โรคสมองเสื่อม
โรคสมองเสื่อม อาการเบื้องต้นแสดงออกอย่างไรแม้ว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์จะพัฒนาก้าวหน้าไปมาก แต่โรคเกี่ยวกับสมองก็ยังจัดเป็นโรคพิเศษที่มีความละเอียดอ่อน ผู้ป่วยทางสมองต้องได้รับการดูแลและต้องอาศัยองค์ความรู้ในเชิงลึกและดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมากกว่าการพึ่งพาเพียงแค่เทคโนโลยีอยู่ดี โรคสมองเสื่อม อาการเบื้องต้น ผู้ป่วยทางสมองยังตรวจอาการพบได้บางครั้งอาการที่ตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือแพทย์อันทันสมัย แต่ผู้ป่วยทางสมองไม่ได้รับการวินิจฉัยซ้ำอย่างถี่ถ้วนครบทุกด้าน ก็ทำให้ผลการตรวจผิดเพี้ยนไปได้เช่นเดียวกัน อย่างที่เราได้เห็นเป็นกรณีศึกษากันอยู่บ่อยๆ
โรคสมองเสื่อม อาการเบื้องต้นจากอาการสมองกลีบหน้าเสื่อมก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นของโรคเกี่ยวกับสมองที่น่าสนใจ เพราะมีผู้ป่วยทางสมองหลายรายหรือแม้แต่ตัวแพทย์เองก็ตามที เกิดความเข้าใจผิดว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นผลจากโรคสมองเสื่อมจากพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อม เหตุผลก็คือก้อนสมองทั้งหมดเชื่อมโยงถึงกัน หากมีส่วนหนึ่งส่วนใดเสียหายก็ย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออก กล่าวให้ชัดลงไปอีกก็คือ ผู้ป่วยทางสทองไม่ว่าส่วนใดของสมองเสียหายก็มักจะส่งผลกระทบต่อสมองกลีบหน้าที่เป็นตัวหลักในการควบคุมพฤติกรรมของเราทั้งนั้น และนั่นไม่ใช่พฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อม
หากมีผู้ป่วยทางสมองสักคนมีอาการเหม่อลอย โมโหง่าย ไปจนถึงก้าวร้าวและหวาดกลัว ถึงจะดูคล้ายว่าเป็นโรคสมองเสื่อมจากพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อม แต่ก็ยังไม่อาจสรุปได้ จำเป็นต้องตรวจสอบถึงสารเสพติด เนื้องอก หรือความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ในประเด็นอื่นๆ ก่อน สิ่งสำคัญต้องรู้ว่าพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อมนั้น ผู้ป่วยทางสมองจะต้องมีร่องรอยของโรคกระจายทั่วก้อนสมอง ไม่ใช่แค่จุดใดจุดหนึ่ง และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อมก็คือ กลุ่มคนที่เป็นอัลไซเมอร์ระยะกลาง กลุ่มคนที่เป็นสมองเสื่อมวัยกลางคน และกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังมีพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อม อันที่จริงก็ต้องตรวจสอบโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเสมอ เพื่อให้รู้แน่ชัดแบบเฉพาะเจาะจงรายบุคคล และนั่นส่งผลต่อการดูแลรักษาในภายหลังด้วย อย่างไรก็ตามเราสามารถใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรมเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่าอาจจะมีความเสี่ยงได้ด้วยตัวเอง ก่อนที่จะเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาในลำดับถัดไปได้ อาการของพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อมมีดังนี้
อาการของผู้ป่วยทางสมองที่สมองเสื่อมจากพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อม
เฉยเมยและเฉื่อยชา : ผู้ป่วยทางสมองพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในระยะแรกสุดก็คือความเฉื่อยชาและเฉยเมยกับสิ่งรอบตัว เริ่มท้อ เริ่มเบื่อและเหนื่อยหน่ายกับชีวิตที่เป็นอยู่ หลายครั้งรุนแรงถึงขั้นหมดกำลังใจและมองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ไม่เห็นเหตุผลของการมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ซึ่งนี่เป็นอาการที่ค่อนข้างคล้ายกับโรคซึมเศร้ามาก และบางกรณีก็เกิดการเป็นแบบทับซ้อนร่วมกันไป การรักษายังคงเป็นการให้ยาตามอาการและติดตามผลอย่างใกล้ชิด
หุนหันพลันแล่นและก้าวร้าว : ผู้ป่วยทางสมองจากเดิมที่สามารถจัดการกับอารมณ์และพฤติกรรมได้ดี ก็กลายเป็นคนขี้หงุดหงิด กระสับกระส่าย อาจเกิดจากสภาวะทางอารมณ์และจิตใจเพียงอย่างเดียว เช่น จิตใจไม่สงบ ไม่สบายใจกับเรื่องเล็กๆน้อยๆ ยึดติดและหมกมุ่นกับบางสิ่งบางอย่างจนเกิดความตึงเครียด เป็นต้น หรืออาจจะเกิดจากสภาวะทางร่างกายร่วมด้วย มีอาการเจ็บปวดหรือความไม่สบายกายอย่างต่อเนื่อง เช่น ปวดท้องบ่อยๆ หิวบ่อยๆ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัวเป็นประจำ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ก็กระตุ้นให้มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นและก้าวร้าวได้เช่นเดียวกัน
อาการจากความผิดปกติในการควบคุมอารมณ์ : ผู้ป่วยทางสมองจะว่าง่ายๆคือการควบคุม “ความอยาก” ทั้งจากความต้องการภายในจิตใจและจากสิ่งเร้าภายนอก เช่น อยากกิน อยากใช้จ่าย อยากมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น เหล่านี้เป็นความอยากพื้นฐานที่เราจะควบคุมจังหวะและปริมาณที่เหมาะสมได้ แต่พอมีอาการป่วยที่ทำให้ส่วนของการควบคุมความอยากเสียหาย มันจึงส่งผลต่อการดำเนินชีวิตค่อนข้างมาก และประเด็นนี้ก็ต้องให้ความเข้าใจมากกว่าการห้ามแบบเด็ดขาดด้วย
ยับยั้งใจไม่ได้ : เมื่อมองผิวเพินอาการนี้อาการผู้ป่วยทางสมองแทบจะซ้อนทับกับอาการจากความผิดปกติในการควบคุมอารมณ์ แต่เมื่อมองให้ละเอียดลงไป การยับยั้งชั่งใจไม่ได้นั้นรุนแรงและลึกซึ้งกว่า เพราะผู้ป่วยมีโอกาสสูงมากที่จะทำสิ่งที่ผิดเพี้ยนไปจากกรอบความดีงามของสังคม และบางอย่างมันเป็นมากกว่าแค่ “ ความอยาก ” ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ทั้งกับผู้อื่นและตัวผู้ป่วยเอง
เมื่อพิจารณาดูกันชัดๆแล้ว อาการสมองเสื่อมจากของพฤติกรรมสมองกลีบหน้าเสื่อมนั้น ผู้ป่วยอาการสมองจะว่าสังเกตง่ายก็ง่าย จะว่าสังเกตยากก็ยากเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน เพราะหลายอย่างดูคล้ายกับพฤติกรรมธรรมดาทั่วไป หากไม่รุนแรงมากก็แทบจะจับความผิดปกติไม่ได้เลย ยิ่งถ้าเจ้าตัวไม่ยอมรับหรือญาติพี่น้องที่ใกล้ชิดไม่ใส่ใจสังเกตมากพอ ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการดูแลรักษาไม่น้อย และต่อให้มองเห็นความผิดปกติแล้ว ก็ยังต้องตรวจเช็คอีกหลายขั้นตอนก่อนสรุปผล จึงต้องมีส่วนร่วมในการรักษาไปด้วยกันทั้งผู้ป่วยและแพทย์ผู้ดูแล
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
วรพรรณ เสนาณรงค์. รู้ทันสมองเสื่อม / รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์: กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559. (22), 225 หน้า: (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 207) 1.สมอง. 2.สมอง–การป้องกันโรค. 3.โรคสมองเสื่อม. 4.โรคอัลไซเมอร์. 616.83 ว4ร7 ISBN 978-616-18-1556-1.
“Brain Cells for Socializing”. Smithsonian. Retrieved 30 October 2015.
Cardarelli R, Kertesz A, Knebl JA (December 2010). “Frontotemporal dementia: a review for primary care physicians”. Am Fam Physician. 82 (11): 1372–7. PMID 21121521.
Snowden JS, Neary D, Mann DM (February 2002). “Frontotemporal dementia”. Br J Psychiatry. 180 (2): 140–3. doi:10.1192/bjp.180.2.140. PMID 11823324.