ทำความเข้าใจกับชีวสารจับออกซิเจนกันเถอะ

0
3676
ทำความเข้าใจกับชีวสารจับออกซิเจนกันเถอะ
ความเสียหายของเซลล์เกิดจากสารเคมีในร่างกายที่มีฤทธิ์ในการเติมออกซิเจนหรืออนุมูลอิสระ
ทำความเข้าใจกับชีวสารจับออกซิเจนกันเถอะ
ความเสียหายของเซลล์เกิดจากสารเคมีในร่างกายที่มีฤทธิ์ในการเติมออกซิเจนหรืออนุมูลอิสระ

สารจับออกซิเจน ( Oxygen )

สารจับออกซิเจน ( Oxygen ) ที่มีอยู่ในร่างกายของคนเรานั้น ไม่มีสารเคมีที่มีฤทธิ์แรงอย่างเช่น โซเดียม และยังไม่มีสารเคมีที่ไม่มีฤทธิ์ เช่น ทองคำ แต่ก็มีชีว สารจับออกซิเจน ( Oxygen ) ชนิดที่มีฤทธิ์อ่อน สารจับออกซิเจน (Oxygen) ภายในร่างกายของเราออกฤทธิ์ได้ดีในอุณหภูมิปกติของร่างกายและเมื่อภาวะค่าความเป็นกรด,ด่างหรือพีเอชอยู่ที่ 7 ( pH7 )

มีนักวิทยาศาสตร์บางคนได้ออกมาเปิดเผยว่า สารจับออกซิเจน ( Oxygen ) บางอย่างที่ได้จากอาหารมีฤทธิ์ในการจับออกซิเจนแรงกว่าวิตามินอี คำกล่าวเช่นนี้หากฟังเพียงผิวเผินอาจจะดูเป็นเหมือนเรื่องไร้สาระ แต่ถ้าหากเจาะลึกลงไปถึงภาวะที่แท้จริงในการออกฤทธิ์ของสารดังกล่าว จะเห็นว่าในบางภาวะ คำกล่าวเช่นนั้นเป็นความจริง เช่นในสภาวะที่เป็นกรดด่างที่เหมาะสม เป็นต้น โดยนัยเดียวกัน สารที่ได้จากอาหารซึ่งจัดได้ว่ามีคุณสมบัติที่ดีในการจับออกซิเจน ( Oxygen ) ก็ต้องออกฤทธิ์ได้ดีในภาวะความเป็นกรดด่างของร่างกายที่เป็นปกติด้วย

ความเสียหายของเซลล์เกิดจากสารเคมีในร่างกายที่มีฤทธิ์ในการเติมออกซิเจน ( Oxygen ) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อนุมูลอิสระ ร่างกายจำเป็นต้องกำจัดหรือสลายอนุมูลอิสระเหล่านี้ออกไปให้ได้

ไม่ว่าจะได้รับสารที่ได้จากอาหารหรือจากระบบการสร้างสารชนิดนี้ขึ้นมาเองภายในร่างกายก็ตาม เมื่อร่างกายย่อยอาหารแล้วสารอาหารต่างๆ จะซึมเข้าสู่กระแสเลือดและไหลเวียนไปตามกระแสเลือด สารอาหารดังกล่าวอาจเป็นสารอาหารสำเร็จรูปที่สามารถดูดจับอนุมูลอิสระได้ทันที หรือเป็นสารอาหารที่ร่างกายนำไปใช้ในการสร้างเป็น สารจับออกซิเจน ( Oxygen ) ก็ได้

หากในอาหารมีไม่เพียงพอและร่างกายได้รับแต่อาหารเช่นนี้เป็นประจำ ร่างกายก็จะไม่สามารถกำจัดอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ใน การเติมออกซิเจน ( Oxygen ) เหล่านี้ลงไปได้ ทำให้เกิดความเสียหายแก่เนื้อเยื่อต่างๆ เนื่องจากการกระทำของอนุมูลอิสระดังกล่าวทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ภาวะเช่นนี้อาจเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายได้รับอาหารที่มีสารจับออกซิเจนอย่างดีและเพียงพอ แต่การดูดซึมสารอาหารของร่างกายอาจไม่ดีนัก

อนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ในการเติมออกซิเจนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ 
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
โรคปอด
โรคชรา
ความเสื่อมทางพันธุกรรม
โรคที่ทำให้เกิดความเสื่อมโดยทั่วไป
ภูมิต้านทานลดต่ำ
หลอดเลือดแดงตีบตันหรืออุดตัน
โรคที่ก่อให้เกิดการอักเสบชนิดต่างๆ เช่น ข้ออักเสบ

นอกจากนี้ยังมีบทความอีกชิ้นหนึ่งในวารสารแลนเซต กล่าวว่า อนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ใน การเติมออกซิเจน ( Oxygen ) ยังมีส่วนร่วมในการทำให้เกิดโรคได้เป็นร้อยโรค อันที่จริง โดยทฤษฎีแล้วยังไม่สามารถระบุได้จนถึงที่สุด เพราะหากว่าร่างกายไม่สามารถกำจัดอนุมูลอิสระนี้ได้ การที่จะดำรงชีวิตอยู่ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ๆ ที่ปัญหาสุขภาพเกิดจากหรือเกี่ยวข้องกับอนุมูลอิสระแล้วละก็ สารอาหารจับออกซิเจนที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ก็จะมีบทบาทอย่างมหาศาลต่อการมีสุขภาพที่ดีด้วย

นอกจากวิตามินเอ วิตามินซีและ วิตามินอี ซึ่งถือว่าเป็นสารอาหารจับออกซิเจนหลักที่ร่างกายต้องการแล้ว ยังมีรายชื่อสารอาหารที่อาจมีคุณสมบัติใน การจับออกซิเจน ( Oxygen ) ปรากฏออกมาอีกอย่างต่อเนื่อง ตราบเท่าที่ยังมีวิวัฒนาการทางด้านการศึกษาเรื่องโภชนาการและส่วนประกอบของอาหารอยู่ แต่ด้วยเหตุผลนานาประการ ทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายคนยังคงมีความลังเลสงสัยในเรื่องสารจับออกซิเจนใหม่ ๆ เหล่านี้อยู่ ปัญหาหลักก็คือ จำเป็นต้องรู้ให้แน่ชัดว่า สารดังกล่าวสารใดสารหนึ่งนั้นจะต้องมีฤทธิ์ในการจับออกซิเจนเมื่ออยู่ในกระแสเลือด

อาจกล่าวได้ว่า ในทุก ๆ เดือน ผู้ผลิตวิตามินโดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกามักจะพบสารใหม่ ๆ ที่น่าจะมีคุณสมบัติเป็น สารจับออกซิเจน ( Oxygen ) โดยส่วนใหญ่แล้วมีเหตุผลอยู่เบื้องหลังไม่เกินไปกว่าสมมติฐานนั้นเท่านั้น ดังนั้น การได้รับอาหารอย่างสมดุลแต่เพียงประการเดียว ร่างกายก็จะได้รับทุกสิ่งเท่าที่ต้องการแล้วโดยไม่ต้องไปขวนขวายหาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชื่อแปลกๆ ราคาแพง ๆ เหล่านั้นมากินให้เป็นการเสียเวลาและเสียเงินทองเลย การรับประทานอาหารที่หลากหลายคือ การได้รับสารอาหารกับออกซิเจนที่มีประสิทธิภาพสูง โดยไม่จำเป็นต้องเสริมอาหารด้วยผลิตภัณฑ์ราคาแพง ไม่ว่าจะเป็นชนิดใด

เมื่อพูดถึงร่างกายแล้ว ร่างกายมีความสามารถในการคงคุณภูมิไว้ที่ 37.5 องศาเซลเซียสและภาวะความเป็นกรดด่างที่ 6.8-7.2 นอกจากนี้ยังสามารถคงสมดุลของการให้และรับ ออกซิเจน ( Oxygen ) ไว้ได้อีกด้วย และเพื่อให้กระบวนการเหล่านี้ดำเนินไปได้ด้วยดี โภชนสารที่ได้รับต้องดีและเหมาะสมด้วย การได้รับสารอาหารจากออกซิเจนอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป ไม่น่าจะทำให้เกิดปัญหา แต่ถ้าได้รับน้อยเกินไปโดยเฉพาะจากอาหารไร้โภชนาการ ก็จะเกิดปัญหาแก่สุขภาพในระยะยาวได้

ในกรณีนี้ ถ้าเราไม่สามารถเพิ่มคุณภาพของอาหารให้ตัวเองได้ การพึ่งพาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็อาจทำได้ แต่ก็ต้องทำในขอบเขตและระยะเวลาเท่าที่สามารถแก้ปัญหาได้เท่านั้น หากปัญหาเกิดจากสมรรถภาพในการดูดซึมสารอาหารของร่างกายไม่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุ จึงมีความจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดที่มีส่วนประกอบของ สารจับออกซิเจน ( Oxygen ) ซึ่งมีอัตราของความเข้มข้นสูง ผู้สูงอายุที่ได้รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารส่วนมากมักกล่าวโทษว่าการดูดซึมสารอาหารของร่างกายตนให้เป็นจำเลยร่วมอยู่ด้วยเสมอ

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงบทบาทของ สารจับออกซิเจน ( Oxygen ) ในร่างกายให้ถ่องแท้ และความเข้าใจถึงสมดุลทางชีววิทยาเป็นปัจจัยสำคัญสูงสุด อีกประการหนึ่งต้องเข้าใจว่าสำหรับผู้คนโดยทั่วไปแล้ว การป้องกันอย่างง่าย ๆ ด้วยอาหาร ก็เป็นการเพียงพอต่อการที่จะคงไว้ซึ่งสมดุลดังกล่าว

ด้วยได้มีการเผยแพร่ความคิดใหม่นี้ออกไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งความคิดนั้นก็คือ ภาวะสมดุลของสารรับและให้ออกซิเจน ( Oxygen ) ซึ่งมนุษย์คงไว้ได้มาหลายชั่วอายุคน และกำลังถูกบีบคั้นด้วยภาวะแวดล้อมสมัยใหม่ เนื่องจากปัจจุบันมีแหล่งปล่อยอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นตัวเติมออกซิเจนเพิ่มขึ้นมากกว่าแต่ก่อนมากมาย เป็นต้นว่า มลพิษที่เกิดจากสารปรุงแต่งอาหาร สารพิษทางการเกษตรและในบ้านเรือน ควันจากการเผาไหม้ ควันจากท่อไอเสียรถ รถบรรทุก รถจักรยานยนต์ เครื่องบิน และจากแหล่งอื่นๆ นอกจากนี้ควันจากโรงงานที่ปล่อยขึ้นสู่อากาศ น้ำเสียที่ปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติทั้งหลายเหล่านี้มักสร้างปัญหาให้แก่ร่างกายและจิตใจโดยทั่วไปอย่างสม่ํำเสมอ ทำให้ผู้ผลิตวิตามินมีช่องทางที่จะประกาศว่า ลำพังแต่อาหารเพียงอย่างเดียวไม่เป็นการเพียงพอเสียแล้วที่คนเราจะได้รับสารจับออกซิเจนอย่างเพียงพอ จำเป็นต้องได้รับวิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินอี และผลิตภัณฑ์สารอาหารกับ ออกซิเจน ( Oxygen ) ชนิดเข้มข้นเสริมแก่ทุกคน

ข้อโต้เถียงนี้จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่างถ่องแท้และจริงจัง แต่ก็ยังมีเหตุผลและข้อมูลสนับสนุนอยู่น้อยมาก ซึ่งกล่าวถึงส่วนประกอบอันหลากหลายที่มีอยู่ในผลไม้และผักนานาชนิด แต่จะไม่เป็นการดีเลยถ้าจะแนะนำให้ผู้คนซึ่งต้องการมีภาวะโภชนาการที่อุดมด้วย สารจับออกซิเจน ( Oxygen ) ที่มีอยู่ในอาหาร โดยเพียงแต่ให้บริโภคผลไม้และผักมากขึ้นเท่านั้น แต่ไม่เจาะจงถึงความหลากหลาย คำแนะนำดังกล่าวย่อมเป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอ มีข้อสงสัยเพียงเล็กน้อยว่าคนส่วนมากจะสามารถได้รับ สารจับออกซิเจน ( Oxygen ) จากอาหารเพียงพอหรือไม่เท่านั้น ข้อสงสัยนี้แก้ได้ด้วยการคัดสรรอาหารตามแต่ละหมวดหมู่โดยเน้นความสดของอาหารเป็นสำคัญ เพราะกระบวนการในการประกอบอาหารไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ย่อมมีส่วนในการทำลายประสิทธิภาพหรือปริมาณของสารจับออกซิเจนที่มีอยู่ในอาหารได้ทั้งสิ้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ริตา, เกรียร์. อาหารขจัดอนุมูลอิสระ. กรุงเทพ: หมอชาวบ้าน,2551. 176 หน้า : 1.อาหาร-แง่สุขภาพ. 2.อนุมูลอิสระ. I.วูดเวิร์ด,โรเบิร์ต, II.พิสิฐ วงศ์วัฒนะ,ผู้แปล. III.ชื่อเรื่อง. 613.2 ISBN 978-974-04-5522-6.

Weast, Robert (1984). CRC, Handbook of Chemistry and Physics. Boca Raton, Florida: Chemical Rubber Company Publishing. pp. E110. ISBN 0-8493-0464-4.

Jastrow, Joseph (1936). Story of Human Error. Ayer Publishing. p. 171. ISBN 0-8369-0568-7.