มดลูกตก มดลูกหย่อน สาเหตุและอาการเบื้องต้น

0
34873
มดลูกตก มดลูกหย่อน สาเหตุและอาการเบื้องต้น
มดลูกต่ำ ( Pelvic Organ Prolapse ) หรือ มดลูกหย่อน ( Prolapsed Uterus ) มีอาการอย่างไร
มดลูกต่ำ หรือ มดลูกหย่อน เกิดจากมดลูกมีการเคลื่อนย้ายต่ำลงจากตำแหน่งเดิมมาจนถึงปากมดลูก จนอาจยื่นออกมาจากช่องคลอด

มดลูกต่ำ ( Pelvic Organ Prolapse ) หรือ มดลูกหย่อน ( Prolapsed Uterus )

มดลูกต่ำ (Pelvic Organ Prolapse) หรือมดลูกหย่อน (Prolapsed Uterus) คือภาวะที่มดลูกเคลื่อนต่ำลงจากตำแหน่งปกติจนถึงปากมดลูก หรืออาจยื่นออกมาจากช่องคลอดได้ ซึ่งภาวะนี้เกิดจากความบกพร่องของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่รองรับอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จะทำให้มดลูกเลื่อนลงไปที่ตำแหน่งที่ไม่ควรอยู่ หากอาการรุนแรงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นในบริเวณใกล้เคียง เช่น ช่องคลอด กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ หรือทวารหนัก จึงเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังและรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม.

สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของมดลูกต่ำ

สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของมดลูกต่ำ

  • การตั้งครรภ์อย่างน้อยหนึ่งครั้ง และการคลอดบุตรทางช่องคลอด
  • ท้องผูกเรื้อรัง หรือเครียดกับการเคลื่อนไหวของลำไส้
  • การผ่าตัดกระดูกเชิงกรานก่อนวัยหมดประจำเดือน
  • การลดระดับฮอร์โมนหญิงหลังหมดประจำเดือน
  • น้ำหนักทารกแรกเกิดที่มากกว่า 3,500 กรัม
  • รูปร่างลักษณะของกระดูกเชิงกราน
  • น้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
  • ประวัติครอบครัวที่มีมดลูกต่ำ
  • ผู้หญิงที่มีอาชีพยกของหนัก
  • อายุที่มากขึ้น
  • การสูบบุหรี่

อาการของมดลูกต่ำ มดลูกหย่อน

อาการของมดลูกต่ำ มดลูกหย่อนผู้หญิงที่มีอาการมดลูกต่ำในอุ้งเชิงกรานมักมีอาการรู้สึกหน่วงบริเวณมดลูก ซึ่งอาจมีอยู่ตลอดเวลาหรือมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะปรากฏขึ้นหลังจากผ่านการยืนหรือออกกำลังกายหนักมาทั้งวัน ซึ่งจะมีอาการดังนี้

  • ความรู้สึกเหมือนมีอะไรโผล่ออกมาทางช่องคลอด
  • ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ขณะไอ จาม หรือกำลังออกกำลังกาย อาจปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • ความรู้สึกตึงหน่วงบริเวณกระดูกอุ้งเชิงกราน
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย ๆ
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีตกขาวมาผิดปกติ
  • ปวดหลังส่วนล่าง
  • เดินลำบาก
  • ท้องผูก

ระดับอาการมดลูกหย่อน

ระดับที่ 1 เกิดภาวะมดลูกหย่อนมาที่ช่องคลอดครึ่งหนึ่ง
ระดับที่ 2 เกิดภาวะมดลูกหย่อนมาใกล้ปากช่องคลอด
ระดับที่ 3 เกิดภาวะมดลูกหย่อนออกมานอกช่องคลอด
ระดับที่ 4 เกิดภาวะมดลูกหย่อนออกมานอกช่องคลอดทั้งหมด เรียกว่ามดลูกย้อย ( Procidentia ) ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทั้งหมดเสื่อมสภาพ

มดลูกต่ำ หรือ มดลูกหย่อน เกิดจากมดลูกมีการเคลื่อนย้ายต่ำลงจากตำแหน่งเดิมมาจนถึงปากมดลูก จนอาจยื่นออกมาจากช่องคลอด

การวินิจฉัยอาการมดลูกต่ำ

การวินิจฉัยอาการมดลูกต่ำเกิดขึ้นเมื่อผนังช่องคลอดเกิดการบาดเจ็บทำให้อวัยวะต่าง ๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะ มดลูก หรือทวารหนักยื่นเข้าไปในช่องคลอด บางครั้งอาจเกิดจากเนื้อเยื่อกระดูกเชิงกรานและกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากการคลอดบุตร อาการไอเรื้อรัง อายุ และอาการท้องผูกอาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานได้รับบาดเจ็บได้ อาการมดลูกต่ำสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงที่เคยมีบุตรแล้ว โดยแพทย์เริ่มต้นจากการซักประวัติของผู้ป่วยและตรวจร่างกายของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานของผู้ป่วย อาจต้องมีการทดสอบบางอย่างเช่น การทดสอบการรั่วไหลของกระเพาะปัสสาวะ การทดสอบความแข็งแรงของอุ้งเชิงกราน ถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก ( MRI ) และวิธีการถ่ายภาพโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อสร้างภาพของไตกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อรอบ ๆ ทวารหนักวิธีพวกนี้ช่วยให้แพทย์ประเมินระดับความรุนแรงของอาการมดลูกต่ำได้ เพื่อกำหนดแนวทางการรักษาได้อย่างถูกต้องและแม่นยำอีกด้วย

การรักษามดลูกต่ำ

การรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการผู้ป่วย หากอวัยวะในอุ้งเชิงกรานของผู้ป่วยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยแพทย์แนะนำให้รักษาอาการมดลูกต่ำโดยไม่ต้องผ่าตัดแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ลดน้ำหนักกรณีคนอ้วน หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ป้องกันไม่ให้ท้องผูก

  • การบำบัดทางกายภาพของอุ้งเชิงกราน เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรงโดยการฝึกขมิบช่องคลอด
  • การใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการหย่อนของมดลูก
  • การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงในช่องคลอด
  • การผ่าตัด ในกรณีเกิดภาวะมดลูกหย่อนออกมานอกช่องคลอดทั้งหมด

ภาวะแทรกซ้อนจากมดลูกต่ำ

มดลูกต่ำมักจะเกี่ยวข้องกับอาการหย่อนของอวัยวะอุ้งเชิงกรานอื่น ๆ พบได้ดังนี้

  • อาการหย่อนของกระเพาะปัสสาวะก่อนหน้า เนื้อเยื่ออุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรงแยกกระเพาะปัสสาวะและช่องคลอดอาจทำให้กระเพาะปัสสาวะโค้งตัวเข้าไปในช่องคลอด
  • หลังช่องคลอดย้อย เนื้อเยื่ออุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรงแยกไส้ตรงและช่องคลอด อาจทำให้ไส้ตรงนูนออกมาทางช่องคลอดส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้ได้

การป้องกันเพื่อลดการเกิดมดลูกต่ำ

  • ออกกำลังกายสามารถเสริมสร้างกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหลังคลอดได้
  • กินอาหารที่มีเส้นใยสูงประเภทผัก ถั่ว และธัญพืชไม่ขัดสี ป้องกันท้องผูก
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือยกของอย่างถูกวิธี เช่น ยกโดยใช้ขาแทนเอว หรือหลัง
  • ลดน้ำหนักอย่างจริงจัง
  • เลิกสูบบุหรี่

อย่างไรก็ตามภาวะมดลูกต่ำหรือมดลูกหย่อนสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงทุกวัยพบบ่อยครั้งอาจส่งผลกระทบต่อสตรีวัยหมดประจำเดือนที่เคยคลอดบุตรตั้งแต่หนึ่งครั้งขึ้นไปโดยคลอดเองทางช่องคลอด

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

(ศูนย์ศรีพัมน์) เรื่องสตรีที่มีอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน ยื่นย้อย (ออนไลน์).สืบค้นจาก : http://sriphat.med.cmu.ac.th [4 เมษายน 2563].

Pelvic Organ Prolapse (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://my.clevelandclinic.org [4 เมษายน 2563].

Pelvic organ prolapse (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.mayoclinic.org [4 เมษายน 2563].