การแท้งบุตร หรือการแท้งลูก ( Miscarriage ) เกิดได้อย่างไร
การแท้งบุตร หรือการแท้งลูก ( Miscarriage ) คือ หญิงตั้งครรภ์ที่สูญเสียตัวอ่อน หรือทารกในครรภ์ช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ จะเกิดขึ้นภายในสามเดือนแรก

ยุติการตั้งครรภ์ หรือการแท้งลูก

ยุติการตั้งครรภ์ หรือการแท้งลูก ( Miscarriage ) คือ หญิงตั้งครรภ์ที่สูญเสียตัวอ่อน หรือทารกในครรภ์ช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ จากการศึกษาพบว่าการแท้งลูกในหญิงตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นภายในสามเดือนแรกคิดเป็น 10 – 25 เปอร์เซ็นต์ โดยมีแนวโน้มที่จะเกิดการแท้งบุตรน้อยลง เมื่อผ่าน 20 สัปดาห์แรกไปแล้วทางการแพทย์เรียกว่า การตั้งครรภ์ตอนปลาย

สาเหตุของการยุติการตั้งครรภ์

สำหรับผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์สุขภาพแข็งแรงดีโอกาสของการแท้งบุตร อาจอยู่ในช่วง 10 – 25 % แต่ผู้หญิงที่มีโรคประจำตัวหรืออายุมาก โดยเฉลี่ยจะมีโอกาสการแท้งลูกสูงประมาณ 20 – 35 % รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่

  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • หญิงตั้งครรภ์เป็นโรคอ้วน
  • การติดเชื้อที่รุนแรงของหญิงตั้งครรภ์
  • การบาดเจ็บที่ส่งผลโดยตรงต่อมดลูก
  • หญิงตั้งครรภ์เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • การใช้ยาและสารเสพติดในหญิงตั้งครรภ์
  • หญิงตั้งครรภ์เป็นโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
  • หญิงตั้งครรภ์เป็นโรคเบาหวานประเภท 1 หรือ 2 ที่รุนแรง
  • หญิงตั้งครรภ์ที่อายุมากมีแนวโน้มที่จะแท้งลูกมากกว่าสตรีอายุน้อยกว่า
  • การสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์มากยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งลูกได้ง่าย
  • การแท้งบุตรที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในระหว่างการปฏิสนธิ
  • การแท้งบุตรก่อนหน้ามากกว่า 2 ครั้ง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งลูกในอนาคตได้
  • ความผิดปกติทางกายวิภาคของหญิงตั้งครรภ์ เช่น เนื้องอกในมดลูก มะเร็งมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  • การตั้งครรภ์ในขณะที่ใช้ยาคุมกำเนิดผิดวิธี เช่น ยาคุมฉุกเฉิน ลืมกินยาคุมกำเนิด หรือใช้อุปกรณ์คุมกำเนิดไม่ถูกต้อง
  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและการสัมผัส หญิงตั้งครรภ์อาจไปสัมผัสกับสารพิษจากรังสี ตะกั่ว สารหนู และมลพิษทางอากาศมากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งลูกได้ได้

ประเภทของการยุติการตั้งครรภ์

1. การแท้งคุกคาม ( threatened abortion ) คือ การมีเลือดออกทางช่องคลอดงเกิดขึ้นใน 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ประมาณ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ อาจมีอาการร่วมด้วยเป็นตะคริว ปวดหลัง เป็นต้น
2. การแท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ( Inevitable or Incomplete Miscarriage ) คือ การตั้งครรภ์ระยะแรกที่มีเลือดออกทางช่องคลอดและการขยายของปากมดลูก โดยทั่วไปแล้วเลือดออกทางช่องคลอดจะแย่กว่าการแท้งที่ถูกคุกคาม มีอาการเป็นตะคริวมากขึ้นอีกด้วย
3. การแท้งครบ ( complete abortion ) คือ มีการตกเลือดทำให้ทารกและเนื้อรกทั้งหมดออกมาจากปากมดลูกในช่วงอายุครรภ์ก่อน 20 สัปดาห์
4. การแท้งไม่ครบ ( incomplete abortion ) คือ ในระหว่างการตั้งครรภ์ตัวอ่อนและรกมีการหลุดลอกออกจากโพรงมดลูกแต่ยังมีชิ้นส่วนอื่น ๆ ยังเหลืออยู่ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีเลือดไหลออกมากซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อมารดาได้
5. การแท้งค้าง ( missed abortion ) คือ การแท้งบุตรอย่างถาวรไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ในครรภ์หยุดการเจริญเติบโต ซึ่งเนื้อเยื่อจะถูกขับออกมาจากมดลูกจนหมดโดยที่ปากมดลูกยังปิดอยู่ควรรีบไปพบแพทย์

สัญญาณที่พบบ่อยที่สุดของการแท้งบุตรจะเกิดขึ้นก่อนสัปดาห์ที่ 12 ของการตั้งครรภ์ อาจร้ายแรงเนื่องจากมีความเสี่ยงที่คุณอาจจะการแท้งลูก แต่บางครั้งก็ไม่มีอาการที่แสดงออกที่ชัดเจน

ข้อสังเกตของอาการของยุติการตั้งครรภ์

  • มีไข้
  • ท้องเสีย
  • อาเจียน
  • ปวดไหล่
  • ปวดหลังส่วนล่าง
  • หน้าซีดหรือเป็นลม
  • ตกขาวเป็นสีน้ำตาลปนเลือด และมีกลิ่น
  • หญิงตั้งครรภ์บางคนมีเลือดออกทางช่องคลอด
  • มีของเหลวหรือเนื้อเยื่อไหลออกมาจากช่องคลอด
  • มีอาการปวดหรือเป็นตะคริวบริเวณหน้าท้องหรืออุ้งเชิงกราน

การวินิจฉัยการยุติการตั้งครรภ์ของแพทย์

แพทย์ซักประวัติการแท้งลูกก่อนหน้านี้หากคุณแม่มีเลือดออกทางช่องคลอดจะใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์ผ่านหน้าท้องของคุณแม่ เพื่อตรวจประเมินพัฒนาการของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ ช่วยตรวจสอบว่ามีการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์หรือไม่และถุงน้ำคร่ำที่โอบล้อมรอบตัวทารกในครรภ์เป็นปกติหรือไม่
การรักษาการแท้งบุตร การรักษาเมื่อแท้งบุตรขึ้นอยู่กับอาการของคุณเป้าหมายหลักของการรักษา เพื่อป้องกันการตกเลือดและการติดเชื้อ หากมีเลือดออกทางช่องคลอดและเป็นตะคริวบ่อยครั้งบ่งบอกถึงการแท้งลูกที่รุนแรง ในหญิงตั้งครรภ์ที่แท้งลูกบางคนร่างกายจะมีการขับเนื้อเยื่อในครรภ์ออกมาทางช่องคลอด หากรกเด็กเกิดตกค้าง รกออกไม่หมด เน่าและมีการติดเชื้อในมดลูกต้องรักษาโดยการขยายปากมดลูก และขูดเยื่อบุโพรงมดลูก หลังจากนั้นจะได้รับยาปฏิชีวนะหรืออื่น ๆ เพื่อลดการตกเลือด แพทย์จะติดตามอาการอย่างใกล้ชิดให้แน่ใจว่าไม่มีเลือดออกทางช่องคลอด

ภาวะแทรกซ้อนจากการยุติการตั้งครรภ์

แม้ว่าการแท้งลูกในช่วงแรกส่วนใหญ่จะไม่ซับซ้อน แต่ผู้หญิงบางรายมีอาการแทรกซ้อนหลังจากแท้งลูกได้ เช่น

  • มีไข้
  • น้ำหนักลด
  • รู้สึกหนาวสั่น
  • มีภาวะซึมเศร้า
  • ตกขาวมีกลิ่นเหม็น
  • รู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
  • การแท้งบุตรซ้ำในอนาคต
  • การติดเชื้อหลังจากแท้งลูก
  • อาจมีเนื้อเยื่อบางส่วนค้างอยู่ในมดลูก
  • การตกเลือด หรือมีเลือดออกมากเกินไป
  • มีปัญหาในการนอนหลับไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป
  • เลือดออกเป็นเวลานาน และเป็นตะคริว ( นานกว่า 2 สัปดาห์ )

วิธีป้องกันการยุติการตั้งครรภ์

ส่วนใหญ่การแท้งลูกมักเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกในครรภ์ที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่อย่างไรก็ตามการแท้งก็ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรมทั้งหมดดังนั้นจึงมีวิธีป้องกันการแท้งลูกที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่คุณแม่ควรรู้และปฏิบัติตาม

  • จัดการความเครียด
  • ไม่ใช้ยาเสพติดทุกชนิด
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ฉีดวัคซีนป้องกันการแท้งบุตร
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ไม่สูบบุหรี่และอยู่ห่างจากควันมือสอง
  • ทานวิตามิน หรืออาหารเสริม ที่ช่วยบำรุงมดลูก
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากกว่า 1 ถึง 2 แก้ว เช่น กาแฟต่อวัน
  • หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยงสูงต่อการบาดเจ็บบริเวณหน้าท้อง
  • หลีกเลี่ยงรังสี และสารพิษ เช่น สารหนู ตะกั่ว
  • หลีกเลี่ยงอันตรายจากสิ่งแวดล้อม เช่น รังสีเอกซ์ ควันพิษ ฝุ่น PM 2.5 และโรคติดเชื้อร้ายแรง อาทิ เชื้อไวรัสโควิด -19

นอกจากนี้คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการวางแผนในการมีบุตรคนต่อไปตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพดี ช่วยลดความเสี่ยงของการแท้งบุตรที่อาจเกิดขึ้นอีกได้ในอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

Miscarriage (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://americanpregnancy.org [6 เมษายน 2563].

Threatened Miscarriage (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.healthline.com [6 เมษายน 2563].

Understanding Miscarriage Prevention (ออนไลน์).สืบค้นจาก : https://www.webmd.com [7 เมษายน 2563].