การตรวจปัสสาวะหาค่า Urine Spot MAU/creatinine ratio
Urine Spot MAU/creatinine ratio ตรวจเพื่อหาอัตราส่วนของค่าอัลบูมินขนาดเล็กต่อค่าครีเอตินีน

Spot Urine หรือ Urine Spot MAU คือ

Spot MAU / Creatinine Ratioหรือ Spot Urine หรือ Urine Spot MAU คือ การสุ่มตรวจจากตัวอย่างน้ำปัสสาวะ ณ เวลาใดก็ได้ เพื่อหาอัตราส่วนของค่าอัลบูมินขนาดเล็กต่อค่าครีเอตินีนซึ่งทั้งนี้การตรวจหาค่าดังกล่าวจะสามารถบ่งชี้ถึงการป่วยด้วย  โรคร้ายบางโรคได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะโรคไต

ความสำคัญของการตรวจพบอัลบูมินในปัสสาวะ

ปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะจะเป็นตัวที่กำหนดว่าว่าผู้ใดจะกลายเป็นโรคไตวาย ผู้ที่มีไข่ขาวในปัสสาวะน้อยโอกาศเสี่ยงที่จะกลายเป็นโรคไตวายจะต่ำ ผู้ที่มีอัลบูมินในปัสสาวะสูงมีโอกาศจะกลายเป็นโรคไตวายสูง นอกจากนั้นปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะยังสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจ อัตราการเสียชีวิต

วัตถุประสงค์ในการตรวจหาค่าปัสสาวะ Urine Spot MAU

1.การตรวจ Urine Spot MAU พบค่าที่สูงในน้ำปัสสาวะเพียงอย่างเดียวก็สามารถบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพไตได้ ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะวินิจฉัยว่ามีความเสี่ยงป่วยโรคไตดังนี้

ป่วยด้วยโรคไตในระยะเริ่มต้น ที่ยังไม่รุนแรง

ป่วยโรคไตที่เนื่องมาจากโรคเบาหวาน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา ก็อาจนำไปสู่การเป็นโรคไตระยะสุดท้าย โรคตาและโรคหลอดเลือดหัวใจได้อีกด้วย

ป่วยโรคไตที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน โดยทั้งนี้บริษัทประกันชีวิตส่วนใหญ่ก็ได้ใช้ค่าการตรวจดังกล่าวในการทำนายอายุขัยของผู้เอาประกันด้วย เพราะค่าที่ได้มักจะทำนายได้อย่างแม่นยำมากทีเดียว

2.อย่างไรก็ตาม ค่า Urine Spot MAU ที่ตรวจพบในน้ำปัสสาวะอาจไม่แน่นอนเสมอไป เพราะมักจะมีการผันแปรเบี่ยงเบนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อความแม่นยำมากขึ้นจึงได้มีการคิดสูตรขึ้นมา เพื่อนำค่าน้ำปัสสาวะที่สุ่มตรวจแล้ว มาคำนวณตัดปัจจัยเรื่องน้ำออกไป โดยมีสูตรดังนี้

Urine Spot MAU , Creatinine Ratio หมายถึงการสุ่มตรวจจากตัวอย่างน้ำปัสสาวะ ณ เวลาใดก็ได้ เพื่อหาอัตราส่วนของค่าอัลบูมินขนาดเล็กต่อค่าครีเอตินีน การตรวจหาค่า Spot MAU จะบ่งชี้ถึงการป่วยด้วยโรคร้ายบางโรคได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะโรคไต

Microalbumin / Creatinine = อัตราส่วน ( ของโปรตีน )

 

Urine Albumin Creatinine Ratio คือ

1.Albumin คือโปรตีนซึ่งตามปกติแล้วจะมีขนาดของโมเลกุลที่ใหญ่มากและยังเป็นตัวแทนของโปรตีนในหลอดเลือดมากถึง 50-60 เปอร์เซ็นต์อีกด้วย

2.ส่วนใหญ่แล้วหากไตยังคงทำงานได้อย่างปกติ ไม่มีปัญหาใดๆ มักจะทำหน้าที่ในการกรอง Albumin กลับเข้าสู่ร่างกายเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป จะมีหลงไปกับน้ำปัสสาวะก็เพียงแค่อัลบูมินที่มีขนาดเล็กเท่านั้น โดยจะถูกเรียกว่า Spot Urine หรือ MAU นั่นเอง

Microalbuminuria, Micro เล็ก
Albumin อัลบูมิน
Uria น้ำปัสสาวะ

 

Urine Spot MAU คือ อัลบูมินขนาดเล็ก การกรอง Albumin กลับเข้าสู่ร่างกายเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป จะมีหลงไปกับน้ำปัสสาวะก็เพียงแค่อัลบูมินที่มีขนาดเล็กเท่านั้น

3.MAU ที่ตรวจพบในปัสสาวะจะนับเป็นมิลลิกรัมต่อน้ำปัสสาวะ 1 ลิตร ดังนั้นหากตรวจหาค่า Urine Spot MAU ในขณะที่มีน้ำปัสสาวะน้อยหรือร่างกายกำลังอยู่ในภาวะขาดน้ำก็จะทำให้ตรวจพบค่าที่สูงผิดปกติได้นั่นเอง จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการตรวจ MAU ในน้ำปัสสาวะอาจให้ผลตรวจที่ไม่แน่นอนได้ อย่างไรก็ตามบังเอิญว่าค่า Creatinine ใช้หน่วยการตรวจเป็น mg/dL จึงสามารถแปลงหน่วยเป็น mg/L ได้ไม่ยาก แล้วนำมาเทียบกับค่า MAU ที่ตรวจได้ ก็จะให้ผลลัพธ์ในการตรวจที่มีความแน่นอนและแม่นยำมากขึ้นนั่นเอง

Urine Protein Creatinine Ratio คํานวณจากอะไร

ที่มาของอัตราส่วน MAU/creatinine Ratio สูตรคำนวณ แท้จริง คือ

อัตราส่วน ( mg / gm )  ( Microalbumin ( mg/dL) ) / (Creatinine (mg / dL) ) x 1000
คือ Ratio  (MAU ) / ( Creatinine ) mg / gm

 

ค่าปกติของ Urine Spot MAU / Creatinine Ratio

1.ค่าปกติ Urine Spot MAU ที่ตรวจได้ให้ยึดเอาตามค่าที่ได้ระบุไว้ในใบรายงานตรวจปัสสาวะ ( ถ้ามี )

2.สำหรับค่าปกติโดยทั่วไปจะอยู่ที่

Spot Urine MAU : < 20 mg / L
Spot Urine MAU/CREA Ratio : < 0 – 30 mg / L

ค่าผิดปกติ ( ค่าใดค่าหนึ่งหรือทั้งสองค่า )

หากตรวจพบค่า Urine Spot MAU น้อยกว่าปกติ ยิ่งน้อยมากเท่าไหร่ยิ่งถือว่าไม่ผิดปกติ และเป็นเรื่องดีอีกด้วย

Urine Spot MAU สูงค่าผิดปกติ แสดงว่า

1.กำลังป่วยด้วยโรคไตอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ไตไม่สามารถทำการกรองได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเคย
2.กำลังป่วยด้วยโรคเบาหวาน ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อไปและทำให้ไตเสื่อมลง
3.เกิดโรคไตเสื่อม ซึ่งอาจเป็นเพราะการได้รับพิษจากยารักษาโรคบางชนิดเป็นเวลานาน
4.เกิดสภาวะที่หลอดเลือดตีบตัน เนื่องจากมีไขมันในหลอดเลือดสูงและหนาจนทำให้รูตีบแคบลงได้
5.มีไขมันในเลือดสูงผิดปกติหรือมีระดับความดันเลือดสูงมาก
6.เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จึงไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงไตได้อย่างเพียงพอ เป็นผลให้ไตเสื่อมประสิทธิภาพในที่สุด

ร่วมตอบคำถามกับเรา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ประสาร เปรมะสกุล, พลเอก. คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2554. 416 หน้า. 1. เลือด – การตรวจ I.ชื่อเรื่อง. 616.07561 ISBN 978-974-9608-49-4.

พวงทอง ไกรพิบูลย์. ถาม – ตอบ มะเร็งร้ายสารพัดชนิด. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2557. 264 หน้า 1.มะเร็ง I.ชื่อเรื่อง. 616.994 ISBN 978-616-08-1170-0.

https://www.nhs.uk/