ไตวายเรื้อรัง
การรักษา ไตวายเรื้อรัง นั้น ขึ้นอยู่กับระยะของโรคไต ส่วนใหญ่เน้นการรักษาแบบประคับประคอง บรรเทาอาการเจ็บป่วย ซึ่งจะช่วยชะลอการดำเนินโรคและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน นอกจากนั้นยังต้องรักษาโรคร่วมที่เป็นสาเหตุของโรคไตวายด้วย เช่น ให้ยาควบคุมเบาหวาน รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติไตไม่ต้องทำงานหนักมากเกินไป ให้ยาควบคุมความดันเลือดสูง ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไตก็จะเสี่ยมช้าลง ให้ยารักษาโรคเกาต์ ผ่าตัดนิ่วในไต เป็นต้น
การรักษาไตวายเรื้อรังแบบประคับประคอง
ควบคุมอาหารและน้ำ เลือกอาหารธรรมชาติที่มีประโยชน์ จำกัดโปรตีน เกลือโซเดียม ฟอสเฟต โพแทสเซียม ซึ่งจะเป็นปริมาณที่ต่ำกว่าคนปกติดูแลตนเองอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ไตเสื่อมกว่าเดิม โอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนน้อยลงดังนี้
1.ทุกวันควรพักผ่อนให้เพียงพอ ให้ระบบฮอร์โมนทำงานเป็นปกติ
2. ควรใช้เวลา 2 ชั่วโมงในการสำรวจร่างกายและผ่อนคลายด้วยการฝึกโยคะหรือนั่งสมาธิ หรือการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
3.ออกกำลังกายแบบเเอโรบิคตามสภาพอย่างสม่ำเสมอ เช่น วิ่ง เต้นแอโรบิค ลีลาศ ว่ายน้ำ ให้ถึงระดับเหนื่อยพอควร ครั้งละ 30 – 45 นาที สัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง และควรฝึกกล้ามเนื้อด้วย เช่น ฝึกยกดัมเบลล์ ฝึกกับขวดน้ำ หรือใช้ยางยืดเข้ามาช่วย สัปดาห์ละ 2 – 4 ครั้ง
4.ลดน้ำหนักในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน งดปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคไตวาย งดบุหรี่ สุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้ง ยาต่อไปนี้ด้วย
4.1 ยาแก้ปวด แก้อักเสบ กลุ่มเอนเซ็ด
4.2 ยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์
4.3 การฉีดสารทึบรังสี
4.4 สมุนไพรที่รับประทานอย่างเข้มข้นหรือต่อเนื่อง
ควรรับประทานยาและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ควรปรับขนาดยาเอง หรือซื้อยาใช้เอ เพราะยาหลายชนิดที่มีพิษต่อไตระวังและรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะโพแทสเซียมสูง ภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะบวมและความดันเลือดสูง รวมทั้งระวังและรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ ไตวายเรื้อรังระยะที่ 4-5 ดูแลรักษาเพิ่มเติม
การฟอกเลือดหรือล้างไต จะช่วยลดอาการคั่งของเกลือ ของเสีย ในร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการบวม หอบ เหนื่อย ชัก กระดุก รวมถึงอาการคลื่นไส้ อาเจียนจะหายไป
5.ศึกษาเรียนรู้เรื่องการบำบัดทดแทนไต
ดูข้อดีและข้อเสียของแต่ละวิธี ค่าใช้จ่ายและสิทธิประโยชน์จากบัตรที่มีอยู่ หรือการช่วยเหลือจากรัฐ หรือจากประกันชีวิต หรือหน่วยงานอื่นๆ ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ในคนที่ยังไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อนี้ โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อหัวไหล่ทั้งสองข้าง ฉีด 3 ครั้ง คือ เดือนที่ 0 1 และ 6 ติดตามตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันขึ้นหรือยังที่ 1 เดือนหลังเข็มสุดท้าย ส่วนใหญ่จะมีภูมิต้านทานขึ้นมาป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้
แต่ถ้าฉีดครบแล้วยังไม่มีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น ต้องทำการฉีดซ้ำและตรวจภูมิคุ้มกันหลังฉีดครบ 3 เข็งเหมือนเดิม
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี เพราะวัคซีนชนิดนี้คุ้มกันได้เพียงปีเดียว ผู้ป่วยโรคไตวายระยะท้าย ควรตรวจอัลบูมินในซีรั่มทุก 3-6 เดือน โดยอัลบูมินไม่ควรต่ำกว่า 3.5 กรัม% การบำบัดทดแทนไต หรือเรียกว่า การฟอกเลือด การล้างไต จะกระทำเมื่อมีของเสียคั่งอย่างมาก รักษาด้วยยาและการควบคุมอาหารแล้วยังไม่ช่วยควบคุมอาการของโรคได้ จึงจำเป็นต้องล้างไต
6.เมื่อถึงระยะสุดท้ายของโรคไตวาย
ไตทำงานน้อยกว่าร้อยละ 10 เมื่ออัตรากรองของไต ( จีเอฟอาร์ ) น้อยกว่า 6 แม้ว่าจะไม่มีภาวะทุพโภชนาการก็ตาม ของเสียคั่งในเลือด มีบียูเอ็นมากกว่า 100 มิลลิกรัม% ระดับครีเอตินีนมากกว่า 10 มิลลิกรัม% แต่ถ้าผู้ป่วยขาดสารอาหารอย่างมากด้วย จะใช้ค่าบียูเอ็นมากกว่า 70 มิลลิกรัม% ครีเอตินีนสูงกว่า 7 มิลลิกรัม% ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงมาก ให้ยารักษาแล้วยังไม่ได้ผลจนอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ จนอาจเสียชีวิตได้ ภาวะน้ำและโซเดียมเกินให้ยาขับปัสสาวะขนาดสูงแล้วไม่ได้ผลโดยเฉพาะเมื่อร่วมกับภาวะหัวใจล้มเหลวและน้ำท่วมปอด ภาวะเลือดเป็นกรดอย่างรุนแรง ค่าคาร์บอนไดออกไซด์ ต่ำกว่า 15 มิลลิโมลต่อลิตร ซึ่งใช้ยาไบคาร์บอเนตแล้วยังไม่ดี ยังมีผลทำให้หอบ และมีอาการทางสมอง โดยเฉพาะถ้าพบร่วมกับภาวะน้ำเกิน มีอาการขั้นรุนแรงอื่นๆ เช่น ระบบอาหาร ( คลื่นไส้ อาเจียน สะอึก ) หรือมีเยื่อบุหัวใจอักเสบ เลือดซีดจาง ซึ่งแพทย์มักจะเริ่มให้ทำการฟอกเลือดได้ตั้งแต่เริ่มซีด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการที่รุนแรง ร่วมกับให้ยาธาตุเหล็ก และกรดโฟลิด
7.การปลูกถ่ายไตใหม่
ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตหรือเรียกว่า เปลี่ยนไต ( รีนัลทราสพลานเตชั่น ) ซึ่งเป็นการรักษาที่ดี ทำให้ไตทำงานได้เป็นปกติไม่มีของเสียคั่งค้างให้ต้องล้างไต หรือจำกัดอาหารมากจนเกินไป แต่ถ้าไตใหม่ทำงานไม่ดี ก็สามารถกลับมาทำการฟอกเลือดหรือล้างไตต่อไป แล้วยังมีโอกาสรอรับการปลูกถ่ายไตใหม่ได้อีกครั้งในอนาคต อย่างไรก็ตาม มีค่าใช้จ่ายสูงมากทั้งในตอนที่ผ่าตัด และค่ายากดภูมิต้านทานทุกวันไปตลอดชีวิต เพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านไตใหม่ ซึ่งแพงมากเช่นกัน
ติดตามตรวจไตวายเรื้อรังบ่อยไหม เป้าหมายอย่างไร?
ความถี่ในการติดตามโรคไตเรื้อรัง ขึ้นกับระยะของโรคดังนี้
เมื่อเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1 – 2 ควรได้รับการตรวจติดตามทุก 12 เดือน ( ทุก 6 เดือน ถ้าตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ) โรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 ติดตามอย่างน้อยทุก 6 เดือน (ทุก 12 เดือน ถ้าระดับการทำงานของไตคงที่ ) โรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 ขึ้นไป ที่จีเอฟอาร์เสื่อมลงเร็วกว่าปีละ 7 มล/นาที หากยังไม่ได้พบแพทย์เฉพาะทาง ก็ควรพบและรับการตรวจประเมินจากอายุรแพทย์โรคไตได้แล้ว
รับการตรวจประเมินจากอายุรแพทย์โรคไตได้แล้ว
โรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 4 ติดตามอย่างน้อยทุก 3 เดือน ( ทุก 6 เดือน ถ้าระดับการทำงานของไตคงที่ ) โรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 5 พบแพทย์โรคไต ( เนฟโรโลจิสต์ ) อย่างน้อง ทุก 3 เดือน เพื่อติดตามดูตัวชี้วัดต่างๆ แพทย์จะนัดสอบถามอาการ และตรวจร่างกาย ตามความจำเป็น ซึ่งสัมพันธ์กับการคงระดับ เป้าหมายตัวชีวัดสุขภาพ ให้อยู่ในเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1.เจาะเลือดดูค่าอัตราการกรองของไต ( จีเอฟอาร์ )
2.ตรวจดูโปรตีนในปัสสาวะ และระดับอัลบูมินในเลือด ( ซึ่งบ่งบอกภาวะทุพโภชนาการ ) ไม่ควรต่ำกว่า 3.5 กรัม%
3.ความดันเลือดต้องไม่เกิน 130/80 ( หลังฟอกเลือด ) หรือ 140/80 มิลลิเมตรปรอท ( ก่อนฟอกเลือด )
4.ไขมันเลว ( แอลดีแอล ) ในเลือดต้องต่ำกว่า 100 มก.% ถ้าไม่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วม หรือต่ำกว่า 70 มก.% 5.ถ้ามีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วมด้วย
6.ควรรักษาน้ำหนักตัว ให้ดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 18.5 – 23 หน่วย ( ดัชนีมวลกายคำนวณจากการเอาน้ำหนักเป็นกิโลกรัมตั้ง แล้วหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรสองครั้ง )
7.กรณีเป็นเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร ( FBS ) ควรอยู่ระหว่าง 90 – 130 หรือระดับน้ำตาลสะสม ( ฮีโมโกลบินเอวันซี / HbA1C ) น้อยกว่า 7.0%)
8.ระดับฮีโมโกลบิน ( ซึ่งบ่งบอกภาวะเลือดซีดจาง ) ไม่ควรต่ำกว่า 10 กรัม%
ผู้ป่วยที่ต้องบำบัดทดแทนไต มักจะมีอาการผิดปกติที่เห็นได้ชัดเจน อันเนื่องมาจากของเสียคั่ง หรือเรียกว่า ภาวะยูรีเมีย ซึ่งมีสารยูเรียที่ได้จากขบวนการสลายโปรตีน ยูเรียจะเปลี่ยนรูปเป็นแอมโมเนียซึ่งระเหยออกทางลมหายใจ
อาการผิดปกติในระยะนี้ คือ
เบื่ออาหาร สะอึก คลื่นไส้ อาเจียน มีแผลในปาก ท้องเดิน
เกลือโซเดียมและน้ำคั่งมาก จนตัวบวม ความดันเลือดสูงที่ควบคุมได้ยาก และอาจมีน้ำท่วมปอด
ลมหายใจมีกลิ่นคล้ายแอมโมเนีย
มึนงง สับสน พูดจาไม่รู้เรื่อง ไม่มีเหตุผล จำวัน เวลาสถานที่ไม่ได้
อาการกระตุก ซึมหมดสติ และอาจมีอาการชัก
อาจมีหัวใจล้มเหลว ทำให้หอบ เหนื่อย แน่นหน้าอกนอนราบไม่ได้
ไตวายเฉียบพลัน อาจจะฟอกเลือดหรือล้างไต สัปดาห์ละ2-3 ครั้งนาน 1-2 สัปดาห์ ( แต่บางรายอาจนานถึง 6 เดือน ) ไตจะกลับมาทำงานตามปกติ ก็สามารถหยุดการฟอกได้ เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของไตของแต่ละคน
ผู้ป่วยที่ห้ามล้างไตหรือฟอกเลือด
ผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลันที่พบร่วมกับโรคมะเร็งหรือโรคเรื้อรังระยะสุดท้าย ความดันเลือดต่ำ และมีเลือดออก ( เช่น มีประจำเดือน เลือดออกในช่องท้อง )
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง
เอกสารอ้างอิง
Deerfield, Illinois: Baxter International Inc. 2002-08-07
National Kidney and Urologic Diseases Information Clearinghouse (2011).