ไหมละลาย ของวิเศษจากนางฟ้าใจดี
ในการศัลยกรรมร้อยไหม เรียกว่าไหมละลายแบบ PDO เป็นเทคโนโลยีการผลิตไหมเย็บแผลขั้นสูงเพื่อการยกกระชับผิวหน้าให้สวยไม่หย่อนคล้อย

ไหมละลาย

การร้อยไหม เป็นอีกหนึ่งในเทคโนโลยีช่วยยกกระชับผิวหน้าให้เต่งตึงและดูอ่อนเยาว์โดยไม่ต้องพึ่งการผ่าตัด
โดยเป็นการใช้ ไหมละลาย สอดเข้าไปใต้ผิวเพื่อกระตุ้นให้เนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวกระชับตัวจากเดิมมากขึ้น

ไหมละลาย ของขวัญสุดแสนวิเศษจากนางฟ้าใจดี  แนวคิดการทำผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือทางการแพทย์และเวชภัณฑ์ชนิดต่างๆ  ล้วนมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะช่วยให้ร่างกายได้รับความเจ็บปวดจาก อุปกรณ์เหล่านั้นน้อยที่สุด  เพื่อประโยชน์ในการรักษาที่ได้ผลอย่างยอดเยี่ยม  และไม่มีผลข้างเคียงรวมถึงความเจ็บปวดอื่นๆที่จะตามมา

ไหมละลาย  เปรียบเทียบได้กับ  การเป็นผู้บุกรุกที่เข้ามาในร่างกายทั้งด้วยการแพทย์เพื่อรักษาโรคต่างที่อาจต้องอาศัยการผ่าตัดและการเย็บแผล หรือจะด้วยการนำเอา ไหมละลาย เข้าสู่ร่างกาย  เพื่อหวังผลอย่างอื่นและให้ผลลัพธ์สุดท้ายที่ความสวยงาม  เช่น การร้อยไหมเพื่อยกกระชับใบหน้า  ท้องแขน  เป็นต้น

แต่ไหมละลายผู้บุกรุกรายนี้  ไม่ได้มาเพื่อทำลาย  แต่ ตรงกันข้าม  การเข้ามาของ ไหมละลาย สร้างคุณค่ามากมายให้เกิดกับเจ้าบ้านอย่างร่างกายของเรา  จะมีผู้บุกรุกรายไหนที่ไม่ทำอันตรายกับเจ้าบ้าน  ไม่ต้องเสียเวลาในการกำจัดออก  เพราะมันสามารถที่หายไปได้ด้วยกระบวนการต่างๆของร่างกาย  และมันยังสามารถช่วยเหลือชีวิตของเราได้อย่างทันท่วงที  ใช้งานง่าย และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ไม่ทิ้งร่องรอยและความเจ็บปวดใดใดเอาไว้แม้แต่น้อย  และถือได้ว่าเป็นการพัฒนาทางการแพทย์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด  แล้วอย่างนี้  จะเรียกไหมละลาย ว่าผู้บุกรุกได้อีกหรือ

ไหมละลาย เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เหมาะมากกับการใช้งานในด้านการศัลยกรรมโดยเฉพาะ  เนื่องจาก  ทุกการศัลยกรรมบนร่างกายย่อมไม่อยากทิ้งร่องรอยใดๆเอาไว้  เราตั้งใจทำศัลยกรรมก็เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องของร่างกาย  ถ้าสิ่งที่เข้ามาในร่างกายแล้ว  ไม่ได้สร้างความสมบูรณ์  ไม่ได้ทำให้จุดบกพร่องต่างๆของร่างกายดีขึ้น  เราก็ไม่รู้ว่าจะทำศัลยกรรมไปเพื่ออะไร ตั้งใจไปร้อยไหม  เสริมจมูก  และ เสริมหน้าอก  เพื่อให้สวยที่สุด  แต่ปรากฏว่าดันมีรอยเย็บตลอดแนวแผล  จะให้ไปบอกใครต่อใครว่า  โดนแมวข่วนมาค่ะ หน้าเลยตึงเป๊ะ  หน้าอกก็อึ๋มขึ้น  และจมูกโด่งขึ้นนิดหน่อย  คนฟังคงนึกภาพไม่ออกว่า  แมวข่วนท่าไหนเนี่ย  สวยเด้งมาเชียว  สามวันต่อมาสาวอกไข่ดาว ดั้งแหนบ  หน้าหย่อน ไปไล่จับแมวในวัดมาเลี้ยงเป็นแถว  หวังจะสวยขึ้นบ้าง

ข้อดีของไหมละลาย

  • สามารถละลายได้เอง โดยไม่ต้องตัดไหม
  • เส้นไหมมีความนุ่ม ไม่ทำให้เกิดการระคายเคือง 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ ไหมละลาย

ไหมละลายโดนน้ำได้หรือไม่ ?

ตอบ : โดยส่วนมากการใช้ ไหมละลาย ในการผ่าตัดทำศัลยกรรมจะเป็นแผลที่อยู่ในช่องปากดังนั้นไหมละลายจึงสามารถโดนน้ำได้

ไหมละลายอยู่ได้กี่วันถึงละลาย

ตอบ :  ซึ่งจะสลายหมดไปภายใน 2 สัปดาห์ แต่ถ้าชัวร์ ๆ เลย 2 เดือน

ไหมละลายต้องตัดไหม ?

ตอบ : ไม่จำเป็นต้องตัด เพราะแค่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า สามารถละลายเองได้

ไหมละลายทำมาจากอะไร ?

ทำจากเส้นใยธรรมชาติและสังเคราะห์ขึ้นมา ที่ทำมาจากธรรมชาติก็เช่น Catgut อันนี้จะทำมาจากคอลลาเจน ในชั้น Submucosa ของลำไส้แกะหรือวัว

และตอนนี้สิ่งที่พูดถึงกันมากที่สุดในวงการศัลยกรรม  คือ การร้อยไหม ซึ่งเป็นตัวอย่างของการใช้ไหมละลายที่ชัดเจนที่สุด  ไหมละลาย ที่ใช้ในการศัลยกรรมร้อยไหม  เรียกว่าไหมละลายแบบ PDO เป็นเทคโนโลยีการผลิตไหมเย็บแผลขั้นสูงที่ทำขึ้นเพื่อ  การยกกระชับผิวหน้าให้สวยได้รูปไม่หย่อนคล้อย  โดยปกติไหมละลายตัวนี้  จะใช้ในงานเย็บเส้นเลือดและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่สำคัญๆ นอกจากจะเส้นเล็กและละลายได้ดีแล้ว  ตัวไหมยังปลอดภัย  ไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเชิงลบใดใดกับร่างกาย

วิธีการ ร้อยไหม

หมอจะใช้เข็มขนาดเล็กในการเย็บโดยการมาร์คโครงหน้าใหม่ที่ต้องการ  จากนั้นก็ ทำการเย็บ ไหมละลาย ในจุดที่มาร์คไว้เพื่อกำการยกกระชับหน้า เมื่อไหมละลายเข้าไปอยู่ในจุดที่ต้องการ  รอยแผลที่เกิดจากการเย็บจะทำปฏิกิริยากับร่างกาย เกิดเป็นการอักเสบ สิ่งที่เกิดกับผิวบริเวณนั้นจะมีเกล็ดเลือดและนิวโทรฟิลมาอยู่ในบริเวณนั้นมากมายและกระตุ้นให้เกิด โมโนไซท์ และไฟโบรบลาสต์ซึ่งส่งผลให้เกิดการผลิตคอลลาเจน อิลาสติน และแองจิโอเจเนซิส คอลลาเจน และยังมีกระตุ้นจากเข็มขนาดเล็กที่ใช้เกี่ยวเพื่อทำโครงหน้าใหม่  ยิ่งทำให้กระบวนการดังกล่าวเป็นผลดีต่อการรักษามากขึ้น

กระบวนการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนด้วยการร้อยหน้าด้วย ไหมละลาย  นอกจากจะทำให้ผิวหน้ากระชับแล้ว เป็นการปรับปรุงสภาพผิวด้วยวิธีทางธรรมชาติ  อันแสนแยบยลอีกด้วย ไหมละลายจะไม่ส่งผลให้เกิดการเจ็บหลังจากการทำ  ไม่ทิ้งร่องรอยของการทำ  และไม่มีผลข้างเคียงใดใดกับผิวหน้าและส่วนอื่นๆของร่างกาย   เพราะมันถูกออกแบบมาให้มีเกิดย่อยสลายโดยกระบวนการของร่างกายอย่างยอดเยี่ยม  และเป็นไหมละลายที่มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพสูง  ซึ่งสามารถเข้ากันได้กับสภาพผิวหนังของทุกคน

วิธีที่ยกตัวอย่างมานี้  จะมีการฉีดยาชาเข้าสู่ผิวหน้าตั้งแต่ในขั้นตอนแรก  และทำการร้อยไหมจนกระทั้งเสร็จสิ้น  กระบวนการทั้งหมด  ซึ่งเราจะเห็นว่าในทุกขั้นตอนของการทำ  จะไม่มีช่วงไหนที่ผู้เข้ารับการทำจะเกิดความรู้สึกเจ็บได้เลย  และหลังจากยาชาหมดฤทธิ์  ด้วยความที่ไหมมีขนาดเล็กมาก  เราจึงแทบไม่มีความรู้สึกกับความเจ็บปวด  หากจะมีก็เป็นเพียงอาการระคายเคืองเล็กน้อย  ไม่มีการเสียเลือดแม้แต่หยดเดียว และเมื่อทำเสร็จสามารถกลับบ้านและใช้ชีวิตตามปกติได้ทันที  มีข้อแม้อยู่เพียงว่า  ควรทานยาแก้อักเสบ  เพื่อป้องกันการอักเสบที่อาจเกิดขึ้นได้   และผลลัพธ์หลังจากนี้เพียงไม่กี่วันผิวหน้าจะเริ่มมีปฏิกิริยาต่างๆเกิดขึ้น  พร้อมกันนี้หลังจาก ไหมละลาย ได้เข้าสู่ร่างกายแล้ว  กระบวนการดูดซึมไหมละลายของร่างกาย  จะเริ่มทำงานและกระบวนการสร้างคอลลาเจนจะเห็นผลได้ชัดเมื่อผ่านไปประมาณ 2-3 เดือน  และในระยะเวลา 6 เดือนหลังจากทำ  ไหมทั้งหมดก็จะละลายและถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ร่างกายและจะอยู่ในสภาพนั้นได้นานประมาณ  2-3 ปี  ขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาผิวหน้าอย่างต่อเนื่อง

ใครจะเชื่อว่าวิธีการรักษาและการศัลยกรรมแบบนี้จะเกิดขึ้นจากการใช้ ไหมละลาย เพียงเท่านั้น  เราเอาคุณสมบัติที่แสนพิเศษของไหมละลาย  มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในแง่ของความงาม  นับว่าเป็นการประยุกต์ใช้นวัตกรรมการผลิตไหมละลายให้มีประโยชน์มากกขึ้น  ร่วมกับการหลอกใช้กระบวนการต่างๆของร่างกายให้เป็นประโยชน์  ใน อนาคต  เราจะจะได้เห็นการใช้ ไหมละลาย ในรูปแบบอื่นๆและมันอาจจะสร้างความตื่นเต้นอะไรใหม่ๆให้กับวงการแพทย์และการศัลยกรรมได้อีกมากมายอย่างแน่นอน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Osterberg, B; Blomstedt, B (1979). “Effect of suture materials on bacterial survival in infected wounds: An experimental study”. Acta Chir Scand. 145: 431.

Macht, SD; Krizek, TJ (1978). “Sutures and suturing – Current concepts”. Journal of Oral Surgery. 36: 710.

Dorland’s Medical Dictionary for Health Consumers. Copyright 2007

Miller-Keane Encyclopedia & Dictionary of Medicine, Nursing, and Allied Health, Seventh Edition.

Kirk, RM (1978). Basic Surgical Techniques. Edinburgh: Churchill Livingstone.