โรคถุงน้ำในไต
โรคถุงน้ำในไต Polycystic kidney disease (PKD) คือ ซีสต์ที่ไต สามารถเป็นรูปวงรีหรือวงกลม โดยมีขนาดน้อยกว่า 1 เซนติเมตรไปจนถึงมากกว่า 10 เซนติเมตร ถุงน้ำในไตพบได้ทั่วไปและสามารถเป็นถุงเดี่ยว หรือหลายถุงและทั้งสองด้าน สืบทอดมาจากการกลายพันธุ์ของยีนที่พัฒนาและก่อตัวทำให้เกิดซีสต์ (cyst) ภายในไต โดยปกติแล้วไตของคนเราจะมีถุงน้ำหลายใบอยู่ในนั้น เมื่อเวลาผ่านไปไตมักจะมีการขยายตัวใหญ่ขึ้นผิดปกติไตก็จะเสียหาย ซึ่งปัจจุบันโรคถุงน้ำในไตสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนแม้ในครอบครัวไม่มีประวัติเป็นโรค PKD มีโอกาสเกิดขึ้นเองได้ถึง 50% โรคถุงน้ำในไตมี 2 ประเภท ได้แก่ 1.โรคไตชนิดถุงน้ำที่มีการถ่ายทอดแบบลักษณะเด่น (Autosomal Dominant Polycystic Kidney Disease : ADPKD) มักพบในผู้ที่มีอายุ 30-40 ปี 2.โรคถุงน้ำในไตชนิดพันธุกรรมด้อย (Autosomal Recessive Polycystic Kidney Disease : ARPKD) มักเกิดขึ้นหลังการคลอดได้ นอกจากนั้นซีสต์ยังสามารถรบกวนการทำงานของไตส่งผลกระทบต่อการกรองของเสียออกจากเลือดจึงอาจนำไปสู่ภาวะไตวายได้
อาการของโรคถุงน้ำในไต ที่พบบ่อยที่สุด
ส่วนใหญ่แพทย์มักจะพบผู้ป่วยมาโรงพยาบาลด้วยอาการปวดหลัง มีไข้ ปัสสาวะบ่อย เจ็บบริเวณซีโครงหรือสะโพก เบื้องต้นจะมีอาการไม่รุนแรง แต่อาจพบภาวะแทรกซ้อนอื่นดังต่อไปนี้
- ความดันโลหิตสูง
- ปัสสาวะเป็นเลือด
- ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อย
- ตรวจพบซีสต์ที่ตับ หรือตับอ่อน
- ลิ้นหัวใจผิดปกติ
- นิ่วในไต
- การโป่งพองของผนังหลอดเลือดแดง
- ท้องบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ภาวะครรภ์เป็นพิษ (ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์)
สาเหตุของโรคถุงน้ำในไต
เกิดจากการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมทำให้เกิดโรคถุงน้ำในไต Polycystic kidney disease (PKD) ส่วนใหญ่คนในครอบครัวสามารถส่งต่อยีนที่ผิดปกติให้บุตรหลานได้ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกเพศทุกวัย
การป้องกัน และวิธีรับมือกับโรคถุงน้ำในไต
การเตรียมตัวรับมือก่อนการวางแผนมีบุตรควรขอคำแนะนำจากแพทย์ช่วยประเมินความเสี่ยงในการส่งต่อโรคถุงน้ำในไตไปยังลูกหลานของตนเอง แพทย์จะแนะนำให้ทำการทดสอบทางพันธุกรรมโดยการตรวจเลือดหรือน้ำลายสามารถตรวจหายีนกลายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคถุงน้ำในไตได้
อย่างไรก็ตามแม้โรคถุงน้ำในไตจะฟังดูน่ากลัว แต่เราสามารถป้องกันและควบคุมโรคนี้ได้ด้วยการดูแลสุขภาพ โดยการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำ ควบคุมและรักษาความมันโลหิตให้เป็นปกติ ควบคุมอาหารที่มีโซเดียมสูง ดื่มน้ำให้มากๆ ออกกำลังการเบาๆ เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากโรคคถุงน้ำในไตได้
บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม