร่วมด้วย สังเกตได้ชัดเมื่อผู้ป่วยกางแขนยกเหยียดออกจะมีอาการสั่นชัด เรียกว่า re-emergent

6. อาการสั่นที่บริเวณต้นขาทั้งสองข้าง ( Orthostatic tremor )

เป็นอาการที่พบได้น้อยมาก เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยยืนขึ้น ยืนเป็นเวลานาน และอาการสั่นจะลดลงเมื่อเดินหรือนั่ง

7.อาการสั่นในลักษณะไม่ถี่ ( Cerbella Tremor )

เกิดจากการทำงานของสมองส่วน Cerebellar pathway ถูกรบกวน

8. สั่นในลักษณะช้า ๆ ( Holmes Tremor )

เป็นอาการสั่นที่พบได้ทั้งในช่วงเคลื่อนไหวและช่วงพัก สังเกตเห็นได้ชัดเจนบริเวณต้นแขนดูแล้วคล้ายนกกระพือปีก พบมากในผู้ป่วยโรค Wilson’s disease และผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในส่วน red nucleu

9.การสั่นจากผลข้างเคียงในการใช้ยา ( Drug-induced tremor )

ผู้ป่วยสั่นเพราะได้รับยา เช่น Sodium Valproate , Lithium , Beta-adrenergicagonists

ตัวอย่างการเคลื่อนไหวผิดปกติที่พบได้บ่อย

1. Chorea

แปลว่าการเต้ารำ เป็นภาษากรีก ซึ่งหมายถึงการเคลื่อนไหวร่างกายในแบบไม่สม่ำเสมอเหมือนการเต้นรำที่เคลื่อนไหวร่างกายไปแบบไม่มีแบบแผนที่แน่นอน พบมากในส่วนปลายแขนปลายขา แต่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย เช่น ลำตัว คอ ปาก ลิ้น ใบหน้า ผู้ป่วยไม่สามารถเกร็งกล้ามเนื้อท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ ได้ ( Motor impersistence )

2. Athetosis

Athetosis นั้นมีการเคลื่อนไหวคล้าย Chorea ต่างกันที่มักพบที่ส่วนปลายของร่างกาย แต่อาการจะช้ากว่าทำให้สังเกตเห็นการบิดเบี้ยวได้ชัดเจน และมักพบทั้งสองอาการนี้ร่วมกัน เช่น บริเวณปลายนิ้วเท้า นิ้วมือ เรียกอาการรวมนี้ว่า Choreoathetosis สาเหตุอาการเกิดจากความผิดปกติของ Indirect pathway ผู้ป่วยจึงควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ และมีความผิดปกติในด้านการรับความรู้สึกประเภท proprioception ในบริเวณปลายแขนขาทำให้เคลื่อนไหวผิดปกติ เรียกว่า pseudoathetosis

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

3. balism

การเคลื่อนไหวผิดปกติลักษณะนี้คล้องกับ Chorea แต่ความรุนแรงและความกว้างมีมากว่าเพราะพบในบริเวณต้นแขนต้นขา ทำให้มีอาการเหวี่ยงพบได้ร่วมกับ Chorea อาการปรากฏชัดขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวและจะไม่สงบหรือหายไปเมื่อหลับ Balism ที่พบข้างใดข้างหนึ่งของร่างกายเรียกว่า Hemibalism สาเหตุของอาการนี้เกิดจากผิดปกติของสมองส่วนSubthalamic Nucleus ด้านตรงกันข้ามแต่ก็พบได้ในส่วนอื่นๆ ของBasal Ganglia ด้วยเช่นกัน และพบในผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในแบบ Nonketotic Hyperglycemia

4. Dystomia

อาการเกิดจากกล้ามเนื้อหดเกร็งอาจตลอดเวลาหรือหดเกร็ง พัก ๆ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวดังกล่าวซ้ำ ๆ อวัยวะส่วนนั้นจึงผิดรูปหรือบิดไป แล้วบางครั้งก็มีอาการสั่นเกิดร่วมด้วยเรียกว่า Dystonic Tremor ภาวะนี้เกิดได้ทั้งในขณะที่เคลื่อนไหวและพัก ถ้าผู้ป่วยมีภาวะนี้ขณะเคลื่อนไหวทำกิจกรรมจะเรียกว่าอากร Task-Specific dystonia เป็นลักษณะเฉพาะ sensory trick อย่างเช่น ขณะเล่นดนตรีหรือเขียนหนังสือ มักพบว่าอาการหายไปเมื่อนอนหลับ ในบางครั้งอาการจะดีขึ้นด้วยการกระตุ้นสมองบริเวณใดบริเวณหนึ่ง

อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ( Movement Disorder ) คือ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นขณะเคลื่อนไหวร่างกาย อาจเกิดจากอาการของโรคเองหรือความผิดปกติของระบบประสาท

อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติจำแนกตามสาเหตุได้ ดังนี้

1.ภาวะ Dystonia ที่มีสาเหตุความผิดปกติทางพันธุกรรม ( Primary Dystonia )

โดยผู้ป่วยจะมีอาการของ Dystonia เป็นหลักและอาจพบความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย

2.ภาวะ Dystonia ที่เกิดจากความผิดปกติอื่นๆ ( Secondary Dystonia )

เช่น จากยาและสารพิษ จากโรคหลอดเลือดสมอง โรคติดเชื้อเนื้องอก เกิดจากสมองมีการบาดเจ็บแรกคลอด เป็นต้น

จำแนกตามตำแหน่งของร่างกายที่มีอาการ

1.อาการ Dystonia ที่เกิดขึ้นเฉพาะตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อรอบดวงตาเกร็งและหด กล้ามเนื้อคอบิดเกร็ง ข้อมือบิดเกร็งจากการเขียนหนังสือ เป็นต้น

2.มีอาการภาวะ Dystonia ในตำแหน่งของร่างกายที่อยู่ติดกัน ( Sesmental Dystonia )

เช่น เกิดภาวะตรงใบหน้ากับรอบดวงตา เกิดที่ปากและคอ ตรงนี้ถูกเรียกว่า Cranial Dystonia หรือ Meigs’s syndrome

3.ภาวะ Dystonia เกิดกับร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง ( Hemidy stonia dystonia )

4.ภาวะ Dystonia ที่เกิดกับสองส่วนในร่างกายขึ้นไป โดยที่สองส่วนนั้นไม่ติดกัน

5.ภาวะ Dystonia ที่เกิดขึ้นทั่วตัวหรือเกิดที่ลำตัวและส่วนใดส่วนหนึ่งอย่างน้อยสองส่วนขึ้นไป ( Generalized Dystonia )

[adinserter name=”อาการต่าง ๆ”]

5. Myoclonus

เป็นอาการที่ร่างกายจะเคลื่อนไหวกระตุกเป็นพัก ๆ ไม่สม่ำเสมอไม่สามารถจะควบคุมได้ สาเหตุจากการที่กล้ามเนื้อหดตัวไม่เป็นจังหวะ ช่วงหดตัวของกล้ามเนื้อเรียกว่า Positive Myociocnus และช่วงที่หยุดการหดตัวคือ Negative Myocionus

ร่างกายจะกระตุกในส่วนต่างๆ อาจจะทั่วทั้งร่างกายหรือส่วนต่างๆบางส่วน เป็นได้ทั้งแบบที่เกิดขึ้นเองและถูกกระตุ้นจากสิ่งอื่น เช่น การกระตุกขณะหลับ การสะอึก Myocionus สามารถจำแนกได้ตามตำแหน่งที่เป็นสาเหตุของการกระตุก ดังนี้

1.ความผิดปกติของสมอง ที่เรียกว่า Coryay สัมพันธ์กับโรคลมชัก เช่น กลุ่มของอาการ Progressive Myoclonus’juvenile myocloonus epilepsy และยังมีสาเหตุอื่นเช่น ภาวะสมองขาดอากาศ ( Lance-adams syndrome ) ภาวะตับหรือไตวายเรื้อรัง ภาวะ Metabolicencepha lopathy จากสารพิษและยา การกระตุ้นจะพบมากที่ใบหน้าแขนและขา

2.สาเหตุจากความผิดปกติของไขสันหลัง ( spinal Myocionus ) ก้อนเนื้องอกจากการบาดเจ็บ การอักเสบ Syrigomyelia ร่างกายกระตุกเป็นส่วนนอนหลับก็ไม่หาย

3.สาเหตุจากระบบประสาทส่วนปลายผิดปกติ ( Peripheral Myocionus ) และมักถูกกระตุ้นด้วยการเคลื่อนไหวอวัยวะที่กระตุก เช่น ใบหน้ากระตุกครึ่งซีก เป็นต้น ยังจำแนกตามสาเหตุได้อีกดังนี้

  • Myocioonusในคนปกติ ( Physiological Myocionus ) เช่น กระตุกขณะหลับ สะอึกเป็นต้น
  • Myoclonus ที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ( Essential Myocionus ) เป็นอาการที่ไม่พบสาเหตุหรือมีเหตุจากกรรมพมธุ์ เช่น Hereeditary essential myocionus
  • เกิด Myoclonus จาการชักเรื้อรัง ( Epileptic Myocionus ) เช่น Progresiive Myoclonic epilepsies (PME ), Juvenile Myoclonic epilepsy ( JME )
  • เกิดจากเหตุชัดเจนที่ทราบได้ เช่น จากโรคทางระบบประสาท หรือ นอก ระบบประสาท เช่น การใช้ยาภาวะ Hypxic encephthy, metab lic, ceutzfeldt jakob disease ( CJD )

[adinserter name=”oralimpact”]

6. Dyskinesia

คือ อาการร่างกายเคลื่อนไหวผิดปกติ ( Movement Disorder ) ที่มีอาการซับซ้อน เป็นการเคลื่อนไหวผิดปกติหลายชนิดรวมกัน ซึ่งเกิดจากผลข้างเคียงการรักษา และที่พบบ่อยมีรายละเอียดดังนี้

  • เป็นการเคลื่อนไหวผิดปกติ เกิดหลังจากการใช้ยาที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งทำงานของ D2 Receptor เช่น ยา Neuroleptic ใช้เป็นเวลาต่อเนื่องอย่างน้อยสามเดือน ซึ่งหาสาเหตุชัดเจนอื่นไม่ได้ มีการเคลื่อนไหวในลักษณะ Chorea และ Dystonis ในบริเวณกระพุ้งแก้ม ลิ้นและปาก จังหวะการเคลื่อนจะซ้ำไปซ้ำมา เหมือนกำลังบดเคี้ยวอาหาร แม้จะหยุดยานานแล้วอาการก็ยังเป็นอยู่
  • การเคลื่อนผิดปกติจากการรักษาด้วยยา Levodopar พบได้ในผู้ป่วยพาร์กินสัน การเคลื่อนไหวส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะ Chorea บริเวณคอ ลำตัว ใบหน้าแขนขา ผู้ป่วยจะดูมีอาการอยู่ไม่นิ่ง ยิ่งยามีระดับสูงขึ้นก็พบมากขึ้น การลดปริมาณยาลงจะช่วยลดอาการได้บ้าง

การเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ ( Hypokinetic Movement )

1. Parkinsonsonism

เป็นอาการรวมของกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวช้า จะมีอาการของกล้ามเนื้อเกร็งแข็ง ทรงตัวลำบาก ถ้าทั้งเคลื่อนไหวช้าและมีอาการอื่นร่วมด้วยก็สามารถวินิจฉัยได้ว่ามีภาวะ Parkinsonsonism โดยเกิดจากโรคพาร์กินสัน 80%

2. Bradykinesia

กลุ่มอาการนี้จะมีลักษณะสำคัญคือความกว้างในการเคลื่อนไหวลดลงหรือหยุดนิ่ง อาจเป็นการแสดงสีหน้าอารมณ์ที่ลดน้อยลง เขียนหนังสือเล็กลงเรื่อยๆ พูดเบาลงเรื่อยๆ น้ำเสียงราบเรียบลง กะพริบตาช้าลงเรื่อยๆ กลัดกระดุมได้ยากขึ้น หยิบจับของยากขึ้น เดินช้าลง ก้าวขายากลำบาก แกว่งแขนช้า เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้เป็นอาการกลุ่ม Parkinsonism ที่สำคัญที่สุด

3. Rigidity

เป็นอาการที่เกร็งกล้ามเนื้อขณะเคลื่อนไหว เมื่อกล้ามเนื้อหดขยายโดยไม่เกี่ยวกับความเร็ว มีลักษณะสม่ำเสมอเท่ากันตลอด จะพบลักษณะแข็งเกร็งเป็นช่วงเหมือนล้อเกวียนเมื่อเคลื่อนไหวแบบ Positive movement เรียกว่า Cogeheel rigidity เกิดได้ทั้งที่บริเวณแขน ลำตัว และขา ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวลำบาก ก้าวเดินช้า เดินไม่ออก พลิกตัวขณะนอนลำบาก หยิบสิ่งของลำบาก ต่างจากอาการเกร็งในแบบ Spasticity พบได้ในโรคสมองส่วน Pyramidal tract มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับความเร็วในการเคลื่อนไหว

4. Postural instability

เป็นปัญหาในการทรงตัวลำบากที่พบได้ในผู้ป่วย Pakinsonism มีวิธีที่เรียกว่า Pull test คือ ให้ใช้มือสองข้างดึงผู้ป่วยให้ถอยหลังมีคนพยุงอยู่ข้างหลัง ผู้ป่วยที่มีปัญหานี้จะถอยหลังเซหลายก้าวก่อนที่จะทรงตัวได้ หรือบางรายอาจหกล้มไม่สามารถทรงตัวได้เลย ซึ่งอาการนี้ในผู้ป่วยพาร์กินสันเป็นอาการที่จะตามมาจากอาการอื่น ๆ ในช่วง ปีที่ 3-5 แต่ถ้ามีอาการในระยะแรกมักมาจากสาเหตุอื่น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

ลัลธธิมา ภู่พัฒน์ : อาการวิทยา ฉบับพกพา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2560.

ธนกร ลักาณ์สมยา และคณะ : อาการทางอายุรศาสตร์ Medical ymptomatology ฉบับปรับปรุง : พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร,2559.

Kurlan R. clinical practice, Tourette’s syndrome. NEJM 2010, 363 : 2332-2338.