ศัลยกรรมปลูกรากผม ปลุกความมั่นใจ
รากผมที่นำมาปลูกถ่ายมีความแข็งแรงมาก แต่ถ้าร่างกายไม่แข็งแรงก็อาจจะส่งผลให้รากผมที่ทำการปลูกขึ้นมาใหม่นั้นอาจจะอ่อนแอลง

ศัลยกรรมปลูกรากผม ( ปลูกผม )

ศัลยกรรมปลูกรากผม เป็นทางออกสำหรับปัญหาผมร่วง ผมบางหรือศีรษะล้าน ถือเป็นปัญหาใหญ่มากของชีวิตใครหลายคน โดยเฉพาะปัญหาหัวล้านที่เข้ามาลดทอนความมั่นใจให้กับใครหลายคน ถึงแม้ว่าปัญหาผมบางศีรษะล้านจะเป็นปัญหาใหญ่ที่พบได้ทั่วไปกับคนทุกเพศ ทุกวัย และศัลยกรรมปลูกผมก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการรักษา

ศัลยกรรมปลูกผม พบว่าผู้เข้ารับการรักษาปัญหาผมบางหัวล้านหรือความต้องการปลูกผมกับแพทย์เฉพาะทางมีน้อยมาก เนื่องจากรู้สึกอายที่ตนเองต้องเข้ารับการรักษาหัวล้านจึงไม่อยากให้คนรอบข้างรับรู้ว่าตนเองหัวล้าน และหันไปซื้อยาหรือผลิตภัณฑ์ที่มีการโฆษณาชวนเชื่อว่าสามารถรักษาอาการผมร่วง ผมบางหรือหัวล้านให้หายได้ ซึ่งการทำเช่นนั้นไม่เป็นผลดีต่ออาการที่เกิดขึ้นและในบางครั้งการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจจะส่งผลให้อาการผมบาง หัวล้านมีอาการที่หนักขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย ดังนั้นทางทีดีเมื่อต้องการรักษาอาการผมบาง ผมร่างหรือหัวล้านอย่างได้ผลควรไปพบแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้จะดีที่สุด แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงวิธีการรักษาอาการผมบาง หัวล้านนั้น เรามาทำความรู้จักกับเส้นผมและสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงจนเป็นที่มาของผมบางและหัวล้านได้

โครงสร้างของเส้นผมประกอบด้วย

1. รากผม ( hair root ) มีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารเข้าสู่เส้นผมเพื่อใช้ในการสร้างเซลล์เส้นผมและช่วยในการเจริญเติบโตของเส้นผม รากผม จะอยู่ในบริเวณของชั้นหนังแท้ มีรูปทรงเหมือนหลอดปากแคบ บนศีรษะของเราจะมีรากผมอยู่ประมาณ 50,000 กว่าราก ในแต่ละรากผมสามารถมีเส้นผมงอกออกมาได้สูงสุด 4 เส้น

2. เส้นผม คือส่วนที่ยื่นออกมาจากรากผม เป็นส่วนที่ไม่มีชีวิต นั่นคือ เส้นผมเป็นส่วนของเซลล์ที่ตายแล้วนั่นเอง ในเส้นผมจะประกอบไปด้วยโปรตีนมากที่สุด ในหนึ่งเดือนเส้นผมจะสามารถงอกได้ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร

เส้นผมเป็นส่วนที่สามารถหลุดร่วงออกจากร่างกายและงอกขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนเส้นที่หลุดร่วงไปได้ตลอด

วงจรชีวิตของเส้นผม ( Hair Growth Cycle )

สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกัน คือ 

1. ระยะเจริญเติบโต ( Anagen Phase ) เป็นระยะเริ่มต้นของเส้นผม โดยจะเริ่มจาก รากผม ทำการผลิตเส้นผมจนกระทั้งเส้นผมเจริญเติบโตยาวออกมาจากรูขุมขน ซึ่งเส้นผมร้อยละ 90 ที่อยู่บนหนังศีรษะของเราจะเป็นเส้นผมที่

อยู่ในระยะการเจริญเติบโต ระยะเจริญเติบโตของเส้นผมมีช่วงระยะประมาณ 2-10 ปี นั่นหมายถึงว่าเส้นผมจะคงอยู่บนศีรษะได้นานที่สุดเพียงแค่ 10 ปีเท่านั้น หรืออาจจะน้อยกว่าก็ได้ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงสมบูรณ์ของรากผมด้วย เพราะว่าถ้ารากผมอ่อนแอเส้นผมก็จะอายุน้อย

2. ระยะร่วง ( Catagen Phase ) เป็นระยะที่เส้นผมที่หมดอายุและหยุดการเจริญเติบโตแล้ว เริ่มมีการหลุดร่วงออกจากศีรษะ การหลุดร่วงเกิดจากการที่รากผมทำการแยกตัวออกมาจากเส้นผม ส่งผลให้เส้นผมได้รับสารอาหารน้อยลง จนในที่สุดรากผมหลุดออกจากเส้นผม เส้นผมจะหยุดการเจริญเติบโตทันที ซึ่งระยะร่วงของเส้นผมจะมีระยะเวลาประมาณ 14-21 วันรากผมจึงจะหลุดออกจากเส้นผมโดยสมบูรณ์ เส้นผมที่อยู่ในระยะนี้จะมีประมาณร้อยละ 1 ของจำนวนเส้นผมทั้งหมด โดยปกติแล้วเส้นผมจะร่วงประมาณ 50-60 เส้นต่อวันในผู้ชายและ 100-120 เส้นในผู้หญิงต่อวัน แต่ถ้ามีผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวันติดต่อกันหลายวันถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดปกติ มีภาวะเสี่ยงต่อการผมบางและหัวล้านได้

3. ระยะพัก ( Telogen Phase ) หรือระยะสุดท้ายของเส้นผม ที่ระยะนี้ที่รากผมหดสั้นลงจนหลุดออกมาจากเส้นผมและเส้นผมเส้นใหม่จะทำการงอกขึ้นมาจากรากผมแทนที่เส้นผมเดิม และเส้นผมใหม่ที่ขึ้นมานี้จะดันเส้นผมเก่าให้หลุดร่วงออกไป ซึ่งระยะพักจะมีระยะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน เส้นผมบนศีรษะประมาณร้อยละ 10-15 จะเป็นเส้นผมที่อยู่ในระยะพัก
จะพบว่าการร่วงของเส้นผมในปริมาณเล็กน้อยนั้นเป็นเรื่องปกติของร่างกาย แต่ทว่าการร่วงของเส้นผมถ้ามากเกินไปก็จะส่งผลให้ผมที่มีอยู่บางลงและอาจจะหัวล้านได้ในอนาคต อาการหัวล้านจะเริ่มจากการที่เส้นผมหลุดร่วงมากกว่าปกติ เนื่องจากรากผมอ่อนแอ และรากผมที่อ่อนแอนี้แม้ว่าเส้นผมจะสามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้แต่ลักษณะของเส้นผมที่ขึ้นมาใหม่ก็จะมีขนาดที่เล็กลงเรื่อย จนในที่สุดจะมีลักษณะเป็นเพียงเส้นขนบาง ๆ หรือไรผม ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ รากผมอ่อนแอจนมีอาการผมร่วงผิดปกติจนทำให้ศีรษะล้านมีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุ 

เส้นผมเป็นส่วนที่สามารถหลุดร่วงออกจากร่างกายและงอกขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนเส้นที่หลุดร่วงไปได้ตลอด

สาเหตุที่ทำให้รากผมอ่อนแอจนมีอาการผมร่วงผิดปกติ

1. พันธุกรรม
เป็นสาเหตุของศีรษะล้านมากที่สุดมากถึงร้อยละ 95 ของผู้ที่มีอาการหัวล้านทั้งหมด เพราะว่าการที่ รากผม จะแข็งแรงหรือไม่สมารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูกได้ ดังนั้นหากต้องการทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะหัวล้านหรือไม่ให้สังเกตจากบรรพบุรุษว่ามีใครหัวล้านหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าคุณมีความเสี่ยงในการที่จะมีศีรษะล้านได้ การที่หัวล้านจากกรรมพันธุ์เนื่องจากภายในร่างกายได้รับฮอร์โมน DHT ในปริมาณที่สูง ฮอร์โมน DHT เมื่อมีมากจะส่งผลให้รากผมอ่อนแอและมีขนาดที่เล็กลง ส่งผลให้เส้นผมมีอายุที่สั้นและเส้นผมที่งอกออกมาใหม่ก็มีขนาดเล็กลงหรือเป็นเพียงแค่ไรผมเท่านั้น

2. สาเหตุอื่นๆ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการหัวล้านได้ ซึ่งอาการหัวล้านที่พบได้บ่อยมักเป็นอาการของผมร่วงเป็นหย่อม ( Alopecia Areata ) อาการหัวล้านแบบนี้มีโอกาสที่พบได้เพียงร้อยละ 5 % เท่านั้น ซึ่งสาเหตุของอาการหัวล้านนี้มักเกิดจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ( Toxic goiter ) ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ( Hypothyroidism ) ภาวะหลังคลอดบุตรในผู้หญิง ความเครียด โรคเบาหวาน หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยาเพื่อรักษาโรคบางชนิด เช่น โรคมะเร็ง เป็นต้น

แนวทางในการรักษาอาการหัวล้านที่นิยมใช้ในการรักษา

1. การใช้ยาต้านฮอร์โมน DHT
ใช้เพื่อรักษาระดับของฮอร์โมน DHT ในร่างกายให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งการใช้ยาชนิดนี้จะมีอาการข้างเคียงทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลงได้ ตัวอย่างของยาที่ใช้ต้านฮอร์โมน DHT คือ Finasteride (ฟีนาสเตอไรด์) โดย Finasteride ( ฟีนาสเตอไรด์ ) จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ 5 -reductase typeII ในการเปลี่ยน Testosterone ให้กลายเป็นฮอร์โมน DHT เมื่อการทำงานของเอนไซม์ 5 -reductase typeII ลดลงปริมาณของฮอร์โมน DHT ที่เกิดขึ้นจะไม่มาเกินความจำเป็นจนส่งผลให้ผมร่วงหัวล้านได้ 

2. การใช้ยา Minoxidill
การใช้ยา Minoxidill ที่มีความเข้มข้น 5 % Minoxidil จะเข้าไปช่วยเพิ่มการงอกใหม่ของเส้นผมให้มีปริมาณมากขึ้นและช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้มาหล่อเลี้ยงบริเวณ รากผม ทำให้เส้นผมมีความแข็งแรง จึงช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผมได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันนี้มีการผลิตยาชนิดนี้มาทั้งรูปแบบยาทาและยากิน ซึ่งการใช้ยาต้องใช้อย่างต่อเนื่องจึงจะได้ผลและถ้าหยุดยาผมก็จะกลับมาบางและหัวล้านเช่นเดิม

3. การใช้แสงเลเซอร์พลังงานต่ำ ( Low Level Laser Light )
เป็นการรักษาอาการหัวล้านด้วยการใช้เลเซอร์ที่มีคลื่นแสงความถี่ต่ำประมาณ 650-680 nm ซึ่งแสงที่ความถี่ต่ำนี้สามารถมองเห็นเป็นแสงสีแดงด้วยตาเปล่า พลังงานที่ได้รับจากคลื่นความถี่ต่ำจะเข้าไปกระตุ้นให้เซลล์รากผมและหลอดเลือดที่อยู่บริเวณใกล้เคียงรากผมให้มีการขยายตัวมากขึ้น เลือดหมุนเวียนได้มากขึ้น รากผมจึงได้รับสารอาหาร ออกซิเจนที่เพียงพอส่งผลให้รากผมสามารถผลิตเส้นผมขึ้นมาใหม่ได้มากขึ้นและเส้นผมที่เกิดขึ้นมีความแข็งแรง นอกจากนี้พลังงานที่ได้จากแสงเลเซอร์จะเข้าไปนำที่เป็นอันตรายต่อรากผมออก เช่น สาร DHT จึงช่วยป้องกันการหลุดร่วงของเส้นผมได้เป็นอย่างดี

ทั้ง 3 วิธีที่กล่าวมาข้างต้นเป็นวิธีที่ช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผมได้ ทว่าในรายที่มีอาการหัวล้านจากกรรมพันธุ์แม้ว่าจะทำการรักษาอย่างไรผลที่ได้ก็เป็นเพียงแค่ระยะสั้นหรือในระยะที่ร่างกายได้รับยาเท่านั้น แต่ยังมีวิธีอีกวิธีหนึ่งที่สามารถแก้ไขและป้องกันอาการหัวล้านอย่างได้ผลมากกว่าทั้ง 3 วิธีข้างต้น นั่นคือ “การศัลยกรรมปลูกผม

การศัลยกรรมปลูกผม คือ การผ่าตัดบ้ายรากผมที่มีความแข็งแรงสมบูรณ์มาปลูกในบริเวณที่ไม่มีเส้นผมแล้ว ซึ่งการรากผมที่นิยมนำมาปลูกมักจะเป็นรากผมจากบริเวณท้ายทอย เนื่องจากรากผมบริเวณดังกล่าวจะมีความแข็งแรงสมบูรณ์และมีอายุมากกว่ารากผมบริเวณอื่นมาก จึงนำรากผมจากส่วนท้ายทอยมาปลูกทดแทนส่วนของรากผมที่อ่อนแอจนไม่มีเส้นผมงอกขึ้นมาแล้ว ซึ่งการรักษาอาการหัวล้านด้วยการ ศัลยกรรมปลูกผม นับว่าเป็นวิธีที่ดีและช่วยแก้ไขปัญหาอาการหัวล้านได้อย่างถาวร เนื่องจาก

1. ทนทานต่อฮอร์โมน DHT
รากผม ที่บริเวณท้ายทอยมีลักษณะพิเศษที่สามารถทนทานต่อฮอร์โมน DHT ได้มากกว่าปกติ ซึ่งจะสังเกตได้จากคนที่หัวล้านเนื่องจากความผิดปกติของฮอร์โมน DHT หรือจากกรรมพันธุ์ส่วนมากจะล้านที่บริเวณกลางศีรษะ แต่เส้นผมที่บริเวณท้ายทอยจะคงอยู่เหมือนเดิม จึงกล่าวได้ว่ารากผมที่บริเวณท้ายทอยเป็นรากผมที่มีความแข็งแรงทนทานมากที่สุด เมื่อนำไปปลูกทดแทนรากผมที่บริเวณกลางศีรษะ รากผมและเส้นผมที่เกิดขึ้นใหม่ย่อมมีความแข็งแรงทนทานเช่นเดียวกัน โอกาสที่รากผมจะอ่อนแอจนกลับมาหัวล้านมีความเป็นไปได้น้อยมากหรือแทบจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลยก็ว่าได้ 

2. อายุยืน
รากผมที่แข็งแรงจะสามารถสร้างเส้นผมได้ประมาณ 20 รอบตลอดอายุของรากผม ซึ่งวงจรชีวิตของเส้นผม 1 รอบจะใช้ระยะเวลาประมาณ 6-10 ปี เส้นผมจึงจะหลุดร่วงไปเองตามธรรมชาติ นั่นหมายความว่าถ้ารากผมที่แข็งแรงจะมีอายุสูงสุดถึง 200 ปีทีเดียว ดังนั้นเมื่อนำรากผมที่บริเวณท้ายทอย ซึ่งเป็นรากผมที่มีความแข็งแรงมากที่สุดบนศีรษะมาปลูกผมแล้ว ย่อมหมายความว่ารากผมที่เกิดขึ้นใหม่จากการปลูกถ่ายจะมีอายุอยู่ต่อไปได้อีกเป็นร้อยปี และเส้นผมที่เกิดจากรากผมก็จะเกิดขึ้นได้ตลอดอายุขัยของรากผมเช่นเดียวกัน

รากผมที่นำมาปลูกถ่ายมีความแข็งแรงมาก แต่ถ้าร่างกายไม่แข็งแรงก็อาจจะส่งผลให้รากผมที่ทำการปลูกขึ้นมาใหม่นั้นอาจจะอ่อนแอลง

การปลูกผมด้วยวิธีการศัลยกรรมย้ายรากผมที่แข็งแรงไปปลูกยังบริเวณที่รากผมไม่แข็งแรง

มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

1. การผ่าตัดแบบแผลกรีดยาว ( Follicular Unit Transplantation หรือ FUT ) หรือ Strip Technique เป็นการผ่าตัดที่ต้องทำในห้องผ่าตัด ทำการกรีดแผลเหมือนการผ่าตัดทั่วไป ซึ่งการผ่าตัดเพื่อปลูกผมวิธีนี้มีข้อดี คือการกรีดแผลหนึ่งครั้งสามารถที่จะทำการย้ายรากผมได้เป็นจำนวนมากกว่าหนึ่งรากผม นั่นคือถ้าต้องการทำการย้ายรากผมเป็นจำนวนมากแล้ว สามารถทำการผ่าตัดได้ในครั้งเดียวไม่ต้องทำหลายครั้ง และลักษณะของรากผมที่ได้จากการผ่าตัดนี้จะได้รับความกระทบกระเทือนน้อยมาก ทำให้เมื่อนำไปปลูกยังบริเวณใหม่แล้ว รากผมที่ย้ายมาจะมีคุณภาพและความแข็งแรงสูงมา ส่งผลให้มีอันตราการงอกของเส้นผมที่เกิดขึ้นจากรากผมที่นำมาปลูกใหม่นั้นมีค่าเกือบ 100 %

ถึงแม้ว่าการผ่าตัดแบบกรีดแผลยาวจะมีข้อดีหลายประการก็ตาม แต่การผ่าตัดแบบนี้ก็ยังมีข้อเสียที่ต้องพึงระวังเช่นกัน คือ การผ่าตัดจำเป็นต้องจะต้องเกิดแผลที่บริเวณที่ทำการผ่าตัด ซึ่งจะมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้นหลังจากที่ผ่าตัดเสร็จแล้ว และถ้าผู้ที่ผ่าตัดไม่มีความเชี่ยวชาญเพียงพอ อาจจะผ่าตัดโดนเส้นประสาทได้ ซึ่งจะส่งผลให้บริเวณดังกล่าวมีความรู้สึกชา

2. การผ่าตัดแบบแผลเจาะ ( Follicular Unit Extraction หรือ FUF ) เป็นการศัลยกรรมย้ายรากผมโดยที่ไม่ต้องมีการผ่าตัดเพื่อเปิดแผล แต่จะใช้หัวเจาะที่มีขนาดเล็กประมาณ 0.8-0.9 มิลลิเมตร ทำการเจาะลงไปยังบริเวณรอบๆ ของเส้นผมที่ต้องการทำการย้าย โดยการเจาะจะเจาะลุกลงไปถึงรากผมที่อยู่ด้านล่างและทำการดึงรากผมนั้นออกมา เพื่อนำไปรากผมไปปลูกยังบริเวณที่ต้องการต่อไป ซึ่งการทำแบบนี้รอยแผลที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเล็กมาก เมื่อแผลหายโอกาสที่จะสังเกตเห็นนั้นมีน้อยมาก และยิ่งอยู่บนหนังศีรษะที่มีเส้นผมปกคลุมด้วยแล้วยิ่งไม่สามารถสังเกตเห็นรอยผลดังกล่าวได้เลย

แต่ทว่าการศัลยกรรมปลูกผม จะได้ผลที่สมบูรณ์สามารถแก้ไขปัญหาหัวล้านได้อย่างถาวรก็ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยของร่างกายด้วย เพราะว่าถึงแม้ รากผม ที่นำมาปลูกถ่ายจะมีความแข็งแรงมากแค่ไหน แต่ถ้าร่างกายของเราไม่แข็งแรงก็อาจจะส่งผลให้รากผมที่ทำการปลูกขึ้นมาใหม่นั้นอาจจะอ่อนแอลงได้เช่นเดียว

สาเหตุที่จะทำให้รากผมที่ทำการปลูกทดแทนอ่อนแอ

1. การดำเนินชีวิต
การดำเนินชีวิตของผู้เข้ารับการ ศัลยกรรมปลูกผม ถ้าในชีวิตประจำวันต้องเผชิญกับความเครียด ความกดดันที่สูง หรือพักผ่อนไม่เพียงพอจนเกิดอการเจ็บป่วยทำให้ร่างกายอ่อนแอแล้ว จะส่งผลให้ร่างกายมีการกระตุ้นวงจรชีวิตของเส้นผมให้เกิดเร็วขึ้น นั่นคือ ช่วงอายุของเส้นผมจะสั้นลงจากที่เส้นผมควรมีอายุ 6-10 ปีก็จะหลดลงเหลือเพียง 2-3 ปีเท่านั้น ส่งผลให้อายุของรากผมที่ควรจะยาวนานถึง 120-200 ปีก็จะลดสั้นลงเหลือเพียงไม่กี่ปีด้วยเช่นกัน จึงทำให้ผู้ที่เข้ารับการศัลยกรรมปลูกผมมีโอกาสที่จะกลับมาหัวล้านได้อีกเมื่อมีอายุมากขึ้น ดังนั้นผู้ที่ทำศัลยกรรมปลูกผมมาแล้วควรที่จะดูแลร่างกายให้แข็งแรง กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ รู้จักผ่อนคลายความเครียดเป็นประจำ จึงจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะกลับมาหัวล้านอย่างได้ผล 

2. การปลูกผมที่ไม่ได้มาตรฐาน
การปลูกผมด้วยการผ่าตัดย้าย รากผม หรือการเจาะจัดเป็นการศัลยกรรมเสริมความงามชนิดหนึ่งที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์การผ่าตัดปลูกผม จึงจะทำให้การปลูกผมที่เกิดขึ้นจะได้ผลดีที่สุด รากผมที่ทำการปลูกขึ้นมาใหม่จะมีความแข็งแรงสมบูรณ์มากที่สุด แต่ถ้าผู้ที่ทำการผ่าตัดปลูกผมไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในการผ่าตัดไม่เพียงพอแล้ว ย่อมทำให้รากผมที่ทำการปลูกขึ้นมาใหม่อาจจะไม่สมบูรณ์ 100% เนื่องจากรากผมมีความบอบช้ำในขั้นตอนการผ่าตัดหรือเลือกรากผมที่ไม่สมบูรณ์มาทำการปลูกถ่าย ทำให้เส้นผมที่

เกิดขึ้นใหม่มีน้อยหรือเส้นผมอ่อนแอหลุดร่วงได้ง่าย จึงทำให้มีโอกาสที่ผมจะบางและอาจจะกลับมาหัวล้านอีกก็เป็นได้ ดังนั้นการเลือกสถานที่และแพทย์ที่ทำการศัลยกรรมปลูกผมควรเลือกแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐบาลที่เชื่อถือได้ ในการผ่าตัดก็ควรทำในสถานที่ที่ได้มาตรฐานสะอาดถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและผลการผ่าตัดที่ดี

การผ่าตัด ศัลยกรรมปลูกผม ด้วยการนำรากผมที่แข็งแรงไปปลูกยังบริเวณที่รากผมไม่แข็งแรงนั้น นับเป็นวิธีการที่ช่วยแก้ไขปัญหาหัวล้าน ผมบางอย่างได้ผลอย่างถาวร จึงนับว่าการ ศัลยกรรมปลูกรากผม เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่มีปัญหาผมบางหรือหัวล้านได้เป็นอย่างดี แต่การทำศัลยกรรมปลูกผมก็ควรเลือกทำกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสถานที่ที่ถูกสุขลักษณะด้วย เพื่อที่ผลของการรักษาผมบาง หัวล้านจะมีประสิทธิภาพเต็มร้อย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

สมาคมแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทย. สวยให้สุด หยุดที่ศัลยแพทย์ตกแต่ง : กรุงเทพฯ: ไอดี ออล ดิจิตอล พริ้น จำกัด,2561.