เลเซอร์ ( Laser ) นวัตกรรมเพื่อความงาม

0
5028
“เลเซอร์”นวัตกรรมเพื่อความงาม
เลเซอร์มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถเพิ่มความเข้มของแสงที่เกิดขึ้น จึงมีการประยุกต์นำแสงเลเซอร์มาใช้ในการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในร่างกาย
“เลเซอร์”นวัตกรรมเพื่อความงาม
เลเซอร์มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถเพิ่มความเข้มของแสงที่เกิดขึ้น จึงมีการประยุกต์นำแสงเลเซอร์มาใช้ในการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในร่างกาย

เลเซอร์ ( Laser )

เลเซอร์ ( Laser ) มีชื่อเต็มว่า “ Light Amplification by the Stimulated Emission of Radiation ” ที่มีความหมายถึง การเพิ่มปริมาณของคลื่นแสงที่ออกมาโดยการกระตุ้นเข้าไปทำให้มีการปล่อยคลื่นแสง ซึ่งการแผ่รังสีที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการกระตุ้นแบบร้าว โดยทำการกระตุ้นผ่าตัวกลางเลเซอร์ ( Laser medium ) ทำให้ความยาวของคลื่นที่ออกมามีขนาดที่เท่ากัน ส่งออกมาจากตัวกลางในทิศทางเดียวกัน และมีเฟสของคลื่นแสงที่ตรงกัน

[adinserter name=”ศัลกรรมความงาม”]

การที่เฟสของคลื่นแสงตรงกันจะทำให้แสงสามารถรวมตัวกันเกิดการขยายตัวของสัญญาณ ( Amplitude ) ส่งผลให้ขนาดของแสงเลเซอร์มีความเข้มที่มาขึ้นหรือมีความสว่างมากกว่าแสงสว่างตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเอง ซึ่งเราสามารถบอกถึงความแตกต่างระหว่างแสงเลเซอร์และแสงตามธรรมชาติได้ดังนี้

แสงธรรมชาติ เป็นแสงที่สามารถเกิดขึ้นได้เอง ( Spontaneous emission ) ซึ่งแสงที่เกิดขึ้นจะมีความยาวคลื่นแสงผสมกันอยู่ ( Polychromaticity ) และแสงที่เกิดขึ้นจะสามารถเดินทางได้หลายทิศทาง ( Incoherence ) นอกจากนั้นเฟสของคลื่นแสงหรือระยะของคลื่นแสงก็จะมีขนาดที่ไม่เท่ากันทั้งหมด แม้ว่าแสงดังกล่าวจะสามารถให้แสงสว่างและพลังงานได้ แต่พลังงานและแสงสว่างที่เกิดขึ้นก็จะมีความเข้มข้นที่ต่ำมาก
แสงเลเซอร์ คือ แสงที่เกิดขึ้นจากสร้างไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งแสงเลเซอร์จะมีลักษณะพิเศษ คือ แสงที่เกิดจากแหล่งกำเนิดเดียวกันจะมีความยาวคลื่นที่มีความจำเพาะเพียงค่าเดียว ( Monochromaticity ) และแสงยังมีการเดินทางที่เป็นแนวเดียวกันอย่างเป็นระเบียบและเดินทางในทิศทางที่ขนานกัน ซึ่งคลื่นของเลเซอร์จะมีเฟสที่ตรงกันดังนั้นคลื่นเลเซอร์จึงสามารถที่จะเสริมกัน ( Coherec )

จากการที่ เลเซอร์ ( Laser ) มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถเพิ่มความเข้มของแสงที่เกิดขึ้น จึงมีการประยุกต์นำแสงเลเซอร์มาใช้ในการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในร่างกาย ซึ่งพลังงานของเลเซอร์สามารถที่จะกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน หรือการทำลายและตัดเนื้อเยื่อที่ไม่ต้องการภายในร่างกายออกไป ซึ่งลักษณะของเลเซอร์ที่ใช้อยู่มีการแบ่งประเภทของเลเซอร์ สามารถแบ่งได้ลักษณะเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตหรือทำการแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการนำเลเซอร์ไปใช้งาน ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้

วัตถุประสงค์ของการใช้ เลเซอร์ ( Laser )

1.ประเภทของตัวกลางที่ใช้ในเป็นแหล่งกำเนิดของเลเซอร์

ตัวกลางที่ใช้เป็นแหล่งกำเนิด เลเซอร์ ( Laser ) คือ ตัวที่ทำหน้าที่ในการเก็บพลังงานและทำการปล่อยแสงเลเซอร์ออกมาสู่ภายนอก ซึ่งตัวกลางที่ใช้สามารถแบ่งออกเป็น 3 สถานะ คือ
1.1 ตัวกลางที่เป็นของแข็ง เช่น ผลึกทับทิม ( Ruby ) เรียกว่า Ruby Laser ผลึกแย็ค เรียกว่า Nd: Yag laser เป็นต้น
1.2 ตัวกลางที่เป็นของเหลว เช่น สารย้อม ( Dye ) เรียกว่า Pulse dye laser เป็นต้น
1.3 ก๊าซ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์เรียกว่า CO2 Laser ก๊าซฮีเลียมนีออน ( HeNe ) เรียก ฮีเลียมนีออนเลเซอร์ ก๊าซอาร์กอน ( Ar ) เรียก Argon beam laser

[adinserter name=”ศัลกรรมความงาม”]

2.การแบ่งเลเซอร์ออกตามระดับพลังงานของแสงเลเซอร์ที่ทำการยิงออกมาจากตัวกลาง

ซึ่งการแบ่งตามระดับพลังงานที่ปล่อยออกมานั้น เพื่อที่จะสามารถระบุการใช้งานได้ว่าแสงเลเซอร์ที่มีระดับพลังงานเท่านี้สามารถใช้งานกับเนื้อเยื่อชนิดใดได้บ้าง ซึ่งระดับพลังงานของ เลเซอร์ ( Laser ) จะเป็นตัวระบุการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพที่เกิดขึ้นของเนื้อเยื่อนั่นเอง ซึ่งการแบ่งตามระดับพลังงานสามารถแบ่งได้ ดังนี้
2.1 กลุ่มเลเซอร์ที่มีระดับพลังงานสูง ( High power Laser ) คือกลุ่มเลเซอร์ที่ให้พลังงานสูง มีประสิทธิภาพในการทำลายเนื้อเยื่อนที่เป็นโปรตีนให้มีการสลายตัวได้ เลเซอร์ชนิดนี้จะใช้ในการผ่าตัดหรือทำการห้ามเลือดในอวัยวะส่วนต่าง ๆ
2.2 กลุ่มเลเซอร์ที่มีระดับพลังงานระดับกลาง ( Moderate Power Laser ) คือกลุ่มเลเซอร์ที่มีระดับพลังงานในการกระตุ้นเนื้อเยื่อน้อยกว่าในกลุ่มแรก เมื่อใช้ เลเซอร์ ( Laser ) ในกลุ่มนี้เนื้อเยื่อจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในส่วนที่ตรงกับจุดเป้าหมายมากที่สุด โดยที่เนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียงได้รับผลกระทบน้อยมากและเมื่อหยุดการใช้งานแล้ว เนื้อเยื่อข้างเคียงจะไม่ถูกทำลาย เช่น การใช้เลเซอร์ในการยิงเพื่อลดความผิดปกติของเม็ดสีผิว โดยการยิงไปยังจุดสีผิวที่มีความผิดปกติ เป็นต้น
2.3 กลุ่มเลเซอร์ที่มีระดับพลังงานต่ำ ( Low Level Laser ) คือ กลุ่มของเลเซร์ที่มีระดับพลังงานไม่สูงมาก  เลเซอร์ ( Laser ) ในกลุ่มนี้จะใช้ในการกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ ภายในร่างกาย ไม่ได้ใช้เพื่อทำลายเนื้อเยื่อของร่างกายเหมือนกันเลเซอร์ในสองกลุ่มแรก เช่น การใช้เลเซอร์ในการกระตุ้นการสร้างเซลล์ที่บริเวณแผลทำให้แผลหายเร็วขึ้น หรือการใช้เลเซอร์เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด เป็นต้น

3.การแบ่งตามจุดประสงค์ของการใช้งานเลเซอร์

เป็นการแบ่งลักษณะของเลเซอร์ตามการใช้งานที่แท้จริง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้
3.1การผ่าตัดหรือการห้ามเลือด ( Cutting Laser )
3.2การใช้เลเซอร์เพื่อเสริมความงามหรือเพื่อการฟื้นฟูความงาม ( Aesthetic and Rejuvenation Laser )
3.3การใช้เลเซอร์เพื่อการรักษา ระงับอาการปวดบวมหรือเพื่อกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวให้เกิดขึ้นเพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น ( Laser Therapy )

[adinserter name=”ศัลกรรมความงาม”]

การใช้ เลเซอร์ ( Laser ) มีการประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะในด้านของการเสริมความงามหรือการศัลยกรรม ที่ในปัจจุบันนี้มีการใช้เลเซอร์กันมากขึ้น ซึ่งมีการประยุกต์ใช้เลเซอร์ในการผ่าตัดศัลยกรรมเพื่อตกแต่งส่วนของใบหน้าและลำคอเป็นส่วนมาก โดนใช้เลเซอร์ทำการผ่าตัดเพื่อทำการดึงผิวหนังส่วนที่หย่อนยานให้ตึง ซึ่งการผ่าตัดด้วยเลเซอร์สามารถผ่าตัดเพื่อทำการดึงชั้นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันได้ตั้งแต่ส่วนของลำคอจนไปถึงบริเวณใบหน้าทั้งหมด การใช้เลเซอร์สามารถที่จะช่วยเก็บรายละเอียดและปรับปรุงผิวหน้าให้ดูเรียบเนียนได้ง่าย ซึ่งเพื่อประโยชน์ดังนี้

การใช้เลเซอร์ประยุกต์ในการทำศัลยกรรม

1. ช่วยกระตุ้นให้ผิวพรรณมีความเต่งตึงเปล่งปลั่ง ( Skin Rejuvenation )

ซึ่งการกระตุ้นผิวพรรณนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
1.1 เพื่อแก้ไขปัญหาผิวหนังเสื่อมแบบเรื้อรัง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการกระทบกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น แสงแดด สายลม สารอนุมูลอิสระ เป็นต้น ส่งให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น ฝ้า กระ
1.2 เพื่อเพิ่มความเต่งตึงให้กับผิวหนัง โดยการใช้ร่วมกับการผ่าตัดเพื่อทำการดึงผิวหนังที่บริเวณใบหน้าและลำคอ ซึ่งแสงเลเซอร์จะเข้าไปกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิว รวมถึงกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ( Collagen and Elastin ) ที่อยู่ในผิวให้มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น การใช้ เลเซอร์ ( Laser ) ร่วมกับการผ่าตัดจะใช้หลังจากที่ทำการผ่าตัดแล้วประมาณ 1 สัปดาห์

2. ช่วยลดรอยแผลเป็นที่เกิดขึ้น ( Scar Reduction )

บริเวณที่มีรอยแผลเป็นจะมีเม็ดสี Hemoglobin อยู่ในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งผลให้รอยแผลเป็นมีขนาดและสีที่เข้ม เมื่อทำการฉายแสงเลเซอร์ไปยังบริเวณรอยแผลเป็น แผลจะนิ่มขึ้น ความนูนลดลง นับเป็นการป้องกันไม่เกิดรอยแผลเป็นที่เห็นชัดเจนหรือมีขนาดใหญ่ เหมาะกับผู้ที่มีประวัติเป็นรอยแผลเป็นนูนขนาดใหญ่เท่านั้น และการฉายเลเซอร์จะทำได้หลังจากที่ทำการผ่าตัดไปแล้ว 1- 6 เดือน

[adinserter name=”ศัลกรรมความงาม”]

3. ช่วยเพิ่มความเต่งตึงให้กับผิวหนัง ( Skin Tightening )

สำหรับผิวที่มีผิวหนังมีความยืดหยุ่นสูง ( Poor Skin Quality and Low Elasticity ) หลังจากที่ทำการผ่าตัดดึงใบหน้าและลำคอแล้ว ผิวหนังส่วนที่บวมเมื่อหายบวมจะเกิดการหย่อนขึ้น จึงต้องใช้ เลเซอร์ ( Laser ) ในการฉายเข้าไปในบริเวณดังกล่าวเพื่อกระต้นให้มีการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินที่บริเวณดังกล่าว ผิวส่วนนั้นก็จะกลับมาเต่งตึงอีกครั้ง ซึ่งการฉายเลเซอร์จะทำการฉายหลังจากการทำการผ่าตัดมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป

4. การใช้เลเซอร์เพื่อรักษาผิวที่มีความผิดปกติ
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของเม็ดสีเมลานิน ( Melanin Pigment ) ที่อยู่ระหว่างชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ แต่เมื่อเกิดความผิดปกติเม็ดสีผิจะขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่ตื้นขึ้น ซึ่ง เลเซอร์ ( Laser ) จะช่วยขจัดเม็ดสีผิวที่ขึ้นมาตื่นผิดปกติให้หายไป ทำให้ผิวหนังมีสีผิวที่สม่ำเสมอเป็นปกติ ซึ่งระบบเลเซอร์ที่ใช้มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้กันมาก คือ
1.1 ระบบ Q Switch Laser ข้อดีคือมีความจำเพาะเจาะจงกับเม็ดสีเมลานินสูงและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณรอบข้างมีน้อย ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดรอยแผลเป็น แต่ว่ามีโอกาสที่จะรอยดำหลังจากที่มีการฉายแสงเลเซอร์ได้
1.2 ระบบแสง IPL ( Intent Pulsed Light ) เหมาะกับการใช้รักษาเม็ดสีที่อยู่ตื้น ๆ ซึ่งมีข้อดีคือสามารถที่จะปรับระดับความยาวคลื่นได้หลากหลายในการรักษาเม็ดสีที่ความลึกต่างกัน และมีโอกาสที่จะเกิดรอยดำน้อยมาก แต่ต้องทำอย่างน้อย 3-5 ครั้งถึงจะหาย และเม็ดสีอาจกลับมาเกิดขึ้นอีกได้

ลักษณะของพยาธิสภาพของสีผิวหรือลักษณะของเม็ดสีที่สามารถทำการรักษาด้วยการใช้เลเซอร์

กระแดด ( Lentigines ) คือ สีผิวที่มีลักษณะเป็นจุดที่มีสีน้ำตาล บริเวณจุดมีผิวเรียบ ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตรหรือเล็กกว่า กระจายอยู่บนบริเวณใบหน้าหรือในส่วนของบริเวณนอกร่มผ้าส่วนอื่น เช่น กระที่บริเวณแขน กระที่บริเวณใต้ร่มผ้า เป็นต้น กระแดดมีสาเหตุมาจากแสงแดดโดยตรง กระแดดช่วงแรกจะมีสีอ่อนและจะมีสีเข้มขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากถูกแสงแดด พบมากในผู้ที่มีอายุมาก    [adinserter name=”ศัลกรรมความงาม”]

กระตื้น ( Freckles ) คือ กระที่มีลักษณะเป็นจุดเล็ก ๆ สีน้ำตาล มีพื้นผิวเรียบ กระมีขนาดเล็กประมาณ 0.5 มิลลิเมตร กระจายอยู่ทั่วไปอยู่ในบริเวณใบหน้าและบริเวณลำคอ กระตื้นจะมีสีอ่อนและเมื่อโดนแสงแดดมาก ๆ จะมีสีเข้ม หากไม่โดนแสงแดดสีของกระก็จะจางและหายไปเอง กระชนิดนี้พบบ่อยในคนที่มีผิวขาว สามารถพบได้ตั้งแต่เด็กหรือวัยรุ่น

กระเนื้อ ( Seborrheic keratosis ) คือ กระที่มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อที่มีการนูนขึ้นมาลักษณะคล้ายตุ่มเล็ก ๆ พื้นผิวของกระเรียบหรือบางครั้งมีผิวขรุขระ กระจะกระจายตัวและยื่นออกมาจากส่วนของผิวหนังที่บริเวณใบหน้า ลำคอ หรือส่วนของลำตัว กระเนื้อจะมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ สาเหตุของกระมาจากพันธุกรรมเป็นส่วนมาก ซึ่งกระเนื้อพบได้ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป

กระลึก ( Hori’s Nevus ) คือ รอยโรคที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลอมเทา พบมากในเพศหญิงมากกว่าการพบในเพศชาย สาเหตุของกระลึกส่วนมากเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบได้ที่ส่วนของโหนกแก้มทั้งสองข้าง กระลึกจะมีลักษณะคล้ายฝ้า สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ เลเซอร์ ( Laser ) ระบบ Q-Switch กระลึกจะพบมากในช่วงอายุ 20-30 ปี

ปานโอตะ ( Nevus of Ota ) คือ รอยโรคที่สามารถพบตั้งแต่กำเนิด ซึ่งคนเอเชียจะพบปานแบบนี้เป็น ปานโอตะจะมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมม่วงหรือสีน้ำตาลอมน้ำเงิน ปานโอตะสามารถใช้เลเซอร์ฉายเพื่อรักได้ตั้งแต่อายุน้อย

ฝ้า ( Melasma ) คือ ลักษณะของรอยโรค มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม สาเหตุยังไม่สามารถะบุได้ แต่ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดฝ้า คือ การใช้ยาคุมกำเนิดหรือการใช้ยาเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศ การโดนแดดเป็นประจำหรือเกิดขึ้นในขณะหรือหลังจากตั้งครรภ์ บริเวณสามารถที่พบฝ้าได้แก่ บริเวณโหนกแก้ม บริเวณคาง บริเวณหน้าผาก การรักษาด้วยการใช้ เลเซอร์ ( Laser ) ในการรักษาฝ้าหน้า อาจช่วยได้ในปริมาณเล็กน้อยจึงต้องใช้ร่วมกับการป้องกันที่สาเหตุจะดีที่สุด

5. เลเซอร์ที่ใช้ในการรักษาแผลเป็นที่นูนแบบทั่วไป ( Hypertrophic Scar ) และแผลเป็นชนิดที่เรียกว่า คีลอยด์ ( Keloid )      [adinserter name=”ศัลกรรมความงาม”]

แผลเป็นที่มีลักษณะนูนแบบทั่วไป เกิดขึ้นหลังจากที่แผลหายแล้วจึงเกิดรอยแผลหรือแผลที่เกิดขึ้นจากการผ่าตัด ซึ่งในระย 1-6 เดือนแรก รอยแผลจะมีลักษณะเป็นรอยนูนสีแดง มีลักษณะที่แข็งและบริเวณขอบโดยรอบรอยนูนจะเป็นลักษณะขอบเขตของบาดแผลทั้งหมด
และแผลเป็นชนิดที่เรียกว่า “คีลอยด์” เป็นแผลเป็นที่มีลักษณะนูน ที่หนาและแข็ง สีของรอยแผลจะเป็นสีชมพูหรือสีแดง บริเวณโดยรอบของขอบแผลจมีลักษณะนูนและขยายออกมานอกขอบเขตของรอยแผลเดิม ซึ่งอาจะมีอาการเจ็บและคันเกิดขึ้น แผลเป็นชนิดนี้พบได้มากในบริเวณที่ผิวหนังมีสีคล้ำหรือมีต่อมไขมันในปริมาณมาก สาเหตุมักเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
เลเซอร์ที่ใช้ในการรักษาแผลเป็นทั้งสองแบบนี้ คือ
-Puls dye Laser เลเซอร์ชนิดนี้จะเข้าไปทำลายหลอดเลือดขนาดเล็กที่เป็นส่วนนำเลือดมาหล่อเลี้ยงส่วนของแผลเป็น ทำให้รอยแผลเป็นมีลักษณะที่นูนมีอาการแดงเกิดขึ้นน้อยลงและมีลักษณะที่นิ่มขึ้น แต่ต้องใช้การฉายเลเซอร์ร่วมกับวิธีการรักษาแบบอื่น เช่น การใช้แผ่นซิลิโคนมาทำการปิดแผล การฉีดยาที่อยู่ในกลุ่มสเตียร เพื่อช่วยให้แผลเป็นมีลักษณะที่นิ่มขึ้นและยุบลง

6. เลเซอร์สำหรับรักษารอยแดงที่เกิดจากสิวและรอยแผลเป็นที่เกิดจากหลุมสิวหรือรอยแผลเป็นที่มีขนาดลึก ( Post Acne Scan and Atrophic scar )

ลักษณะทางพยาธิสภาพขอรอยแดงที่เกิดจากสิวหรือรอยแผลเป็นในกลุ่มนี้ เกิดจากการที่โครงสร้างของคอลลาเจนเกิดการหดตัวลง หรือการที่เส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยงในส่วนของรอยโรคในปริมาณที่มากหลังจากที่เกิดแผลไปแล้ว 1-3 เดือนจึงทำให้เกิดรอยแผลในกลุ่มนี้ เลเซอร์ที่สามารถและเหมาะสมที่จะนำมาทำการรักษารอยแผลในกลุ่มนี้ คือ Puls dye Laser โดยเลเซอร์จะเข้าไปทำให้หลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงในบริเวณดังกล่าวฝ่อหายไป รวมถึงเลเซอร์จะเข้าไปกระตุ้นกระบวนการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ซึ่งจะทำให้รอยแผลเป็นมีสีแดงจางลงและรอยแผลเป็นตื้น

7. เลเซอร์เพื่อใช้ในการรักษาความผิดปกติของหลอดเลือดที่บริเวณผิวหนัง ( Laser Treatment of Vascular Lesions )

เลเซอร์ ( Laser ) สามารถรักษาความผิดปกติของหลอดเลือดที่บริเวณผิวหนังได้ ซึ่งการรักษาสามารถแบ่งได้ ตามลักษณะของความผิดปกติของหลอดเลือดตั้งแต่กำเนิด คือ    [adinserter name=”ศัลกรรมความงาม”]

เนื้องอกที่เกิดขึ้นจากหลอดเลือด ( Hemangioma ) ลักษณะของรอยโรคแบบนี้ สามารถพบได้บ่อยที่ส่วนของศีรษะและส่วนของลำคอ ซึ่งเนื้องอกแบบนี้จะหยุดเติบโตในปีแรกและจะมีขนาดที่เล็กลงประมาณร้อยละ 50 และสามารถที่จะหดหายลงได้ในระยะ 5 ปีแรก ซึ่งการใช้เลเซอร์รักษาจะเป็นการรักษาร่วมกับการรักษาวิธีอื่น แต่ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีการฉีดในกลุ่มสเตียรอยด์เพื่อรักษาหรือเนื้องอกที่แผลยังมีเลือดออกเป็นต้น
ปานแดงที่มีตั้งแต่เกิด ( Port-wine Stains ) คือ การใช้เลเซอร์เพื่อรักษาปานแดงที่มีมาตั้งแต่กำเนิดนั้นจะให้ผลการรักษาที่ดี และควรเริ่มทำการรักษาให้รวดเร็วที่สุด และลักษณะเลเซอร์ที่ใช้ในการรักษาคือ Puls dye Laser ที่มีความยาวคลื่น 595 nm
กลุ่มที่เส้นเลือดฝอยมีการเกิดขึ้นตามหลังเมื่ออายุมากขึ้น อาการแบบนี้สามารถพบได้ที่บริเวณของใบหน้า ( Telangiectasia, Spider Nevi, Cherry angioma ) ซึ่งอาการส่วนมากเกิดขึ้นจากเส้นเลือดฝอยที่มีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร ซึ่งเส้นเลือดฝอยกลุ่มนี้สมารถตอบสนองได้ดีต่อการฉายเลเซอร์ชนิด Puls dye Laser ที่มีความยาวคลื่น 595 nm หรือเลเซอร์ชนิด KTP ที่มีความยาวคลื่น 532 nmหรือแลเซอร์ชนิด IPL ที่มีความยาวคลื่น 500-1200 nm

8. เลเซอร์ที่สามารถกำจัดขนในบริเวณที่ไม่ต้องการ ( Laser Treatment of Unwanted Hair )

เมื่อเนื้อเยื่อในบริเวณที่มีขนขึ้นจะทำการดูดซึมพลังงานจากเลเซอร์เข้าไป จึงสามารถเข้าไปยับยั้งการงอกขึ้นมาใหม่ของขน ซึ่งขนที่มีสีดำจะสามารถตอบสนองต่อการทำงานของเลเซอร์ได้มากกว่าขนที่มีสีขาวหรือขนที่มีสีน้ำตาล ชนิดของแสงเลเซอร์ที่สามารถช่วยในการกำจัดขนได้ คือ เลเซอร์ชนิด Long-Pulse Nd: Yag ที่มีความยาวคลื่น1064 nm, เลเซอร์ชนิด Long Pulse Ruby ที่มีความยาวคลื่น694 nm, เลเซอร์ชนิด Long-Pulse Alexandra ที่มีความยาวคลื่น755 nm, เลเซอร์ชนิด Diode ที่มีความยาวคลื่น800 nm หรือเลเซอร์ชนิด IPL (590-1200 nm

9. เลเซอร์ที่สามารถรักษาเนื้องอกบนผิวหนังชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง ( Laser Treatment of Benign Skin Lesions )

ลักษณะของเนื้องอกได้แก่ ไฝ หูด ติ่งเนื้อ กระเนื้อหรือก้อนคอเลสเตอรอลที่อยู่ใต้ผิวหนัง เลเซอร์จะทำการปล่อยคลื่นแสงที่สามารถดูดซึมน้ำได้ดี ทำให้เนื้องอกขาดน้ำและสารอาหารจึงเกิดการฝ่อตัวลง เลเซอร์ที่นำมาใช้ในการรักษาคือ เลเซอร์ชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 Laser ) แต่เลเซอร์ชนิดนี้การใช้ต้องอาศัยความระมัดระวังและใช้โดยแพทย์ที่มีความชำนาญเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะะแทรกซ้อนน้อยหเกิดขึ้นน้อยที่สุด    [adinserter name=”ศัลกรรมความงาม”]

10. เลเซอร์ที่สามารถใช้ในการปรับปรุงสภาพของผิวหนัง ( Laser Skin Resurfacing )

ผิวหน้าส่วนที่มีการสัมผัสโดนแสงแดดเป็นเวลานานหรือผิวหนังที่มีรอยแผลเกิดขึ้น หรือผิวหนังที่เกิดเป็นหลุม การใช้ เลเซอร์ ( Laser ) สามารถช่วยปรับผิวหนังบนใบหน้าให้แลดูอ่อนเยาว์และผิวมีลักษณะที่เนียนนุ่มมากขึ้น โดยที่พลังงานของเลเซอร์จืทำให้ผิวหนังบริเวณที่อยู่ด้านบนสุดถูกทำลายจนเกิดการหลุดออกไป ส่งผลให้ร่างกายมีการสร้างคอลลาเจนและเส้นใยคอลลาเจนมีขึ้นมาทดแทนส่วนที่หลุดลอกไป ซึ่งเลเซอร์สามารถทำการปรับปรุงสภาพผิวหนังได้ทั้งผิวหนังที่มีแผลและไม่มีแผล ขึ้นอยู่กับสภาพของผิวหนังและปัญหาของผิวที่เกิดขึ้น เลเซอร์ที่เหมาะสมและนิยมนำมาใช้เพื่อปรับปรุงสภาพผิว คือ เลเซอร์ชนิด Pulse Carbon Dioxide หรือเลเซอร์ชนิด CO2 และเลเซอร์ชนิด Short-Pulse Erbium: Yag

11. เลเซอร์ที่สามารถใช้เพื่อช่วยในการรักษาแผล ( Laser for wound Healing )

พลังงานจาก เลเซอร์ ( Laser ) ที่ทำการฉายจะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของระบบไหลเวียนภายในร่างกาย เช่น ระบบน้ำเหลือง ระบบไหลเวียนโลหิตให้สามารถทำการไหลเวียนได้ดีขึ้น เซลล์ภายในร่างกายจึงมีการทำงานที่มากขึ้น มีการสร้างเส้นเลือดและเม็ดเลือดใหม่เพิ่มเข้ามาในระบบ ส่งผลให้เมื่อร่างกายเกิดแผลแล้วจะสามารถหายได้เร็วกว่าเดิม ซึ่งแสงเลเซอร์ที่นำมาใช้จะเป็นเลเซอร์ชนดที่มีพลังงานต่ำ ( Low Level Laser Theraphy ) ที่มีระดับพลังงานอยู่ที่ 25-250 มิลลิวัตต์ เลเซอร์ในกลุ่มนี้สามารถกระตุ้นการทำงานของระบบไหลเวียนได้ดีและยังไม่ทำลายเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณข้างเคียงอีกด้วย ชนิดของเลเซอร์ที่นำมาใช้ได้แก่ ระบบแสง LED

12. การใช้เลเซอร์ในการสลายไขมัน

เซลล์ไขมันเป็นเซลล์ที่สามารถดูดซึมพลังงานได้ดี เมื่อฉายแสงเลเซอร์เข้าไปเซลล์ไขมันจะทำการดูดซึมพลังงานจาก เลเซอร์ ( Laser ) ทำให้ไขมันเกิดความร้อนและสลายตัวไป ซึ่งเลเซอลร์ที่ใช้ในการสลายไขมันมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

• เลเซอร์ที่มีพลังงานต่ำ ( low Level Laser Therapy ) เลเซอร์ชนิดนี้จะมีความจำเพราะเจาะจงกับเซลล์ไขมัน และสามารถปล่อยพลังงานที่มีขนาดน้อยที่สุดที่สามารถทำให้ไขมันเกิดการแตกตัวและสลายไปได้ โดยที่เนื้อเยื่อหรือโครงสร้างที่อยู่ใกล้เคียงหรือรอบข้างจะไม่ได้รับผลกระทบ เมื่อเซลล์ไขมันเกิดการแตกตัวแล้ว ร่างกายจะทำการดูดซึมเข้าไปผ่านส่วนของระบบน้ำเหลือง
• เลเซอร์ที่ทำการฉายผ่านเส้นใยนำแสง ( Fiber Optic Laser Probe ) เป็นการฉายเลเซอร์โดยการปล่อยผ่านเส้นใยนำแสงไปยังบริเวณของไขมันที่ต้องการทำให้แตกสลาย เป็นการกำหนดจุดได้อย่างแม่นยำและเจาะจงที่ต้องการทำลายไขมันออกไป เมื่อไขมันเกิดการแตกตัวจะต้องทำการดูดไขมันส่วนนั้นออกมาจากร่างกายด้วยการดูดไขมันทั่วไป และการใช้เลเซอร์ยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและเส้นใยอีลาสตินทำให้ผิวหนังส่วนที่ไขมันโดนทำลายไปไม่เกิดการเหี่ยวย่นเพราะมีคอลลาเจนและอีลาสตินขึ้นมาทดแทน    [adinserter name=”ศัลกรรมความงาม”]

13. เลเซอร์ที่นำมาใช้ในรักษาเส้นเลือดขอด ( Laser Treatment for Varicose Vein )

เส้นเลือดขอดสามารถเกิดขึ้นได้มากที่บริเวณผิวหนัง ซึ่งลักษณะของเส้นเลือดขอดมีทั้งที่มีขนาดเล็กประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เช่น Telangiectasia หรือ spider nevi เส้นเลือดขอดที่มีขนาดเล็กสามารถทำการรักษาด้วยการใช้ เลเซอร์ ( Laser )ที่อยู่ในกลุ่ม Puls dye Laser ที่มีความยาวคลื่น 595 nm หรือเลซอร์ชนิด KTP ที่มีความยาวคลื่น 532 nm แต่ถ้าเส้นเลือดมีขนาดที่ใหญ่กว่า 2 มิลลิเมตร จะต้องทำการรักษาด้วยการฉายเลเซอร์เข้าไปที่บริเวณผนังของหลอดเลือดเพื่อทำลายให้ส่วนของผนังหลอดเลือดมีการฝ่อตัวลง จะส่งผลให้อาการเส้นเลือดขอดที่เกิดขึ้นหายไป ซึ่งแสงเลเซอร์ที่เหมาะสมและนิยมนำมาใช้ในการรักษาเส้นเลือดขอด คือ เลเซอร์ชนิด Diode Laser ที่มีความยาวคลื่น1500 nm

14. เลเซอร์ในการลบหรือรักษารอยสัก ( Laser Treatment of Tattoos )

รอยสักเกิดจากการนำเม็ดผงสี ( Ink Granule ) เข้ามาฝั่งไว้ใต้ผิวหนังชั้นหนังแท้ เม็ดสีจะกระจายตัวอยู่ในชั้นเซลล์ไฟโบรบลาส บางส่วนที่เข้าไปจะถูกเซลล์เม็ดเลือดขาว ( Macrophages ) ดูดกลืนและเกิดเป็นก้อนของเม็ดสีที่อยู่ใต้ผิวหนัง พลังงของ เลเซอร์ ( Laser ) จะเข้าไปทำให้เม็ดผงตีเกิดการแตกตัวและสลายกลายเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กลง จนร่างกายสามารถดูดซึมและทำลายได้ ทำให้รอยเม็ดสีจางลงซึ่งรอยสักก็จะจางลงตามไปด้วย เลเซอร์ที่ใช้ในการลบรอยสัก คือ เลเซอร์ที่อยู่ในกลุ่ม Q-Switch Laser เช่น เลเซอร์ชนิด QS Ruby ที่มีความยาวคลื่น 694 nm,เลเซอร์ชนิด QS Alexadrite ที่มีความยาวคลื่น 755 nmและเลเซอร์ชนิด QS Nd: Yag ที่มีความยาวคลื่น 532 หรือ1064 nm เป็นต้น

เลเซอร์มีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มความเข้มของแสงที่เกิดขึ้น จึงมีการประยุกต์นำแสงเลเซอร์มาใช้ในการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในร่างกาย

ข้อควรรู้ในการใช้เลเซอร์เพื่อรักษาและการเสริมความงาม

1. การนำ เลเซอร์ ( Laser ) มาใช้ในการผ่าตัดมีผลไม่ต่างจากการผ่าตัดด้วยมีดผ่าตัด ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของแพทย์มากกว่า

2.การใช้เลเซอร์ในการรักษาแผลไม่สามารถรักษาได้แผลได้ทุกแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลร่วมกับการฉายเลเซอร์จึงจะทำให้แผลสวยและเนียนเป็นเนื้อเดียวกับผิวหนังโดยรอบ  [adinserter name=”navtra”]

3.การใช้เลเซอร์สามารถทำให้ผิวส่วนที่โดนแสงมีขนาดที่บางลงได้ แต่เมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่งร่างกายก็จะทำการสร้างผิวหนังขึ้นมาทดแทนส่วนที่โดนทำลายไป เพราะมีการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินขึ้นมาทดแทนนั่นเอง ดังนั้นเมื่อใช้เลเซอร์แล้วผิวหนังจะกลับมีความหนาเท่ากับสภาวะปกติหลังจากฉายเลเซอร์ไปแล้วประมาณ 6 เดือน

4.เมื่อใช้เลเซอร์ในการรักษา สิว ฝ้า กระแล้ว ส่วนที่ทำการรักษาจะไม่กลับมาเป็นใหม่ได้ แต่ถ้าโดนแสงแดด ฝุ่น มลพิษ เหมือนเดิม ผิวหนังก็จะโดนทำลายและเกิดสิว ฝ้าหรือกระได้เช่นเดิม จึงต้องดูแลผิวหน้าด้วยการทาครีมกันแดด ทาครีมบำรุงผิว รบเลี่ยงแสงแดด จึงจะสามารถป้องกันการเกิดสิว ฝ้า กระได้

5.การรักษาด้วยการใช้เลเซอร์ควรหลี่กเลี่ยงการโดนแสงแดดทั้งก่อนและหลังการรักษาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป รวมถึงการใช้ครีมกันแดดร่วมด้วย เพื่อที่การรักษาด้วยเลเซอร์จะให้ผลที่ดีที่สุด

6.ก่อนการรักษาด้วย เลเซอร์ ( Laser ) ควรหยุดการใช้ยาเพื่อรักษาสิวและลดความมันที่เกิดขึ้นบริเวณใบหน้า เช่น ไอโซเตรทติโนอิน ( Isotrationin ) อย่างน้อยประมาณ 6 เดือนก่อนทำการรักษาด้วยเลเซอร์ และควรหยุดยาที่มีคุณสมบัติในการละลายลิ่มเลือดด้วย เช่น Aspirin, Warfarin, Heparin เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนเนื่องจากการมีเลือดออก

7.การทำเลเซอร์จะเห็นผลชัดเจนที่สุดหลังจากที่ทำการฉายเลเซอร์ไปแล้วประมาณ 7-10 วัน

8.การรักษาด้วยเลเซอร์เพื่อการรักษา กระ ไฝ ฝ้า ทำการรักษาเพียงครั้งเดียวก็สามารถรักษาได้ ส่วนการรักษารอยแผลเป็นหรือรอยโรคที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะของรอยแผลและรอยโรคนั้น ๆ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิฉัยและแจ้งให้ผู้เข้ารับการรักษาทราบ

การใช้เลเซอร์เพื่อการเสริมความงามเป็นทางเลือกที่ได้ความนิยมและได้ผลที่ดีอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งก่อนที่จะทำการรักษาด้วยการฉายแสงเลเซอร์ควรทำการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นและเลือกแพทย์ที่มีความเชียวชาญและประสบการณ์ในการใช้ เลเซอร์ ( Laser ) ในการรักษาเพื่อที่ผลการรักษาจะเป็นที่น่าพอใจกับตัวเรามากที่สุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

Convissar, Robert A. (2010-05-19). Principles and Practice of Laser Dentistry – E-Book. Elsevier Health Sciences. ISBN 032307989X.

Morris, Peter J; Wood, William C. Oxford Textbook of Surgery. 2. http://medistar.xyz/

Rosenlicht, J; Vitruk, P (2015). “Ablation and sulcular debridement utilizing the CO2 laser for denture-induced gingival hyperplasia”. Implant Practice US. 8 (2): 35–38.